วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

"สมพงษ์"เด็กอมมือด้านการต่างประเทศ



ผมเห็น สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตัดสินใจเดินทางไปร่วมประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาติ (26 ก.ย.) ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วก็นึกในใจว่า "เด็กอมมือด้านการต่างประเทศ" คนนี้ จะไปร่วมประชุมสหประชาชาติ ซึ่งเป็นเวทีของคนมีเกียรติ มีความรู้ หรือจะไปนั่งกินกาแฟ รอข้าง ๆ ห้องประชุมยูเอ็น


และแล้วข้อสันนิษฐานอย่างหลังของผมก็เป็นจริง ครับ


ผู้สื่อข่าวรายงานข้ามโลกมาเมื่อ 29 ก.ย. บอกว่า "สมพงษ์" นั้นตัดสินใจไม่ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในยูเอ็น ด้วยตนเอง แต่มอบหมายให้ ท่านทูตดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ แทน


นอกจากนี้ สมพงษ์ ยังจะไม่เปิดเจรจาทวิภาคี กับประเทศต่าง ๆ ที่ประสานขอนัดหมายมาก่อนหน้านี้กว่า 20 ประเทศ


ทั้ง 20 กว่าประเทศ นั้น อยากรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องการค้า การลงทุน เพื่อเขาจะได้มีความมั่นใจในการตัดสินใจมาลงทุนหรือไม่


ซึ่งหากเป็นประเทศอื่นเขาจะกุลีลุจอ รับนัดเจรจา สร้างความเข้าใจนดี สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน นี่ซิถึงจะเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศที่ดี จริง ๆ คือคิดถึงผลประโยชน์ประเทศมาอันดับหนึ่ง


เมื่อเป็นแบบนี้ ท่านผู้อ่านเห็นโอกาสที่ไทยจะได้ทำความเข้าใจกับนานาชาติ มีอันต้องเสียไปหรือเปล่าครับ


เรื่องนี้สำคัญกว่า "สมพงษ์" จะยึดพาสปอร์ตแดงจากจำเลยที่หนีหมายศาล อย่างทักษิณ ชินวัตร หรือไม่


ถามว่า สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เลือก สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ไปเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ นั้น รู้หรือไม่ว่า "สมพงษ์"คือผู้ที่ก่อปัญหาเรื่องต่างประเทศ ภายในประเทศไทยไว้มากพอแล้ว


ปัญเรื่องการต่างประเทศซึ่งเป็นปมปัญหาใหญ่ที่ สมพงษ์ ก่อไว้ก็คือ การไม่รู้จักพิธีการทางการทูต


อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การที่ตำรวจกองบังคับการกองปราบปราม (บก.ป.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) ร่วมกับหน่วยปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐอเมริกา บุกจับกุม วิกเตอร์ อนาโตลเจวิช บูท อดีตนายทหารยศพันตรีหน่วยสืบราชการลับของรัสเซีย (เคจีบี) นายหน้าค้าอาวุธสงครามรายใหญ่ของโลกในห้อง วีไอพีร้านอาหารชั้น 27 โรงแรมโซฟิเทล ย่านสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ ขณะนั่งเจรจาซื้อขายอาวุธสงครามมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่กองกำลังฝ่ายกบฏฟาร์ค ประเทศโคลอมเบีย เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมา


การจับกุมที่ดูเป็นข่าวคึกโครมระดับโลก เพราะ วิกเตอร์ บูท มีสมญานามกระฉ่อนโลกคือ "Merchant of Death" หรือ "พ่อค้าแห่งความตาย"


เรื่องนี้ วิกเตอร์ อนาโตลเจวิช บูท ได้นำคดีขึ้นสู่ศาลไทย ในข้อหาว่าจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 คือ มีการกล่าวหาว่าวิกเตอร์ บูท มาก่อการร้ายในไทย ทั้งที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย มีการขอออกหมายจับล่วงหน้า โดยอ้างหมายศาลอเมริกัน มีการอำนวยการจับโดยเจ้าหน้าที่สหรัฐ เท่ากับเจ้าหน้าที่สหรัฐ ได้ละเมิดอธิปไตยไทย


การจับกุมนอกจากจะไม่ชอบด้วยป.วิอาญา มาตรา 90 แล้ว อัยการ ได้ยื่นฟ้องวิกเตอร์ บูท เป็นผู้ร้ายข้ามแดน 2 หน แต่เอาผิดไม่ได้ต้องปล่อยตัวออกไป แล้วตำรวจ ก็จับใหม่ในข้อหาเดิม


การอ้างต่อศาลไทยให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยอาศัยพ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 ทั้งที่ไทย-สหรัฐ เรามีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2526 ซึ่งเท่ากับกฎหมายใหม่ทับฉบับเก่า ฉบับเก่าย่อมใช้ไม่ได้


ขณะที่ทางการรัสเซีย ได้ทำเรื่องขอตัว วิกเตอร์ บูท มาที่ สมัคร สุนทรเวช แต่สมัคร ไม่ดำเนินการอะไร


เพราะฉะนั้นทูตรัสเซีย จึงขอเข้าพบ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ถึง 3 หน แต่ สมพงษ์ ก็ไม่ยอมให้เข้าพบ


กรณีนี้รัฐบาลไทย ชุดสมัคร รวมถึงสมพงษ์ มีสิทธิ์โดนฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือศาลไอซีซี ในข้อหาจับกุมคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย


นอกจากนั้น สมพงษ์ ยังได้ทำลายสัมพันธไมตรีไทย รัสเซีย ที่เคยมีกันมายาวนาน ลงอีกทางหนึ่งด้วย


นี่คือการเลือกคนมาเป็นรัฐมนตรี ที่นอกจากได้คนที่ไม่ประสีประสาด้านการต่างประเทศแล้ว ยังจะพาประเทศไทยให้ตกเป็น ซึ่งเบื้องต้นหากศาลรัฐฟ้องไทยจะต้องวางเงินประกันในศาลไอซีซี 5 พันดอลลาร์ เงินนั้นเป็นเงินใคร เงินสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หรือเงินภาษีประชาชน


การตกเป็นจำเลยในศาลอาญาระหว่างประเทศ เพราะความ "เขลา" ของรัฐมนตรีผู้นี้ เราจะมีความภาคภูมิใจอะไรเหลืออยู่ในตัวเขาคนนี้


การได้เด็กอ่อนหัด หรือเด็กอมมือด้านการต่างประเทศเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ จึงเท่ากับเราเดินย่ำอยู่กับที่ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเขาแซงเราไปไกลโพ้น


การเมืองใหม่ที่กำลังมีการถกเถียงกันอยู่เวลานี้ ต้องคิดด้วยว่า จะขับนักการเมืองประเภทนี้ออกไปจากวังวนได้อย่างไร


ที่สำคัญทำอย่างไรจะขุดจริยธรรมของนักการเมืองพวกนี้ขึ้นมาจากสันดานของพวกเขาได้

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

รมว.กลาโหมลั่นจะนำทหารให้ประชาชนไว้วางใจ



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เผยจะมุ่งมั่นให้ทหาร เป็นทหารที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน


นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงกลาโหม แถลงว่า วันนี้ (29 ก.ย.) ถือเป็นวาระแรกหลังจากที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรม.กลาโหม จึงเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งได้รับการต้อนรับจากผู้บริหารระดับสูง รู้สึกว่ามีความอบอุ่น


ทั้งนี้จะมีการประชุมสภากลาโหมอีกครั้งหลังจากที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา


นายสมชาย กล่าวว่า ต่อไปจะร่วมมือกันทำงานเพื่อการพัฒนาทุกส่วนในกระทรวงกลาโหม ไม่ว่าจะเป็นส่วนขึ้นตรงหรือเหล่าทัพ คิดว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ และคิดว่าจะมุ่งมั่น พัฒนากระทรวงกลาโหม มุ่งมั่นให้ทหารของเราเป็นทหารที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน


ส่วนในฐานะรมว.กลาโหม จะเน้นนโยบายด้านใดเป็นพิเศษหรือไม่ นั้น นายสมชาย กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องของการเอาใจหรือไม่เอาใจแต่เราพูดในหลักการว่า เมื่อมาอยู่ในกระทรวงกลาโหมดูแลกระทรวงนี้ ก็มีความมุ่งมั่นใจการพัฒนาทั้งระบบและทหารก็เป็นหน่วยงานที่ต้องมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เป็นที่ยึดถือศรัทธาและไว้วางใจของประชาชน เขาก็ต้องให้การสนับสนุนงานของกระทรวงกลาโหม กองทัพที่ดูแลความมั่นคงให้กับประเทศชาติของเรา


ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาถือว่าทหารวางตัวมีศักดิ์ศรีและเป็นที่เชื่อถือของประชาชนหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ทหารก็มีเกียรติมีศักดิ์มาตลอดเราก็ต้องรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของท่านไว้

จับตาแก๊งพปช.ทึ้งเก้าอี้เลขารัฐมนตรีวันนี้



"สุขุมพงศ์ โง่นคำ" เผยนายกฯเรียกรมต.ถกเก้าอี้เลขา-ที่ปรึกษาเที่ยงนี้ พูดแปลกไม่ยึดโควตา แต่จะเลือกคนทำงานเข้าขารัฐมนตรี


นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการแต่งตั้งเลขานุการ และที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่า จะไม่พิจารณาจากโควตา และไม่ใช่สักแต่จะแต่งตั้งขึ้นมาแต่ต้องพิจารณาจากคนที่ทำงานเป็น และทำงานเข้าขากับรัฐมนตรี และในช่วงเที่ยงวันนี้ (29 ก.ย.) นายกฯ เรียกรัฐมนตรีแต่ละคนไปคุยที่พรรคเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าวด้วย


นายสุขุมพงศ์ ยังกล่าวถึงการแบ่งงานในส่วนของรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีว่า เท่าที่ทราบเขาคงดูงานเดิมของนายชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านกฎหมายเป็นหลัก รวมถึงก.พ.ร.ด้วย


