วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552

การใช้อำนาจไม่สมประกอบ กับแนวคิด"ไทยแลนด์มาร์แซล"

หมวดข่าว : สัมภาษณ์พิเศษ
โดย : กองบรรณาธิการ TheCityJournal

ธนบูลย์ จิรานุวัฒน์ นิติศาสตร์มหาบัญฑิต Newyork University (กฎหมายภาษีอากรสหรัฐ และกฎหมายระหว่างประเทศ) อาจารย์ประจำคณะนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

หลายประเทศพยายามหาวิธีการลดปัญหาด้วยการแยกงานปกครองส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ออกมาปรับปรุง พัฒนาขึ้นเป็นองค์การสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย อาทิเช่นสหรัฐอเมริกา ได้แยกงานปกครองของแขวง และเมือง ภายใต้การบริหารของ SHERIFF และ MARSHAL มาพัฒนาเป็น U.S.MARSHALS คอยสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการ ศาล และพนักงานฝ่ายปกครอง ให้มีหน้าที่สนับสนุนงานสืบสวนจับกุมผู้ต้องหาและนักโทษตามหมายจับหรือคำสั่งศาล งานเคลื่อนย้ายผู้ต้องหา หรือนักโทษ งานสืบสวนจับกุมบุคคลต่างด้าว งานตรวจตราป้องกันและจับกุมผู้กระทำความผิดเรื่องเพศ งานคุ้มครองพยานหลักฐาน และการควบคุมฝูงชน
ประเทศไทย เองก็ต้องการมีหน่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม และการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยในระยะเริ่มแรกซึ่งเป็นช่วงเวลาการทดลองงาน สมควรที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จะใช้อำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 ฉ ออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จัดตั้งสำนักงานสนับสนุนการบังใช้กฎหมาย หรือ (สบก.) หรือ LAW ENFORCEMENT SUPPORT OFFICE (L E S O) ขึ้นในสำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม หรือ "ไทยแลนด์มาร์แซล"
ทั้งนี้ ธนบูลย์ จิรานุวัฒน์ ในฐานะอดีตพนักงานอัยการ และเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศ ได้ชี้ให้เห็นความเป็นมาของ "ยูเอสมาร์แซล" เริ่มจาก "มาร์แซล" (เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมาย) ทำหน้าที่ไล่ตามจับคนร้ายสำคัญของแต่ละมลรัฐ โดยเฉพาะในรัฐทางใต้ของสหรัฐบางรัฐ คนร้ายทำผิดอาญารุนแรงเขาต้องการขจัดคนร้ายประเภทนี้จึงต้องตั้งเจ้าหน้าที่มารักษากฎหมาย ไล่ตามจับคนร้าย อย่าง เจสซี่ เจมส์ หรือ บอดี้ แอนด์ไคลส์
แต่เนื่องจาก "คน" นั้นสามารถเคลื่อนไหวได้ เพราะมีม้า มีรถยนต์ ทำให้สามารถข้ามรัฐ ด้วยการก่อเหตุที่รัฐหนึ่ง หนี่ไปอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งก็มีเจ้าหน้าที่บังคับกฎหมาย เหมือนกัน ซึ่งจะไม่รู้ว่าใครเป็นคนร้ายสำคัญเพราะไม่ได้ก่อเหตุในรัฐของตนเองรับผิดชอบ อาทิเช่น ซันแดนส์ คิด บิลลี่ เดอะคิด ที่ก่อเหตุในมิสซีสซิบปี้ (ยาซู Yazoo ชื่อของอินเดียนแดง) แล้วหนี้ไปอีกรัฐ ทำให้มีการติดตามจับกุม เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่บังคับกฎหมายด้วยกัน เพราะเจ้าหน้าที่ไม่รู้จักกัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลกลางสหรัฐ จึงต้องออกกฎหมายมารองรับการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นประโยชน์
ขณะที่ประเทศไทยเรา เป็นรัฐเดี่ยว ไม่มีความซ้ำซ้อนในด้านของกฎหมาย จึงอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่บังคับกฎหมาย เพราะฉะนั้น ขอให้ผู้ที่คิดจะตั้งหน่วยงานที่มีลักษณะงานคล้ายๆ ยูเอสมาร์แซล ไปดูว่าสมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ที่ให้ตั้งกองปราบ ขึ้นมานั้น พล.ต.อ.เผ่า ต้องการให้ กองปราบปราม เป็นหน่วยงานกึ่งเอฟบีไอ กึ่งยูเอสมาร์แซล อยู่แล้ว
