วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ถอดระหัส 64 ส.ว.แก้รัฐธรรมนูญ เลื่อยเก้าอี้ประธานวุฒิฯ


การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่นอกจากทำให้ประชาชนคนไทย สภาผู้แทนราษฎร แตกออกเป็น "เสี่ยงๆ" แล้วยังรวมถึงวุฒิสภา ด้วย ทั้งนี้เพราะมีหลาย "ปม" ที่เกี่ยวโยงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันจะนำมาสู่การตั้ง ส.ส.ร.3 ตามความต้องการของรัฐบาล
ทั้งนี้ ในส่วนของวุฒิสภา เป็นที่ชัดเจนว่า นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา มิได้เห็นด้วยกับแนวทางนี้ แต่ นายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทรา ในฐานะรองประธานวุฒิสภา กลับเป็นผู้กำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และเป็นเจ้าของโมเดล ส.ส.ร. 120 คน ซึ่งเรื่องนี้มาที่มาที่ไปควรแก่การ "ถอดระหัส" อย่างยิ่ง
นายนิคม นั้น ทราบกันดีว่าเป็นน้าของ นายสุชาติ ตันเจริญ อดีตส.ส.กลุ่ม 16 อันโด่งดัง ซึ่งมีทั้งนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายเนวิน ชิดชอบ นายสรอรรถ กลิ่นปทุม ว่าที่ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นต้น
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผลพลอยได้หลังจากรัฐบาลปฏิบัติการล้อมปราบฆ่าประชาชน ที่หน้ารัฐสภา โดยใช้ตำรวจจาก 2 หน่วย คืออรินทราช และตำรวจตชด. โดยมีคนคุม "คิว" 2 ทีม แต่เป้าหมายเดียวกันคือยิงประชาชน ที่ชมนุมบริเวณด้านหน้าและด้านข้างรัฐสภา (เป็นข้อมูลลับที่รอการเปิดเผยเพราะรู้ตัวคนสังการแล้ว) และข้อมูลที่ตรงกันคือ 4-5 วันก่อนยิงประชาชน ที่หน้ารัฐสภา มีการเบิกแก๊สน้ำตาอย่างต่อเนื่องทุกวัน
นี่คือการเดินหมากในด้านสายเหยี่ยว คือ "ฝ่ายบู้"เพื่อเปิดทางเข้าสภาให้รัฐบาลแถลงนโยบายเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ขณะที่ "ฝ่ายบุ๋น" เมื่อรัฐบาลเสร็จจากการแถลงนโยบาย ก็ใช้การเดินเกม "ซื้อเวลา" ต่ออายุรัฐบาล ผ่านทาง นายนิคม โดยพิมพ์เขียวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นั้น เป็นฉบับเดียวกันกับฝ่ายส.ส. แต่ก็อบปี้ออกเป็น 2 ชุด คือชุดหนึ่งส่งผ่านไปทางด้าน ส.ส. อีกชุดหนึ่งมี นายนิคม เป็นผู้ถือเอาไว้ เพราะฉะนั้น ในวันประชุมที่รัฐบาลพยายามเรียกว่าเป็นการประชุม 4 ฝ่าย โดยที่ไม่มี ผู้นำฝ่ายค้าน และประธานวุฒิสภา เกมจึงเข้าทางรัฐบาล ด้วยเสียงกระซิบจาก นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ นายนิคม เข้าร่วมประชุม และที่ประชุมวันนั้นเห็นขอบโมเดล ส.ส.ร. 3 ที่นายนิคม เสนอ ซึ่งภาพจะออกมา "สวยกว่า" ว่า ส.ส.ร.3 มาจากวุฒิสภา
เพราะฉะนั้น การประชุมวุฒิสภา เมื่อวันศูกร์ที่ผ่านมา (24 ตุลาคม) นายนิคม จึงยืนยันว่า นายประสพสุข เป็นผู้มอบหมายให้ไปร่วมประชุมกับนายชัย ชิดชอบ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และผู้แทนพรรคร่วมรัฐบาล โดยมีหนังสือมอบหายเป็นลายลักษณ์อักษร ขณะที่นายประสพสุข "ย้ำหัวตะปู" ว่า ส.ส.ร. 3 ไม่ใช่ทางออก
เมื่อเปิดเกมแลกกันเช่นนี้ หลังการประชุมวฒิสภา ที่ปิดประชุมแบบกระท่อนกระแท่น นั้น ได้มีการเปิดแถลงข่าวตอบโต้กัน ของส.ว. 2 กลุ่ม โดยฝ่ายหนึ่งเรียกตัวเองว่า "กลุ่ม 24 ตุลา 51" พร้อมอ้างว่ามี 64 ส.ว. อยู่ในมือ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งเรียกชื่อตัวเอง ว่า "กลุ่ม 40 ส.ว."