ส่วนการดูแลสื่อนั้นยังไม่ทราบว่านายกฯ จะแบ่งกันอย่างไร จะให้เขาดูทั้ง 2 หน่วยงานหรือแบ่งกันดูระหว่างเขากับนายสุพล ฟองงาม รมต.ประจำสำนักนายกฯ


ต่อกรณีที่ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน ออกมาระบุว่าพรรคพลังประชาชน ขณะนี้เหลือแต่ซาก นั้น ถือเป็นความคิดเห็นของร.ท.กุเทพ แต่สาเหตุที่ออกมาโจมตีพรรคจะมาจากความไม่พอใจเพราะร.ท.กุเทพ ก็เป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวินหรือไม่นั้น ไม่ทราบ ขอสอบถามเรื่องนี้ก่อน ซึ่งตามปกติแล้วเขากับ ร.ท.กุเทพ ก็สนิทกัน และก่อนหน้านี้ก็ทำหน้าที่โฆษกพรรคได้เป็นอย่างดี


วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

ตัดสินจันทร์นี้'รังสรรค์'จ้างวานฆ่า'ประมาณ'



ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดอ่านคำพิพากษาคดี ลอบสังหาร "ประมาณ ชันซื่อ"จันทร์นี้ (29 ก.ย.) โดยมี "รังสรรค์ ต่อสุวรรณ" สถาปนิกชื่อดัง กับพวกเป็นจำเลย


หลังจากสู้คดีกันมานาน 15 ปี วันที่ 29 ก.ย. นี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีนายสมพร หรือหมา เดชานุภาพ นายเณร มหาวิไล นายอภิชิต อังศุธรางกูร หรือเล็ก สตูล และนายรังสรรค์ ต่อสุวรรณ นักธุรกิจ และสถาปนิกชื่อดัง ตกเป็นจำเลย ลอบสังหาร นายประมาณ ชันซื่อ ประธานศาลฎีกา (ขณะนั้น)


คำฟ้องโจทก์สรุปความว่า ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2535 - 25 พ.ค. 2536 ติดต่อ จำเลยที่ 4ได้บังอาจเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อนโดยใช้ จ้าง วาน ยุยงส่งเสริมให้นายอภิชิต จำเลยที่ 3 จัดหาบุคคลไปฆ่านายประมาณ ชันซื่อ ให้ถึงแก่ความตาย จากนั้นนายอภิชิต เป็นผู้ใช้ให้นาย ให้จัดหาบุคคลไปฆ่านายประมาณ ซึ่งนายบรรเจิด ตอบตกลงตามที่นายอภิชิตจ้างวาน จึงติดต่อให้นายสมพร และนาย จัดหาบุคคลซึ่งได้นาประทุม สุดมณี และนายบำรุง ชัยเมือง ไปฆ่านายประมาณ แต่ภายหลังทั้งสองกลับใจไม่ยอมกระทำความผิด นาย จึงไม่ถูกฆ่าตาย


คดีนี้เมื่อปี 2536 เป็นข่าวครึกโครมขณะเกิดเหตุนายประมาณ เป็นประธานศาลฎีกา ส่วนนายรังสรรค์ ก็เป็นบุคคลมีชื่อเสียง และเป็นสถาปนิกชื่อดังมีภรรยาเป็นผู้พิพากษา โดยฝ่ายโจทก์มีนายตำรวจหลายนาย อาทิ พล.ต.ท.โสภณ สวิคามิน พล.ต.ท.ธนู หอมหวน พ.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย (ขณะนั้น) พ.ต.ต.ทวี สอดส่อง (ขณะนั้น


หลังเกษียณอายุราชการนายประมาณ ได้มาเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ ให้กับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี


นายประมาณ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อต้นเดือน ก.พ.2550


'เรืองไกร'ยื่นกกต.ฟัน'สมชาย'ถือหุ้นขัดคุณสมบัติส.ส.-นายกฯ




ส.วเรืองไกร เปิดเอกสารการถือหุ้นสัมปทานรัฐของ 'สมชาย วงศ์สวัสดิ์' ส่งกกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดคุณสมบัติ ขัดรธน.ต้องพ้นจากส.ส. และนายกฯ พ่วงลูกสาว ส.ส.เชียงใหม่ ที่ไปมีหุ้นสัมปทาน ต้องพ้นจากส.ส.ด้วย


นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา เปิดเผย วันจันทร์ที่ 29 ก.ย.นี้ เวลา 09.30 นจะยื่นให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต ตรวจสอบนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ที่มีเงินลงทุนในบริษัท ซีเอส ล็อกอินโฟ จำกัด (มหาชน) หรือ CS Loxinfo เป็นจำนวน 100,000 หุ้น และได้เงินปันผลจากบริษัท ซี 0,000 ซึ่ง ดังกล่าวให้บริการอินเตอร์เน็ต และบริการรับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเพื่อการสื่อสารทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยทำสัญญากับบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)


พฤติกรรมนี้ทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็นส.ส. เนื่องจากขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ประกอบ มาตรา 265และมาตรา 106(6) อันเข้าลักษณะเป็นเหตุให้ความเป็นนายกฯ สิ้นสุดลงเพราะขาดคุณสมบัติการเป็นส.ส.ตามมาตรา 171 วรรคสองแล้ว ประกอบกับขาดคุณสมบัติตามมาตรา 48


รัฐธรรมนูญ มาตรา 48 ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม และนายสมชาย อาจขาดคุณสมบัติจากการเป็นส.ส. ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 2551 เพราะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม


ประกอบกับมาตรา 265 วรรคสาม ให้นำความในมาตรา 265 (2) (3) และ (4) มาใช้กับคู่สมรส และบุตรของส.ส. คือ .ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคพลังประชาชน บุตรสาว ได้ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2551 ว่ามีเงินลงทุนในบมจ.เอ็ม ลิ้งค์ เอ 70,000,000 หุ้น มูลค่า 128,100,000 บาท ซึ่งบริษัทดังกล่าว ก็เข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐวิสาหกิจคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

“ อภิรักษ์ ” ส่อเจอใบเหลือง-ปชป.โวยโนวิชามาร



คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) และ กกต.กลาง ได้สอบสวนกรณีป้ายประชาสัมพันธ์ของ กทม.มีชื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. หมายเลข 5 ติดอยู่ เป็นการโฆษณาหาเสียงแฝง ชี้ "อภิรักษ์" มีสิทธิเจอใบเหลือง ด้าน.โวย วิชามารกลั่นแกล้งช่วงโค้งสุดท้าย


หลังมีการร้องเรียนให้ตรวจสอบเรื่องป้ายโครงการกทม. และป้ายหาเสียงผู้ว่ากทม. ในส่วนของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นั้น นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.ได้มอบหมายให้นายรัฐพล มีธนาถาวร รองปลัด กทมเก็บป้ายดังแล้ว ขณะเดียวกันนายรัฐพล ได้สั่งให้กองประชาสัมพันธ์ และสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) ทำหนังสือชี้แจงเรื่องดังกล่าว แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการชี้แจงใด ๆ จากหน่วยงานทั้งสอง


ดังนั้น จึงมีกระแสข่าวว่า จะมีคำสั่งโยกย้าย ผอ.กองประชาสัมพันธ์ ไปเป็นผู้ตรวจราชการ ขณะเดียวกันหาก กกต.สอบสวนแล้วพบว่าข้าราชการไม่เก็บป้ายเพราะเอื้อประโยชน์ให้กับนายอภิรักษ์ อาจมีความผิดตามมาตรา 60 กรณีข้าราชการผู้ใดวางตัวไม่เป็นกลางใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใดๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี
นอกจกากนี้ กรณีที่มีรูปข้าราชการ กทม.ไปปรากฏในป้ายหาเสียงของนายอภิรักษ์ 3 รูป ได้แก่ รูปขี่จักรยาน รูปนั่งเรือ และรูปเดินบนสะพานตรวจน้ำท่วม ซึ่งข้าราชการยืนยันว่าไม่ได้ยินยอมให้นำรูปไปใช้ในการหาเสียง แม้ทีมงานนายอภิรักษ์ จะเก็บป้ายบางส่วนออกไปแล้ว แต่เมื่อมีผู้ร้องมา กกต.ก็ต้องมาสอบถามข้อมูลจาก กทม. ซึ่งเรื่องนี้หากสืบไปถึงต้นตอของภาพทั้งหมดจะพบว่าเป็นรูปจากกองประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็เข้าข่ายใช้สมบัติของราชการไปใช้หาเสียง อาจเข้าข่ายทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองกรณีนี้ กกต.อาจพิจารณาให้ใบเหลืองนายอภิรักษ์ ทำให้ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่อีกรอบ ซึ่งทำให้นายอภิรักษ์เองต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งเป็นเงิน 158 ล้านบาท


นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.พรรคปชป.บอกว่า โค้งสุดท้ายมีการใช้วิชามารโจมตี ขณะนี้กำลังตรวจสอบเพื่อดำเนินคดีคนที่เกี่ยวข้อง

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์คนใหม่

นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ผู้ที่ยื่น ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบการทุจริตเรื่องการขายทอดตลาดในกรมบังคับคดี แต่สุดท้ายโดนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สั่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง จึงต้องขอให้ ป.ป.ช. ดำเนินคดีกับนายสมชาย ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปราบปรามการทุจริตในวงราชการ นี่กำลังจะเป็นแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ คนต่อไปหรือไม่