ดังนั้น เพื่อไม่เป็นงานซ้ำซ้อนของหน่วยงาน วิธีการที่ดีที่สุดคือ เมื่อมีกองบังคับการตำจวขกองปราบ มีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แล้ว ทำไมไม่รับคนที่เขาจบปริญญาตรี โดยไม่มีเรื่องสถาบันที่เรียนมาเป็นตัวตั้ง คือต้องจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วหล่อหลอมคนเหล่านี้ให้มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเลือกคนเข้ารับราชการให้ยึดตามความรู้ ความสามารถ ไม่มีเด็กฝาก ไม่มีเด็กเส้น
ขณะที่ในด้านเนื้อหาภารกิจของยูเอสมาร์แซล ซึ่งสังกัดกระทรวงยุติธรรม สหรัฐอเมริกา นั้น จะรักษาความปลอดภัยประธานาธิบดี รัฐมนตรี และมีอำนาจสืบสวนเรื่องราวที่จะเป็นภัยต่อร่างกาย หรือชีวิตของประธานนาธิบดี หรือรัฐมนตรี เรียกว่าหน่วย S S หรือ Secret Service แต่ไม่มีอำนาจจับกุม เพราะเป็นของอัยการ การที่ไทยกำลังจะให้เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมาย (ไทยแลนด์มาร์แซล) ไปอารักขาผู้พิพากษา รักษษอาคารสถานที่ เท่ากับลดชั้นพวกนี้ไปเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือเป็นยาม
ส่วนอำนาจ "การคุ้มครองพยาน" ใช่ ในสหรัฐฯ ต้องเข้าโปรแกรมเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด คือ เป็นคดีสำคัญอยู่ในความระทึกขวัญของประชาชน อย่างเช่น คดีค้าเฮโรอีนข้ามชาติ ซึ่งปัจจุบันก็เป็นหน้าที่ของกองปราบปราม
ด้านคดีคดีที่มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายกรเทพ วิริยะ หรือชิปปิ้งหมู เสียชีวิตบริเวณถนนทางเข้าหมู่บ้านแสนใจ ต.ศรีคำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย นั้น กรณีชิปปิ้งหมู ไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมายการคุ้มครองพยานของอเมริกัน เพราะเป็นคดี "อิทธิพลท้องถิ่น" ต้องไปจัดการกับกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น
เพราะฉะนั้น ก่อนที่นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จะตัดสินใจเรื่องหน่วยงานใหม่ ที่เลียนแบบ "ยูเอสมาร์แซล" จะต้องพิจารณาก่อนว่า สหรัฐฯ เขาตั้งยูเอสมาร์แซล เพราะกฎหมายของแต่ละมลรัฐไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละมลรัฐประกาศใช้ข้อกฎหมายของเขาเอง ข้อกฎหมายบางอันเหมือนกัน บางอันไม่เหมือนกัน เขาจำเป็นต้องขจัดความขัดแย้ง เพราะมันหลากหลาย ขณะที่บ้านเรามีเจ้าหน้าที่อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถบังคับให้เดินงานที่เป็นนโยบายของรัฐบาลได้ เพราะมีที่มาจากสถานที่เดียวกันคือโรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการนับรุ่นนับเหล่า เมื่อข้าราชการที่บ่มเพาะมาจากสถานที่เดียวกัน การรับคนจบกฎหมาย มาเป็นตำรวจ แต่คนที่ครอบบนหัวคือตำรวจที่มาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจเท่านั้น จึงพูดกันไม่รู้เรื่องตั้งแต่ต้น
เมื่อทราบปัญหาอย่างนี้แล้ว แทนที่จะตั้งหน่วยงานใหม่ซ้อนขึ้นมา ก็จะต้องไม่สร้างงานที่ซ้ำซ้อน (Try a triple oak tree)
นอกจากนี้ต้องยอมรับความจริงว่า ไม่ต่ำกว่า 50 ปีที่เราไม่เคยเลื่อนตำแหน่งคนตามความสามาารถ มีแต่เด็กฝาก ซึ่งระบบนี้ต้องเลิก แล้วคัดคนตามความสามาถ ฝากไม่ได้ และไม่ควรมีคณะกรรมการมาเลือกสรรเพราะกรรมการจะมาสร้างอิทธิพล เป็นอุปสรรคสำหรับรัฐมนตรีที่จะมาบริหารองค์กร
ดังนั้น แทนที่จะตั้งหน่วยงานใหม่ ตัวรัฐมนตรียุติธรรม ต้องทำ 2 เรื่อง คือ ขจัดคดีอิทธิพลท้องถิ่นให้ได้ และขจัดอิทธิพลในหน่วยราชการให้ได้ ถ้าทำ 2 เรื่องนี้สำเร็จ ไม่ต้องตั้งหน่วยงานใหม่คล้าย ยูเอสมาร์แซล และถ้าตั้งขึ้นมาใหม่เท่ากับเราสู้ 2 อิทธิพลนี้ไม่ได้ จึงต้องตั้งหน่วยใหม่มาสู้อิทธิพลท้องถิ่น และอิทธิพลในส่วนราชการ แสดงให้เห็นว่าสั่งการตำรวจไม่ได้ใช่หรือไม่ และหากการแก้ปัญหาการสั่งการไม่ได้ด้วยการตั้งหน่วยงานใหม่ๆ ข้าราชการประจำโดนนักการเมืองทำแบบนี้บ่อยๆ เขาจะรู้สึกต่อต้านนักการเมือง