การร้องเรียนทุจริตภายในกรมบังคับคดี เพราะผมเห็นความถูกต้องหลายประการ ผมพยายามร้องขอให้ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ซึ่งตอนนั้นยังไม่แยกออกจากศาลยุติธรรม ตรวจสอบภายในก่อน แต่ดูเหมือนเรื่องจะล่าช้า ผมก็ต้องทวงถามหลายครั้ง
ผลของการร้องเรียน และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ผมมาโดนนายมานิตย์ สุธาพร ขณะนั้นเป็นรองอธิบดีกรมบังคับคดี ฟ้องผมทั้งคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท ผมไม่มีปัญหาหาที่ไหนไปจ่ายให้ขนาดนั้นหรอก แกล้งไปฟ้องผมในคดีอาญาที่ศาลต่างจังหวัด ฐานหมิ่นประมาท ฟ้องผมในศาลอาญากรุงเทพฯใต้ รวมแล้ว 3 คดี
แต่ตอนนี้ผมค่อยยังชั่วแล้ว เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่าที่ผมทำไปผมไม่ได้หมิ่นประมาทใคร ที่ผมพูดเป็นเรื่องจริง เพราะฉะนั้น ผมจึงต้องการให้คุณสมชาย ยืนยันเอกสารบางอย่างที่ผมเชื่อว่ามีความผิดปกติ ซึ่งคุณสมชาย น่าจะรู้ดี
เมื่อร้องภายในไม่คืบหน้า ผมก็ร้องไปที่ป.ป.ช. อีกหลายครั้ง
โดยเมื่อปี 2543 ผมได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้สอบสวนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ตำแหน่งในขณะนั้น) กรณีที่นายสมชาย ตั้งกรรมการสอบวินัย ผม อันสืบเนื่องมาจากการที่ผมเป็นผู้ร้องเรียนความไม่ชอบมาพากลกรณีที่กรมบังคับคดี ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินคลองหลวง เอ่ยอย่างนี้ทุกคนอาจจะไม่รู้แต่ถ้าบอกว่า เป็นที่ดินตลาดไทในปัจจุบัน ทุกคนจะร้องอ๋อ โดยตามคำพิพากษาศาลจังหวัดธัญญบุรี การขายทอดตลาดต้องวางค่าธรรมเนียม แต่มีการสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมให้ผู้ชนะการประมูล ราชการจึงได้รับความเสียหาย
ที่ผมต้องร้องเพราะผมโดนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เสนอ คณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ให้ไล่ออกจากราชการ ถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากเพราะการเสนอให้ไล่ผู้พิพากษาคนหนึ่งออกจากราชการ จะต้องเป็นความผิดที่ร้ายแรงมาก แต่กรณีของผม ทำเรื่องนี้เพราะต้องการรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ ไม่ได้ทำเพื่อตัวผมเอง
แต่ผมไม่อยากพูดถึงเรื่องนี้ในตอนนี้ว่าเมื่อนายสมชาย เสนอให้ไล่ผมออกจากราชการแล้วมีการถวายฎีกา แต่ก็เป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทำให้ผมยังอยู่ในอาชีพนี้ ในวันนี้
กรณีนี้ความจริงจะได้รับการเปิดเผยในอีกไม่นานนี้ ผมอยากให้ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดเรื่องนี้โดยเร็ว
เพราะในเดือนตุลาคม ผมจะขอให้ศาลแพ่ง เรียกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี มาเบิกความในศาลแพ่ง ในคดีที่ผมโดนนายมานิตย์ สุธาพร อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และอดีตรองอธิบดีกรมบังคับคดี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท ซึ่งผมไม่หนักใจคดีนี้เพราะป.ป.ช.ได้ชี้มูลว่านายมานิตย์ มีความผิด อันเป็นมูลเหตุมาจากกรณีที่ผม ออกมาเปิดโปงเรื่องไม่ชอบมาพากลในกรมบังคับคดี
แต่ที่ผมไม่สบายใจก็คือการโยนความผิดให้คนตาย
อย่างไรก็ตาม ผมเตรียมเอกสารหลักฐานบางอย่างให้คุณสมชาย ยืนยันในชั้นศาล ว่า เชื่อหรือไม่ว่า บัญชีธนาคารมูลนิธิประมาณ ชันซื่อ ที่ธนาคารไม่ยอมมอบต้นฉบับให้ศาล แต่ถ่ายเอกสารส่งเป็นสำเนา แล้วมีตัวเลขหายไปแถบหนึ่ง เจ้าหน้าที่ธนาคารอ้างว่าเป็นเพราะเครื่องถ่ายเอกสารเสีย
นอกจากนั้น ผมยังต้องการถามนายสมชาย ว่า เชื่อตามที่คุณมานิตย์ กล่าวอ้างหรือไม่ว่า บัญชีมูลนิธิประมาณ ชันซื่อ ซึ่งเก็บอยู่ในห้องทำงานคุณมานิตย์ ที่อยู่ชั้น 11 อาคารศาลอาญา โดนเผาเพราะเกิดไฟไหม้ห้องทำงาน อยากทราบว่านายสมชาย ซึ่งอยู่ชั้น 13 ตึกเดียวกัน รู้เรื่องนี้หรือไม่ แล้วเชื่อด้วยหรือไม่ว่าเกิดไฟไหม้จริง
เรื่องนี้ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลว่า นายมานิตย์ สุธาพร รองอธิบดีกรมบังคับคดี ในขณะนั้น มีความผิดและต่อมากระทรวงยุติธรรม ได้มีคำสั่งให้นายมานิตย์ ออกจากราชการ แต่สำหรับผม ซึ่งเป็นผู้ร้องนายสมชาย ให้ตั้งกรรมการสอบสวนผม เท่ากับว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การที่ผมโดนนายสมชาย สั่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก คนที่ปกป้องประโยชน์ของทางราชการ กลับโดนตั้งกรรมการสอบวินัย
คดีนี้มีความผิดร้ายแรงยิ่งกว่าคดีที่อดีตนายกรัฐมนตรี (สมัคร สุนทรเวช) โดนตัดสินว่าขาดคุณสมบัติเพราะจัดรายการชิมไปบ่นไป เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการปกป้องคนที่กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในวงราชการ ซึ่งผมทราบว่าในส่วนที่เป็นข้าราชการพลเรือนคือนายมานิตย์ กฎหมายให้ลงโทษไล่ออก ปลดออก แต่สำหรับอธิบดีซึ่งเป็นตุลาการ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) กำลังตั้งกรรมการสอบสวนอดีตอธิบดีกรมบังคับคดี คนดังกล่าว
นอกจากการไล่ออกแล้ว ยังจะต้องมีการเรียกเอาเงินคืนแผ่นดิน และในขณะที่นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผมก็ทำหนังสือถามไป นายสมพงษ์ ให้เลขานุการรัฐมนตรี ตอบคำถามของผม ว่า เรื่องการหาคนเพื่อรับผิดทางแพ่ง กรณีกรมบังคับคดี ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายทอดตลาดทรัพย์ อยู่ระหว่างดำเนินการ
ผมก็ไม่รู้ว่าจะดำเนินการนายแค่ไหน เพราะผมทวงกับทุกรัฐมนตรี
กรณีคดีแพ่ง ที่กรมบังคับคดี ไม่ได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายทอดตลาดทรัพย์ 45 ล้านบาท หากคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ รวมแล้วเป็นเงินกว่า 90 ล้านบาท เรื่องนี้จะต้องหาคนรับผิดชอบในการคืนทรัพย์ให้แผ่นดิน และผมเห็นว่า นายสมชาย จะต้องเป็นผู้หนึ่งที่ต้องร่วมชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวด้วย
และภายหลังที่คุณมานิตย์ โดนป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิด เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2549 กรมบังคับคดีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2550 ให้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมขายทอดตลาดทรัพย์
กรณีที่ผมร้องเรียนไปยัง ป.ป.ช. หากป.ป.ช.ชี้มูลว่านายสมชาย มีความผิดจะต้องขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะตามกฎหมายแล้วให้ถือตามช่วงเวลาที่มีการชี้มูล ซึ่งตอนนี้นายสมชาย เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ตอนที่กระทำความผิดเป็นข้าราชการ แต่ในช่วงที่มีการชี้มูล นายสมชาย เป็นนักการเมือง จึงจะต้องขึ้นศาลฎีกานักการเมือง
คดีนี้เป็นเรื่องข้าราชการระดับปลัดกระทรวง ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปราบปรามขบวนการทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการ ซึ่งถือเป็นปัญหาการคุณธรรมและจริยธรรมที่ข้าราชการจะต้องมี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นอาญาแผ่นดิน ยอมความกันไม่ได้

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

ป.ป.ช.เตรียมชี้มูลผู้พิพากษร้อง"สมชาย"ประพฤติมิชอบ

ดังที่เกริ่นเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย. วันนี้ (25) ก็ได้ฤกษ์ฉายตอนที่สองของเรื่อง

มันเป็นวิบากกรรมที่ครอบครัวนายกรัฐมนตรี ทั้งตัวเอง เมีย และลูกสาว กำลังเผชิญการตรวจสอบความผิดต่างกรรมต่างวาระ

แต่สำหรับตัวนายกฯ มีความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปราบปรามทุจริตในวงราชการ

นายชำนาญ ระวิวรรณพงษ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 เปิดเผยว่า เมื่อปี 2543 เขาได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สอบสวนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ตำแหน่งในขณะนั้น) กรณีที่นายสมชาย ตั้งกรรมการสอบวินัยเขา อันสืบเนื่องมาจากการที่เขาเป็นผู้ร้องเรียนความไม่ชอบมาพากลกรณีที่กรมบังคับคดี ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายทอดตลาดทรัพย์ ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดธัญญบุรี ทำให้ราชการได้รับความเสียหาย

"เรื่องนี้ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลว่า นายมานิตย์ สุธาพร รองอธิบดีกรมบังคับคดี ในขณะนั้น มีความผิดและต่อมากระทรวงยุติธรรม ได้มีคำสั่งให้นายมานิตย์ ออกจากราชการ แต่สำหรับผมซึ่งเป็นผู้ร้องให้มีการสอบสวนการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กลับโดนนายสมชาย สั่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก คนที่ปกป้องประโยชน์ของทางราชการ กลับโดนตั้งกรรมการสอบวินัย"

รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 เปิดเผยด้วยว่า คดีนี้มีความผิดร้ายแรงยิ่งกว่าคดีที่อดีตนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช โดนตัดสินว่าขาดคุณสมบัติเพราะจัดรายการชิมไปบ่นไป เพราะเป็นเรื่องที่เกียวกับการปกป้องคนที่กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในวงราชการ ซึ่งเขาทราบว่าในส่วนที่เป็นข้าราชการพลเรือนคือนายมานิตย์ กฎหมายให้ลงโทษไล่ออก ปลดออก แต่สำหรับอธิบดีซึ่งเป็นตุลาการ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) กำลังตั้งกรรมการสอบสวนอดีตอธิบดีกรมบังคับคดี คนดังกล่าว

นายชำนาญ กล่าวว่า หากป.ป.ช.ชี้มูลว่านายสมชาย มีความผิดจะต้องขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะตามกฎหมายแล้วให้ถือตามช่วงเวลาที่มีการชี้มูล ซึ่งตอนนี้นายสมชาย เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ตอนที่กระทำความผิดเป็นข้าราชการ แต่ในช่วงที่มีการชี้มูล นายสมชาย เป็นนักการเมือง จึงจะต้องขึ้นศาลฎีกานักการเมือง

"คดีนี้เป็นเรื่องข้าราชการระดับปลัดกระทรวง ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปราบปรามขบวนการทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการ ซึ่งถือเป็นปัญหาการคุณธรรมและจริยธรรมที่ข้าราชการจะต้องมี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี"

เปิดกฎหมายป.ป.ช.-รธน.ฟันอาญานายกฯ

ทั้งนี้ มาตรา 66 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ระบุว่า ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีเหตุอันควรสงสัยหรือมีผู้กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยเร็ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้กล่าวหามิใช่ผู้เสียหาย และคำกล่าวหาไม่ระบุพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะไม่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงก็ได้

นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่ ว่าข้อกล่าวหาใดมีมูลนับแต่วันดังกล่าวผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ส่งรายงานไปยังประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการตามมาตรา 273 และอัยการสูงสุด เพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่ง แต่หากเห็นว่าไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหานั้นตกไป

ป.ป.ช.เผยเตรียมจะสรุปสำนวนเร็ว ๆ นี้

ขณะที่นายกล้านรงค์ จันทิก กรรรมการป.ป.ช. ในฐานะเจ้าของสำนวนคดีร้องเรียนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่มิชอบเพราะตั้งกรรมการสอบวินัยนายชำนาญ ระวิวรรณพงษ์ ว่า ตั้งแต่มีการยื่นคำร้องมา ป.ป.ช.ก็ได้มีการสืบสวนสอบสวนมาเป็นระยะ เนื่องจากคดีนี้มีความเกี่ยวพันธ์กับบุคคลจำนวนมาก และมีหลายคำร้อง ป.ป.ช.จึงต้องใช้เวลา และมีการร้องเรียนเข้ามาที่คณะกรรมการป.ป.ช.หลายชุดด้วยกันจึงต้องมีการเรียกสอบเป็นช่วง ๆ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรรมการป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้ไปแล้ว 2 รายคือ นายมานิตย์ สุธาพร รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และอดีตอธิบดีกรมบังคับคดี ส่วนการชี้มูลความผิด นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม นั้น ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อมูลเพิ่มเติม คาดว่าอีกไม่นานคงได้ข้อสรุป

ด้านนายวิชา มหาคุณ กล่าวถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า เรื่องนี้อยู่ในความรับผิดชอบของท่านกล้านรงค์ โดยมีการสอบสวนมาเป็นระยะ ๆ แต่เท่าที่ทราบขณะนี้การสืบสวนมีความคืบหน้าไปมากแล้ว และคาดว่าดจะสรุปผลคดีได้เร็ว ๆ นี้

ป.ป.ช.ชี้"มานิตย์"ทำรัฐเสียหาย70ล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2549 นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช. แถลงผลการประชุมว่า ได้พิจารณากรณี นายมานิตย์ สุธาพร อดีตรองอธิบดีกรมบังคับคดี ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตในการสั่งคืนเงิน 70 ล้านบาท ที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดิน 897 ล้านบาท โดยไม่ได้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดธัญบุรี ตามกฎหมาย จึงมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลความผิดทางอาญา โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะทำการส่งเรื่องให้แก่ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัย พร้อมส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลต่อไป

นายกล้านรงค์ ยืนยันว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาตามขั้นตอนที่ถูกต้องไม่ใช้การใส่ร้าย โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดเก่าได้ทำการพิจารณาสำนวนคดีและสอบพยานกว่า 40 ปาก และพิจารณาจากเอกสารสำนวน 74 รายการแล้วจึงแจ้งข้อกล่าวหา อีกทั้งนายมานิตย์ ก็ได้แก้ข้อกล่าวหาแล้ว ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงชี้มูลว่ามีความผิดจริง

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวเป็นคดีเดียวกับข้อกล่าวหานายสุทัศน์ เงินหมื่น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แต่เนื่องจากเป็นคนละประเด็นคณะกรรมการจึงต้องแบ่งกันพิจารณาเป็นขั้นตอน

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

เอนก : การเมืองใหม่ไม่ต้องเป็นทาสตะวันตก

สูตรการเมืองใหม่ของพันธมิตร คิดว่าพอจะตรงกับสูตรการเมืองใหม่ที่อาจารย์คิดบ้างไหม
สูตรพื้นฐานข้างต้นก็เหมือนกัน คือทำยังไงให้นักการเมืองถูกตรวจสอบได้ง่าย ถูกถอดถอนได้ง่าย
แล้วเรื่องระบบตัวแทนกลุ่มอาชีพ อาจารย์เห็นด้วยหรือไม่
ผมก็ไม่ขัดอะไร เพราะตามทฤษฎีประชาธิปไตยแบบตะวันตกเอง การเป็นตัวแทนก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง คือการเป็นโดยพื้นที่ (Territorial representation) กับเป็นโดยวิชาชีพ (Functional representation) ซึ่งทั้งสองวิธีมาจากการเลือกตั้ง
ดีกว่าสูตรแรกที่เสนอว่าส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง อีกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง?
ครั้งนี้ดีกว่า ได้รับการยอมรับมากกว่า คือผมอยู่ในสภามานานก็เห็นว่า บรรดาตัวแทนที่อยู่ในสภานั้นคือนักเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นตัวแทนผลประโยชน์อะไรมากมาย เป็นเพียงนักเลือกตั้งที่ไปเอาเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนมาได้ แต่ในสภาผมไม่เคยเห็นชาวนาเลย ไม่เคยเห็นคนพิการ ไม่เห็นเพศที่สาม(ที่กล้าประกาศตัวชัดเจน) หรือเด็กๆที่อายุ 18-25 เห็นผู้หญิงไม่ค่อยมาก ไม่เห็นแม่บ้าน สื่อมวลชนก็ไม่มี คือถ้าคุณเป็นสื่อมวลชน เป็นนักวิชาการ เป็นหมอเป็นพยาบาลแล้วคุณอยากจะชนะเลือกตั้ง คุณก็ต้องทิ้งความเป็นวิชาชีพของคุณแล้วเปลี่ยนตัวเองมาเป็นนักเลือกตั้งคุณถึงจะชนะ แต่ถ้าหากเราเลือกผู้แทนแบบเป็นสมาคมวิชาชีพ เราก็จะได้ตัวแทนที่เป็นวิชาชีพ เช่นกลุ่มแพทย์และพยาบาล กลุ่มผู้ขายหมูปิ้ง กลุ่มร้านค้าโชว์ห่วย เป็นต้น แล้วกลุ่มเหล่านี้ก็จะไปคานอำนาจกับผู้แทนจากพรรคการเมือง เพราะฉะนั้นวิธีนี้ก็ไม่เลว น่าสนใจ แต่ผู้แทนวิชาชีพก็ต้องไม่สังกัดพรรค
เราสามารถจัดกลุ่มนักศึกษาอยู่ในกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้ได้ไหม
ก็ได้นะ แล้วแต่เราจะจัด เราจะเห็นได้ว่า นักวิทยาศาสตร์ในสภาก็ไม่มี แล้วประเทศไทยจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร มันมีอีกหลายอาชีพนะ นักออกแบบก็ไม่มี ศิลปินก็ไม่มี เพราะฉะนั้นการใช้ Functional representation ก็จะช่วยลดจุดอ่อนของสภาได้เหมือนกัน แต่อย่าเพิ่งไปคิดว่าจะไม่มีการใช้เงิน ใช้บารมี ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการเลือกเข้ามา เดี๋ยวก็มี แต่ถ้าทำแบบที่ว่า คือเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ แล้วฝ่ายบริหารก็จะได้เอาคนที่บริหารเป็นจริงๆไปบริหาร ไม่ใช่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ เอานายบุญลือ ประเสริฐโสภณอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าผมดูถูกเขา แต่ว่าเราควรจะพยายามทำให้การบริหารประเทศมีลักษณะเป็นความชำนาญเฉพาะทางมากขึ้น เช่นต่อไปเราพบว่าความสัมพันธ์กับเขมรเป็นเรื่องใหญ่ เราก็จะจ้องดูว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ถ้าสมมติพรรค ก. เสนอ สมมตินะ เสนอภรรยาของคุณยงยุทธ ติยะไพรัช มาเป็น รมต.ต่างประเทศ คนก็จะยี้ คือให้มันรู้กันไปเลยว่าคุณจะเอายี้มาเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่ต้น จะได้ไม่เลือก
เพราะฉะนั้นตัวนายกฯ ไม่ได้สำคัญคนเดียว แต่มันสำคัญหมดกับทั้ง 36คนที่เขาจะเลือกมาเป็นทีม แล้วมันจะทำให้คนที่มีความสามารถแต่จะไม่มีทางผ่านการเลือกตั้งได้ มีโอกาสเข้าไปทำงานให้บ้านเมืองได้ คนในแวดวงธุรกิจที่ฝีมือดีๆก็มีตั้งหลายคน แต่ถ้าเขาต้องไปลงสมัครรับเลือกตั้ง แล้วต้องไต่เต้าระบบอุปถัมภ์ภายในพรรคมากว่าจะได้ ต้องไปรับใช้ภรรยาหัวหน้าพรรคในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เสี่ยงๆก่อนถึงจะได้เป็นรัฐมนตรี เขาก็ไม่อยากทำหรอก แต่ถ้าคุณต้องเลือกแบบที่ว่า ไปเป็น 36 คนหลังชื่อคนที่จะเป็นนายกฯ คุณก็จะมีโอกาสเป็นรัฐมนตรี แล้วถ้าคุณกลัวว่ารัฐมนตรีเหล่านี้จะขาดจากฐานประชาชนจนเกินไป คุณอาจจะกำหนดว่ารัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีมหาดไทย รัฐมนตรีคลัง สามตำแหน่งนี้สำคัญ ต้องมารับการเห็นชอบจากสภาก่อนก็ยังได้ คราวนี้เราก็จะได้ทีมผู้บริหารประเทศที่เป็นผู้บริหารจริงๆ
พูดถึงบทบาทของนักศึกษาแนวร่วม Young PAD เปรียบเทียบกับนักศึกษาช่วง 14 ตุลาฯ
ถ้าเป็นสมัยผมต้องมีความเป็นผู้นำสูง เพราะสมัยนั้นความกระตือรือร้นยังไม่มี ประชาชนยังไม่มีความรู้ เขาก็เห็นเราเป็นผู้นำ เพราะเราเรียนสูงกว่า แต่สมัยนี้คนที่ไปชุมนุมก็มีทั้งจบปริญญาโท ไปจนถึงปริญญาเอก ส่วนเยาวชนที่ไปขึ้นเวทีก็อยู่แค่ปีหนึ่งปีสอง เขาก็เห็นว่าน่ารักดี เป็นลูกหลาน แล้วถ้าเป็นสมัย 14 ตุลาฯ การพูดการปราศรัยจะไม่เล่น ไม่สนุกสนานแบบนี้ เป็นเรื่องจริงจัง แต่กลุ่มพวกนี้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมสมัยใหม่ มีเต้น มีดนตรี แล้วตอนที่ผมทำ ผู้ชุมนุมก็นั่งกับพื้น แต่สมัยนี้มีเก้าอี้ แล้วเครื่องเสียงก็ดีกว่ามาก
ในมุมมองของอาจารย์ ถ้าพันธมิตรยังเคลื่อนไหวต่อไป เด็กๆจะออกมาร่วมต่อไหม
ตอนนี้ยังมีเรื่องเล่นไปได้เรื่อยๆนะ หมดสมัครแล้วก็มีสมชาย สมชายก็มีเรื่องผู้หญิงตายท้องกลมขึ้นมาอีก เดี๋ยวสมชายที่ดูน่ารักจะกลายเป็นสมชายที่ดูเจ็บป่วยไปเลย แล้วก็จะมีเรื่องยุบพรรค เรื่องคดี ก็ยังมีเรื่องเล่นอยู่ แล้วการชุมนุมไม่ได้ดูน่ากลัว กลับดูสนุก สามารถดึงเด็กๆให้ไปเข้าร่วมได้ ซึ่งจะทำให้การปราบปรามไม่สามารถทำได้ เพราะถ้าจะปราบคุณก็ต้องไปตีคนแก่ ไปรังแกเด็ก ซึ่งจะทำให้สังคมไม่พอใจ
ด้วยเหตุผลนี้หรือไม่ ที่ทำให้ทหารไม่กล้าออกมาปราบปรามผู้ชุมนุม
ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง แต่ผมว่าทหารยุคนี้เป็นทหารที่ฉลาดที่สุด เขารู้ว่าถ้าเขายึดอำนาจได้ก็ปวดหัว อยู่แบบนี้ดีที่สุด โผทหารขออะไรไปเขาก็ให้ งบประมาณอยากได้อะไรก็ได้หมด ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
เราจะยังอยู่ในรัฐบาลที่ไร้ทำเนียบไปอีกนานแค่ไหน
คงอีกนาน ผมว่าเป็นอาทิตย์เป็นเดือน ที่ผมดูเมื่อวันอาทิตย์คนก็เยอะเหมือนกัน อาจจะจนถึงมีการยุบพรรค มีการตัดสินคดี แล้วผมว่าห้าแกนนำเขาพูดเก่ง มีข้อมูลที่ลึกมาก ถ้าให้ผมไปพูดตอนนี้คงสู้เขาไม่ได้ (หัวเราะ)
ผมลองมานั่งคิดดู การที่มีคนมาร่วมชุมนุมร่วมร้อยกว่าวัน แล้วก็ติดตามเอเอสทีวี ผมคิดว่าเป็นล้านคน มันแสดงให้เห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยเบื่อมากกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบนี้ แล้วคิดว่านี่มันไม่ใช่ นี่มันเป็นวิธีการให้คนกลุ่มหนึ่งมายึดครองประเทศแล้วตักตวงผลประโยชน์ การเมืองสมัยที่ผมเป็นเด็กมันมีมารยาท เดี๋ยวนี้มารยาททางการเมืองก็ไม่มีแล้ว ดังนั้นคนที่ออกมาคิดเขาอยากจะเปลี่ยนแปลง ถามว่าเขาเป็นคนส่วนน้อยมั้ย ก็ยังถือว่าเขาเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกรวมทั้งประเทศไทยเอง ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงของคนส่วนน้อยทั้งนั้น ซึ่งตั้งแต่ 14 ตุลาฯ เป็นต้นมา ก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดจากคนส่วนน้อยทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นการเมืองไทยมันมีสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นการเมืองเรื่องใช้เงิน แต่อีกด้านหนึ่งเป็นการเมืองที่ยอมต่อสู้เพื่อหลักการ อุดมการณ์ แล้วมันพลิกได้ ตอนที่เห็นคุณทักษิณก็ยังอดสรุปไม่ได้ว่า เขาเป็นคนที่ทำการเมืองด้านแรกได้สุดยอด สามารถเอาไปบวกกับมาร์เก็ตติ้ง บวกนโยบายเข้าไปด้วย แต่ก็เกิดคนอย่างสนธิขึ้นมาที่จะเอาการเมืองด้านอุดมการณ์ ที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่ออะไรใหม่ที่ดีขึ้น แล้วมีคนเป็นล้านที่ตามเรื่องนี้
ชาวบ้านไทยเวลานี้ เสพสื่อกันเป็นว่าเล่น เดี๋ยวนี้ชาวบ้านตื่นมาเขาคุยกันเรื่องการเมืองระดับชาติแล้ว เพราะสื่อที่เข้าถึงมากขึ้น ผมจึงคิดว่าการเมืองใหม่เป็นความจำเป็นของสังคม เพราะสังคมไทยมันเปลี่ยน ยังไงก็ต้องปรับการเมืองให้ใหม่ขึ้น แล้วผมว่าการเมืองไทยมันเปลี่ยนเร็วมาก
คิดว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นอุปสรรคของการที่จะเปลี่ยนไปสู่การเมืองใหม่หรือไม่
ก็คงไม่ต้องไปแก้ เพียงแต่เขียนเติมเข้าไป อะไรที่ไม่จำเป็นก็อย่าไปแก้ แต่ตอนที่ผมอยู่ในการเมืองผมรู้สึกว่ารัฐธรรมนูญจุกจิกมาก ทำให้ทำงานไม่สะดวก แต่ผมก็คิดว่าความลำบากอยู่ที่นักการเมือง แต่ประชาชนได้ผลประโยชน์ ซึ่งเราก็ต้องยอม
คิดว่าตัวแทนที่มาจากวิชาชีพจะไปต้านทานแรงจากเงิน จากอำนาจได้หรือไม่ แค่ไหน
น่าจะได้อยู่พอสมควร ยิ่งถ้าเรากำหนดว่าเป็นได้สมัยเดียว แล้วไม่สามารถล้มรัฐบาลได้ ไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีได้ ก็ทำให้แรงจูงใจที่จะทำให้เขาทุจริตนั้นลดลง คนที่ซื้อก็ไม่รู้จะซื้อไปทำไม เพราะเขาแค่ออกกฎหมาย
การเมืองใหม่เนี่ย ผมว่าเดี๋ยวนี้เราต้องคิดว่าวุฒิทางปัญญาของคนไทยมีมากพอที่จะสร้างรูปแบบทางการเมืองของตัวเองได้แล้ว ไม่ต้องตามแบบตะวันตก ดูอย่างประเทศจีนที่เดี๋ยวนี้เจริญก้าวหน้า ทั้งๆที่ไม่ได้ทำตามระบบทุนนิยม ระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ผมว่าเดี๋ยวนี้เราไม่ต้องไปตามแบบอังกฤษ ตามแบบวอชิงตันเหมือนทาส ถ้าอันไหนที่เราเห็นว่าใช้กับเราไม่ได้ก็ไม่ต้องไปใช้ แต่เราต้องปลูกฝังวัฒนธรรมของไทยให้เป็นวัฒนธรรมที่ไม่กลัวเงิน คนไทยนี่มันแปลก ผมเนี่ยให้บุญคุณกับคนมาตั้งเยอะ ผมสอนเขามาให้ได้ปริญญาตรี ปริญญาเอก เขากลับไม่ถือเป็นบุญคุณ แต่คนที่ให้ 500 บาท เขากลับถือเป็นบุญคุณ ดังนั้นเราต้องปลูกฝังให้คนรักศักดิ์ศรี
อย่างนี้ถ้าเราปลูกฝังความรักชาติ ความเป็นวัฒนธรรม จะช่วยให้ประชาธิปไตยไทยดีขึ้นไหม
ดี คิดว่าดี การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของเราต้องใช้วัฒนธรรมมากๆ ต้องปลูกฝังว่าการรับเงินซื้อเสียงเป็นเรื่องที่อุบาทว์ ซึ่งโฆษณา การรณรงค์ที่มีอยู่อาจจะยังไม่คลิก คือเราต้องสร้างอะไรหลายๆอย่างที่เงินซื้อไม่ได้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เงินซื้อไม่ได้คือความรักพระเจ้าอยู่หัว

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

โมเดลการเมืองใหม่


(4)
โมเดลการเมืองใหม่ “รัสเซีย สวีเดน”
สูตรการเมืองใหม่ ที่นำเสนอไปแล้วยังมีอีกแนวทางหนึ่งก็คือ สูตรการเปลี่ยนแปลงที่ระบบการศึกษา สูตรนี้จะต้องใช้เวลา 16 ปี เมื่อปีที่ 17 เราจะได้คนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนวิธีคิด อันเป็นผลจากการเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา
ขณะที่นักคิดนักเคลื่อนไหว ในรุ่นปัจจุบันจะเป็น คนรุ่นกลาง เป็นกันชน ระหว่างการเมืองรุ่นเก่ากับการเมืองรุ่นใหม่
การแก้ระบบการศึกษา นั้น รัสเซีย และสวีเดน เคยใช้วิธีการนี้เปลี่ยนแปลงทางการเมือง
“รัสเซีย” เมื่อช่วงการเปลี่ยนแปลงจากประเทศคอมมิวนิสต์ การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาแบบหักดิบ ด้วยการขับไล่อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไม่มีความรู้ออกไปอยู่แถบไซบีเรีย จากนั้นเปลี่ยนคัดสรรนักวิชาการหัวก้าวหน้า มาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอแนวทางการเมืองรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่ระบบคอมมิวนิสต์
“สวีเดน” หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สวีเดนเปลี่ยนระบบการปกครองให้สถาบันกษัตริย์ อยู่ภายใต้ระบบการปกครองโซเซียลลิสต์ ซึ่งสามารถ ตอบโจทก์ได้ว่ากษัตริย์ สามารถอยู่ร่างกับโซเซียลลิสต์ ได้
การเลือกใช้เส้นทางนี้เพื่อไม่ให้ประเทศสะดุด
หมายความว่า ขณะที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองภายในประเทศ แต่การค้าขายระหว่างประเทศยังจะต้องดำเนินควบคู่กันไปด้วย จะต้องเปิดรับเทคโนโลยี
ช่วงเวลา 16 ปี นอกจากการมุ่งสร้างคนรุ่นใหม่ มีความรู้เพียบพร้อม ทันโลก
หลักสูตรการเรียนการสอน จะต้องสอดแทรกด้านศีลธรรม คุณธรรม อะไรที่เกิดปัญหาทางสังคม ต้องได้รับการแก้ไขด้วยคุณธรรม และจริยธรรม แห่งภูมิปัญญา
ในช่วงปีที่ 16 ให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ทันโลก แต่เป็นรัฐธรรมนูญ แบบไทย ๆ อย่างแท้จริง
ปีที่ 17 จะได้คนรุ่นใหม่ ที่เข้าใจระบบการเมืองใหม่ โดยที่ไม่มีแรงเสียดทานจากคนสองความคิดดังที่เป็นอยู่ในเวลานี้
การเมืองใหม่ตามแนวทางนี้แม้จะดูช้า แต่จะได้การเมืองใหม่ที่มั่นคง ได้ฐานความรู้ของคนรุ่นใหม่ที่ทันสมัย และพร้อมที่จะก้าวนำไทยสู่การเมืองใหม่ อย่างสมบูรณ์เพียบพร้อม

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

เปิดโมเดลการเมืองใหม่ สภาประชาภิวัฒน์


(3)
สภาประชาภิวัฒน์
เป็นสภาประชาชน ด้วยการเปิดทางให้ประชาชนเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะการซื้อสิทธิ์ขายเสียง โกงการเลือกตั้ง จะไม่มีวันหมดไปจากสังคมการเมืองไทย ตราบใดที่โกงแล้วมีโอกาสได้ “ถอนทุน” คืน
นักการเมืองยิ่งไม่กลัวการตรวจสอบเพราะการเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก นั้น ยิ่งไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน
อย่างไรก็ตาม หากประชาชน มีสภาประชาภิวัฒน์ เป็นตัวแทนคอยควบคุมความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างใกล้ชิด ให้อยู่ในลู่ทางถูกต้อง ตัดเส้นทางโกงกิน ขายชาติ ของนักการเมืองชั่ว และนายทุนสามานย์ ก็จะไม่สามารถผูกขาดถอนทุนคืน การโกงเลือกตั้ง ก็จะเลิกซื้อเสียงไปเอง
ขณะเดียวกันสภาประชาชน ก็จะต้องเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนทั้งประเทศในสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สภาประชาภิวัฒน์ จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพราะติดวังวนการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ไม่จบสิ้น และถ้าเป็นผู้ที่มาจากการแต่งตั้งลอย ๆ ก็อาจจะเป็นการเปิดช่องให้แต่งตั้งพวกพ้องของตนเองเข้ามาโดยไม่มีความยุติธรรม ทำให้ขาดความสมดุลในโครงสร้างของตัวแทนประชาชน
ดังนั้น ที่มาของสภาประชาภิวัฒน์ จึงต้องมาจากการสอบคัดเลือกเข้ามา ด้วยการสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า (เหมือนการสอบในโรงเรียนของประเทศออสเตรีย)โดยกำหนดสัดส่วนจังหวัดละ 5 คน (375 คน) ส่วนกรุงเทพ ถือเป็นเมืองใหญ่ อยู่ใกล้ศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ ใกล้แหล่งข้อมูลข่าวสาร ให้มีตัวแทน 25 คน รวมแล้ว 400 คน
นอกจากนั้น สภาประชาภิวัฒน์ จะมาจากการสอบข้อเขียน และสอบปากเปล่า เพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวแทนวิชาชีพต่าง ๆ อีก 200 คน
เพื่อให้สภาประชาภิวัฒน์ มีความหลายหลาย จำเป็นต้องมีตัวแทนจากเด็กและเยาวชน (เหมือนฝรั่งเศส) จำนวน 150 คน ซึ่งจะต้องพิจารณาจากจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้สอบคัดเลือก และสอบปากเปล่า (สัมภาษณ์)
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน และราชวงศ์ และจำเป็นต้องกำหนดคุณลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับการพิจารณา นี้ ให้เป็นคุณสมบัติของข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุกประเภทด้วย
นอกจากนั้น คุณสมบัติของสมาชิกสภาประชาภิวัฒน์ ต้องไม่มีประวัติทำร้ายประชาชน ต้องไม่มีประวัติทุจริตคอร์รัปชัน โกงบ้าน กินเมือง

หน้าที่ของสภาประชาภิวัฒน์
1. เข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิ “วีโต้” มติสภาผู้แทนราษฎร ได้
2. เผยแพร่จัดอบรม สัมมนาทางสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อความเข้าใจในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. ตรวจสอบการทำงานของข้าราชการประจำ และข้าราชการการเมือง ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน
4. ดำเนินการเรียกร้องความเป็นธรรมแทนประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ
5. ดูแลส่งเสริมจริยธรรม และวัฒนธรรมไทย

งบประมาณการจัดตั้งสภาประชาภิวัฒน์
ให้ใช้งบกลางของรัฐบาล ที่นายกรัฐมนตรี สามารถอนุมัติได้ ทันที
สมาชิกสภาประชาภิวัฒน์ มีวาระ 2 ปี ไม่มีเงินเดือนประจำ แต่มีเบี้ยประชุม สามารถเบิกค่าที่พัก ค่ายานพาหนะได้
ทั้งนี้ สมาชิกสภาประชาภิวัฒน์ สามารถประกอบสัมมาชีพ ได้ตามปกติ ไม่ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สิน
สมาชิกสภาประชาภิวัฒน์ ยังสามารรถช่วยเหลือก้องกัน เวลาที่ประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ สามารถใช้ความรู้ ส่งเสริมการเกษตรตามแนวพระราชดำหริ หรือโครงการหลวง ประสานให้ความรู้เหล่านี้ไปถึงประชาชนตามลักษณะของท้องถิ่น

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

ใบสั่งนายใหญ่ เขี่ย"เลี๊ยบ"พ้นคลัง คิวต่อไป "เน"



อนาคตการเมืองที่ดับวูบลงพร้อมกับคดีความที่จะต้องรอวันชี้ชะตาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งศาลนัดพิจารณาคดีนัดแรกวันที่ 26 ก.ย.นี้ กรณีทุจริตออกหวยบนดินสองตัวสามตัว

ผลจากคดีดีงกล่าวทำให้ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน ประกาศตัดสินใจทิ้งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคลัง

ผลจากคดีดังกล่าว ทำให้กระทบไปถึงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 โดน 30 ส.ว.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยในประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ (อ่านเปิดเอกสารส.ว.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความงบ 2552 ขัดรัฐธรรมนูญ) เพราะแทนที่จะยุติปฏิบัติหน้าที่ (ทันที่ศาลรับฟ้อง) แต่กลับตะแบบทำหน้าที่ต่อ และมาเป็นประธานกรรมาธิการพิจารณางบประมาณ ซึ่งจะมีผลให้ต้องตีความต่อไปว่า จะทำให้ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 2552 ขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับหรือไม่

ทั้งสองกรณีมีผลต่อรัฐบาล "สมชาย วงศ์สวัสดิ์"

เป็นสงสัยว่าทำไม สุรพงษ์ จึงเพิ่งตัดสินใจไม่รับเก้าอี้ ในห้วงเวลานี้

สายข่าวในพรรคพลังประชาชน ยื่นวันว่า มีคำสั่งตรงจากลอนดอน ให้ "เด็ดหัว" สุรพงษ์ ออกจากตำแหน่งคณะรัฐมนตรี เพราะไม่พอใจที่ไปตั้งตนเป็น "แก๊งออฟโฟร์" พยายามสร้างฐานอำนาจขึ้นมาเหนือ "นายใหญ่" ที่ร้ายกาจที่สุดคือความพยายามที่จะเตะตัดขา สมชาย วงษ์สวัสดิ์ ไม่ให้ขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยพยายามไปผลักดัน "สมัคร สุนทรเวช" ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรายแรกแล้ว รายต่อไปก็ย่อมมี

รายต่อไปคือกลุ่มเพื่อนเนวิน ที่คิดว่าตัวเองใหญ่คับพลังประชาชน ด้วยการสำแดงศักดิ์ดา ในการต่อรองให้ สมัคร กลับมาเป็นนายกฯ และถึงแม้จะพ่ายเกมในพรรคแล้วส่งส่งลูกน้องหางแถวออกแถลงการณ์ตอบโต้มติกรรมการบริหารพรรค ที่จะส่ง สมชาย ขึ้นเป็นนายกฯ

กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่ดูเหมือนจะพ่ายแล้ว ยังสำแดงด้วยการประกาศต่อรองขอเก้าอี้รัฐมนตรีเพิ่ม โดยเฉพาะเก้าอี้ รมว.คมนาคม ที่จะให้ญาติอย่าง ทรงศักดิ์ ทองศรี ก้าวขึ้นสู่เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกรดเอ

แต่ที่สุดแล้ว เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ
กลุ่มเพื่อนเนวิน อาจจะฝันสลาย และหลังการยุบพรรค ก็คงต้องถึงคราวแยกทางบ๊ายบาย ปิดตำนานหมอฝีเขมร แห่งตึกไอเอฟซีที ณ บัดนั้น

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

โมเดลการเมืองใหม่ สภาประชาภิวัฒน์ (2)


การปล้นชาติ ของนักการเมืองในคราบ “ผู้แทน” และ “นายทุนนายเงิน” เหล่านี้ นานเข้าเกิดระบาดไปที่ระบบราชการ ธนาคาร การศึกษา เกิดระบบทุนสามานย์ผูกขาด ลามไปถึงการแทรกแซงสื่อ บิดเบือนข่าวสาร เพื่อหลอกลวงประชาชน จนกลายเป็นหายนะของประเทศ
ตลอดเวลาที่ผ่านมา จึงพิสูจน์แล้วว่าระบอบทุนสามานย์ในคราบประชาธิปไตยเลือกตั้ง ได้ทำลายประเทศไทยในทุก ๆ ด้านทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม สร้างความขัดแย้งในสังคมด้วยการส่งเสริมค่านิยมทางวัตถุ
เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องแก้ไขวิกฤติเหล่านี้อย่างเร่งด่วน และโดยเร็วที่สุด คือ การตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งจะต้องกำหนดนโยบายให้รอบคอบรัดกุม พร้อมกับการตั้ง “สภาประชาภิวัฒน์” ควบคู่กันไป โดยที่ไม่ไปแตะต้องระบบรัฐสภาเดิม (สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา)
รัฐบาลแห่งชาติ
วิกฤติคณะรัฐมนตรี ที่สืบเนื่องมาจากศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยว่า คณะรัฐมนตรีที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ (สมัคร สุนทรเวช) ได้ทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสอง ด้วยการยินยอมให้นภดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ในขณะนั้น) ไปลงนามข้อตกลงร่วมเพื่อให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และลามมาถึงปัญหาการสูญเสียดินแดน ตามที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุนเซน ออกมาประท้วงประเทศไทย และขู่ว่าจะฟ้องไปที่ศาลโลกด้วย
มติคณะรัฐมนตรีครั้งนั้น มีผลทำให้ไทยเราต้องสูญเสียดินแดน อันเป็นการทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119 มาตรา 120 ซึ่งมีโทษประหารชีวิต แต่วันนี้ หนึ่งในคณะรัฐมนตรีชุดนั้น (สมชาย วงศ์สวัสดิ์) ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี
ขณะที่คณะรัฐมนตรี มีการยืนยัน (18 ก.ย.) ว่าจะเป็นคณะรัฐมนตรีชุดเดิมเกือบทั้งหมด
นั่นแสดงว่า เป็นการท้าทายศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดจริยธรรม และไร้ซึ่งคุณธรรม ของบรรดานักการเมืองเหล่านี้
นอกจากการทำผิดรัฐธรรมนูญกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว พรรคร่วมรัฐบาล ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการเพื่อส่งฟ้องพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรคคือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ให้ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรค เพราะกรรมการบริหารพรรคไปทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรคสอง (ได้ใบแดง)
เมื่อตัวบุคคลที่มาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำผิดรัฐธรรมนูญ และเรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และพรรคแกนนำรัฐบาล อยู่ระหว่างการพิจารณายุบพรรค จึงมองไม่เห็นหนทางที่จะทำให้การเมืองไทยดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง กลายเป็นวิกฤติความชื่อมั่นทั้งจากภายใน และนอกประเทศ
การตั้งรัฐบาล แห่งชาติจึงเป็นเหมือนทางรอดที่จะนำพาประเทศออกไปจากหล่มโคลนแห่งวิกฤตินี้
รัฐบาลแห่งชาติ คือการเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาบริหารประเทศ โดยที่ยังคงยึดตามรัฐธรรมนูญ ที่นายกรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้ง ส่วนคณะรัฐมนตรีเปิดโอกาสนำ “คนนอก” มาทำหน้าที่ โดยไม่จำเป็นต้องยึดตามระบบโควตา คนที่สมควรเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ต้องไม่มีความผิดที่ด่างพร้อย ไม่เป็นตัวแทนนายทุนนักการเมืองขายชาติ
รัฐบาลแห่งชาติ จะกำหนดนโยบายระยะสั้นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประเทศ ภายใต้เงื่อนไขจะต้องไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือตัวเองหรือพวกพ้องให้พ้นความผิด และต้องจัดตั้ง “สภาประชาภิวัฒน์” ให้ประชาชน มีส่วนร่วมในทางการเมือง ให้มีการรับรู้และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ก่อนที่จะเป็นปัญหาใหญ่ จนบานปลายเสียหายอย่างกว้างขวาง เช่นเป็นอยู่ในทุกวันนี้

เปิดเอกสารวุฒิฯยื่นศาลรธน.ตีความงบ2550

วุฒิสภา
ถนนอู่ทอง กรุงเทพฯ

๑๙ กันยายน ๒๕๕๑
เรื่อง ขอให้ส่งเรื่องศาลรัฐธรรมนูญเพื่อชี้ขาดว่าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๘

กราบเรียน ประธานวุฒิสภา สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. คำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อม. ๑/๒๕๕๑ ๒. หนังสือของสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๑๑/๑๗๓๑๔ ๓. สรุปเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๖๗ ๔. ข่าวหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๒


ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้ที่ได้ลงลายมือชื่อท้ายหนังสือนี้ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา มีความเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่วุฒิสภาจะทำการพิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ขัดต่อบทบัญญัติและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังจะกราบเรียนต่อไปนี้คือ

๑. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในวาระที่ ๒ ขัดมาตรา ๑๖๘ วรรค ๕ และวรรค ๖ กล่าวคือว่า มีการตัดลดงบประมาณ ๔๕,๐๐๙,๕๘๕,๗๐๐ บาท แต่มีการตั้งงบประมาณเพิ่มกลับมาเท่าจำนวน ๔๕,๐๐๙,๕๘๕,๗๐๐ บาท โดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพราะคณะรัฐมนตรีซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ดังนั้นจึงต้องห้ามในการแปรญัตติหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผล หรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายตามมาตรา ๑๖๘ วรรค ๖ แต่คณะรัฐมนตรีซึ่งมีฐานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยกลับมีมติให้เพิ่มงบประมาณเท่ากับส่วนที่ถูกปรับลดกลับเข้ามาอีก ทั้ง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้ และหรืออนุมัติงบประมาณ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๑๖๘ วรรค ๖

๒.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คือ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ถูกคตส. (คณะ กรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ยื่นฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีหมายเลขดำที่ อม. ๑/๒๕๕๑ ข้อหาทุจริตประพฤติมิชอบคดีการออกสลากเลขท้าย ๒ ตัว ๓ ตัว (คดีหวยบนดิน) ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้แล้ว (ปรากฏตามสำเนาคำฟ้องท้ายคำร้องนี้) กรณีนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๒ ประกอบมาตรา ๒๗๕ บัญญัติว่าต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่บุคคลดังกล่าวยังคงปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะการทำหน้าที่ในการเป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ฉบับนี้ ซึ่งไม่อาจทำได้การประชุมและการพิจารณาของคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระบวนการตราจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ

๓. เนื่องด้วยมาตรา ๑๖๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้การนำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ต้องมีเอกสารประกอบซึ่งรวมถึงประมาณการรายรับและวัตถุประสงค์ กิจกรรม แผนงานโครงการในแต่ละรายการของการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน รวมทั้งต้องแสดงฐานะการเงินการคลังของประเทศเกี่ยวกับภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดจากการจ่ายและการจัดหารายได้ แต่ปรากฏว่าในการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ไม่มีเอกสารประกอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖๗ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับเพิ่มงบประมาณจำนวน ๔๕,๐๐๙,๕๘๕,๗๐๐ บาท ซึ่งในส่วนนี้จำนวนหนึ่งเป็นการปรับเพิ่มงบประมาณให้แก่กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม จำนวน ๖,๗๐๐ ล้านบาท แต่ไม่มีรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ ในแต่ละรายการของการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน ปรากฏตามหนังสือตอบของสำนักงบประมาณที่ นร. ๐๗๑๑/๑๗๓๑๔ ลวท. ๑๖ กันยายน ๒๕๕๑ หน้าที่ ๒ ข้อที่ ๓ ท้ายคำร้องนี้เป็นต้น ดังนั้นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในส่วนที่มีการแปรญัตติปรับเพิ่มไม่มีข้อความและรายละเอียดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๗ จึงขัดต่อรัฐูธรรมนูญ

๔. นอกจากนี้ตามมาตรา ๑๖๗ วรรค ๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีว่า งบประมาณรายจ่ายงบกลางจะจัดทำขึ้นได้ต้องเป็นกรณีที่รายจ่ายนั้นไม่สามารถจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วย งานอื่นใดของรัฐได้โดยตรง จึงจะจัดไว้ในรายการรายจ่ายงบกลางได้ แต่โดยต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นด้วย แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้มีการจัดทำรายจ่ายงบกลางไว้ในมาตรา ๔ ของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นจำนวนเงินถึง ๒๔๙,๕๖๕,๗๒๕,๕๐๐ บาท (สองแสนสี่หมื่นเก้าพันห้าร้อยหกสิบห้าล้านเจ็ดแสนสองหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) ทั้ง ๆ ที่งบประมาณดังกล่าวหลายรายการสามารถจัดสรรให้แก่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐได้โดยตรง แต่กลับมาจัดไว้เป็นรายจ่ายงบกลางโดยไม่แสดงเหตุผลและความจำเป็น จึงขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖๗ วรรค ๒ ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

๕. นอกจากนี้นโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ วัตถุประสงค์ของกิจกรรม แผนงาน และโครงการต่าง ๆ ที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ปรากฏแผนงาน และโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามมาตรา ๗๕ และ ๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งแสดงมาตรการและรายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบ ประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ดังนั้นโดยสรุปการแปรญัตติตั้งงบประมาณเพิ่มจำนวน ๔๕,๐๐๙,๕๘๕,๗๐๐ บาท จึงดำเนินการในขั้นตอนพิจารณาอนุมัติโดยไม่มีเอกสารประกอบประมาณการรายรับ และวัตถุประสงค์ กิจกรรม แผนงาน โครงการในแต่ละรายการของการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๗ และคณะรัฐมนตรีและกรรมาธิการซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วย ได้เร่งรัดพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมโดยคำนึงถึงเฉพาะให้ได้มาซึ่งวงเงินงบประมาณเท่านั้น เพื่อที่จะนำมาจัดสรรให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีส่วนในทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย ดังที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับเป็นที่ทราบกันทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าการแปรญัตติเพิ่มเติมงบประมาณมิได้จัดทำให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๓ วรรค ๒

อาศัยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖๘ วรรค ๗ ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงขอให้ ท่านประธานวุฒิสภาส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าการแปรญัตติเพิ่มเติมงบประ มาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้สิ้นผลไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และโปรดดำเนินการต่อไป

ลงชื่อ...............................
( )

โมเดลการเมืองใหม่ สภาประชาภิวัฒน์


(1)

การเมืองใหม่ ที่ดูเหมือนจะเป็น “แฟชั่นวิชาการ” เพราะบรรดานักวิชาการต่างพากันกระโดดขึ้นรถไฟขบวนนี้กันเป็นทิวแถว
การเมืองใหม่ ที่เริ่มเห็นข้อเปรียบเทียบความแตกต่างหลังจากที่เราใช้รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา
กว่า 76 ปีที่การเปลี่ยนผ่านการปกครองมาสู่รูปแบบปัจจุบัน
ประชาธิปไตยระบบตัวแทน เป็นรูปแบบการปกครองที่เรานำต้นแบบมาจากชาติตะวันตก
แต่ประชาธิปไตยแบบตัวแทนของไทย เราได้ “ผู้แทน” ที่ขาดจิตสำนึกสาธารณะ ในยุคแรก ๆ เราได้ผู้แทน “หมาหลง” ได้ผู้แทน “ข้าวนอกนา” คือ หิ้วกระเป๋า (เงิน) ไปลงเลือกตั้งในพื้นที่ไกลปืนเที่ยง เริ่มเข้าสู่การเมืองด้วยการใช้ “เงิน” เพราะฉะนั้น จึงต้อง “ถอนทุน” จากการขายโหวตในสภา และการหากินกับงบส.ส.สร้างถนนหนทาง สร้างศาลารอรถโดยสารประจำทาง (งบพัฒนาจังหวัด)
ต่อมา ในยุคที่นายทุน เริ่มที่จะก้าวเข้ามาเป็นผู้เล่นเอง เริ่มคัดตัวแทน (นอมินี) เพื่อส่งลงเลือกตั้งเป็น “ผู้แทน” ทำให้ “ผู้แทน” ลดเกรดตัวเองลง จากการลงทุนเอง มาเป็นลูกจ้างนายทุนนายเงิน เพราะต้อง “ขายตัว” ด้วยการเพิ่มมูลค่าของตนเองจากความเป็นอดีตส.ส. และบวกด้วยความเป็นไปได้ในการจะได้รับเลือกตั้ง เพื่อแลกเงิน 20-50 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้ง
บรรดาผู้แทนเหล่านี้ ชอบที่จะเป็นแบบนี้เพราะไม่ต้องลงทุนความเสี่ยงด้วยเงินของตัวเอง แต่จะมีนายเงินนายทุนมาเป็นผู้ลงทุนความเสี่ยงด้วยตัวเอง
แม้รูปแบบการลงทุนเพื่อเป็น “ผู้แทน” จะแตกต่างออกไปจากยุคแรก ๆ แต่การถอนทุนของ “ผู้แทน” ยังคงเหมือนเดิม แต่การ “ถอนทุน” ของผู้ที่เป็นนายทุนนายเงิน ถอนทุนจาก “งบประมาณประเทศ” ซึ่งมีมูลค่าปีละหลายแสนล้านบาท
ความเหลวแหลกเหล่านี้ทำให้เกิดการโกงกินกันมากมายมหาศาล
ระบบตัวแทนที่เลือกกันเข้ามาเพื่อเป็นข้าทาสรับใช้นายทุนนายเงิน

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

สุขเพียงชั่วข้ามคืน?


ใบหน้าที่เปื้อนยิ้มของ ครอบครัว "วงศ์สวัสดิ์" ณ วินาทีนี้คงจะหาใครเทียบเปรียบได้ เมื่อ "เสาหลัก" ของครอบครัวได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 26 ของประเทศไทยแข่งอะไรก็แข่งได้ แต่อย่าแข่งบุญแข่งวาสนาไล่เรียงลำดับนายกรัฐมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" ย่อมมีคนกล่าวถึงว่าเป็นนักการเมืองเพียง 7 เดือนก็ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช เล่นการเมืองตั้งแต่วัยหนุ่ม อายุ 73 ปี จึงได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองชวน หลีกภัย ก็เช่นกันตั้งแต่หนุ่มจนแก่กว่าจะถึงดวงดาวทักษิณ ชินวัตร ลงทุนลงแรงตั้งพรรคการเมืองกว่า 2 ปีและต้องลงแข่งขันสู้ศึกเลือกตั้งกว่าจะก้าวมาเป็นนายกฯ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ บรรหาร ศิลปอาชา ล้วนแต่ใช้ชีวิตในถนนการเมืองหลายปีกว่าจะมีวันที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย
ผู้คนทุกคนล้วนมีที่มาสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็เช่นกันการเริ่มต้นที่ชีวิตราชการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา และจบชีวิตราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงาน (ลาออกจากราชการเพราะมีการทำรัฐประหาร 19 ก.ย.2549) ระหว่างที่เป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรมสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องจำชื่อบุคคลผู้นี้ได้"ชำนาญ ระวิวรรณพงษ์"และต้องจดจำชื่อ "มานิตย์ สุธาพร"อดีตรองปลัดกระทรวงยุติรรมได้ชำนาญ ระวิวรรณพงษ์ เป็นผู้พิพากษาที่ตรงยิ่งกว่าไม้บรรทัด เมื่อเห็นอะไรไม่ชอบมาพากลก็เลือกการปกป้อง "องค์กร" แทนที่จะเลือก "พวกพ้อง"ผลการทำหน้าที่ตรงไปตรงมา "ชำนาญ" โดนตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิชอบ ทำให้ต้อง "แป๊ก" อยู่หลายปี จนเพื่อนผู้พิพากษาแซงหน้าไปหมดแต่สวรรค์มีตามีตาที่ต่อมา "มานิตย์" โดนให้ออกจากราชการ"ชำนาญ" จึงเรียกหาความเป็นธรรมให้กับตัวเองด้วยการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตรวจสอบคำสั่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิชอบซึ่งเท่ากับปลัดกระทรวงยุติธรรม คนนั้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ประมวลกฎหมายอาญา ม.157)ตามกฎหมายป.ป.ช. นั้น หากป.ป.ช.ชี้มูล ข้าราชการผู้นั้นต้องพักการปฏิบัติหน้าที่ หากผู้นั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ต้องพักการปฏิบัติหน้าที่ ทันทีที่ป.ป.ช.ชี้มูล
นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นของวิบากกรรม นายกรัฐมนตรี คนใหม่ดังนั้น จึงมีคนใกล้ชิดพยายามหา "คนกลาง" มาเจรจาให้ "ชำนาญ" ถอนคำร้องแค่อย่างที่ทราบ "ชำนาญ" นั้นตรงยิ่งกว่าไม้บรรทัด
คอยติดตามจุดจบของเรื่องนี้ ที่นี่ เร็วๆ นี้