ทั้งนี้ หากจะโฟกัสกลุ่ม 64 ส.ว.ก็สามารถแยกได้เป็นกลุ่มใหญ่ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ส.ว.อีสาน
มี นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์ และนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ โดยคน ๆ นี้น้องเป็นส.ส.พลังประชาชน นอกจากนี้ยังมี ยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร เป็นแกนนำ โดยส.ว.อีสานเกือบทั้งหมดซึ่งต้องพึ่งฐานคะแนนเสียงจากพรรคการเมือง คือพลังประชาชน ยกเว้น นครราชสีมา ที่ต้องใช้ฐานเสียงของ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
กลุ่มที่ 2 ส.ว.ภาคกลาง
มี นายประสิทธิ์ โพธสุธน พี่ชาย ประภัทร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทย รวมกับซีกของ นายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม ซึ่งก็คือน้าชายของ "ไชยศ ไชยา สะสมทรัพย์" เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัททรัพย์ฮกเฮง เป็นบริษัทที่ "เมียไชยา สะสมทรัพย์" ถือหุ้น จนทำให้ตัวนายไชยา ต้องกระเด็นตกเก้าอี้รมช.พาณิชย์ มาแล้ว
กลุ่มที่ 3 กลุ่มนางนฤมล ศิริวัฒน์
นางนฤมล นั้นเป็น ส.ว.อุตรดิตถ์ เป็นเมียของ นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ อดีตเลขาธิการพรรคราษฎร แล้วต่อมายุบรวมกับพรรคประชากรไทย ที่มีสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค และมี "กลุ่มปากน้ำ" อยู่ในพรรคประชากรไทยด้วย
ในกลุ่มนี้ยังมีซีกของ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี ซึ่งเป็นน้องชายแท้ๆ ส.ส.กอบกุล นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี ที่โดนยิงเสียชีวิตไป โดยส.ส.กอบกุล คือลูกพี่ลูกน้องของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ โดยที่เกี่ยวดองกับตระกูลศิริวัฒน์ เมื่อน้องสาวของนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ก็ไปแต่งงานกับ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ น้องชายแท้ ๆ ของนายสุวัจน์
กลุ่มที่ 4 กลุ่มนายดิเรก ถึงฝั่ง
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด มีฐานเสียงสำคัญจาก นายอุดมเดช รัตนเสถียร คนๆ นี้เป็นใครต้องถาม นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จะทราบดี นอกจากนี้ก็ยังได้ฐานเสียงของ ส.ส.คนดัง คือ พ.อ.อภิวัน วิริยะชัย พรรคพลังประชาชน ซึ่งขณะนี้นั่งในตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
กลุ่มที่ 5 ส.ว.สายเหนือ
กลุ่มนี้ มีนายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ เป็นแกนนำ โดยส.ว.ภาคเหนือตอนบนยกเว้น นางจิราวรรณ จงสุทธนามณี วัฒนศิริธร ส.ว.เชียงราย เท่านั้นทีไม่ได้อยู่ "กลุ่มเจ๊" คนดังของภาคเหนือ ซึ่งแนบแน่นกับกลุ่มนายยงยุทธ ติยะไพรัช และขณะนี้กลุ่มส.ว.เชียงราย ได้ย้ายกลุ่มทั้งหมดมาสังกัดพรรคชาติไทย ของนายบรรหาร ศิลปอาชา เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา
กลุ่มที่ 6 ส.ว.ภาคตะวันออก
กลุ่มนี้มีฐานคะแนนเสียงมาจากพรรคประชาราช ของ นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช โดยเฉพาะ นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี นั้นเดิมเป็นอดีตนายกอบจ.ปราจีนบุรี ด้วย
กลุ่มที่ 7 ส.ว.สรรหา
กลุ่มนี้บางส่วนมีทหารคนดังเป็นแกนนำ อีกส่วนหนึ่งลงชื่อเพราะไม่รู้เรื่อง เนื่องจากมีส.ว.คนหนึ่ง "เดินเกม" ด้วยการอ้างว่ากลุ่ม "เป็นกลาง" ทำให้มีส.ว.สรรหา 34 คนหลงเชื่อเพราะต้องแสดงความเป็นกลางจริง ๆ แต่กลับมีชื่อไปเติมอยู่ในกลุ่ม 64 ส.ว. ดังนั้น รายชื่อ 64 ส.ว.จะมีคนถือรายชื่ออยู่ 2 ชุด คือชุดหนึ่งชัดเจนว่าจะสนับสนุนแนวทางแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ขณะที่ อีก 34 ชื่อ ส่วนใหญ่เป็นส.ว.สรรหา ซึ่งไม่รู้เรื่องนี้ แต่แกนนำส.ว.หญิง ประกาศจะทำความเข้าใจเป็นการส่วนตัวภายหลัง
ทั้งหมดนี้มีทหารคนดังเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะนี่คือการเช็คชื่อเพื่อเปลี่ยนตัวประธานวุฒิสถา โดยมีเงิน 2 หมื่นล้านบาท เป็นเดิมพัน ซึ่งหากจะทำให้เงินก้อนนี้เคลื่อนได้ต้องมีประธานสภาผู้แทน และประธานวุฒิสภา เห็นตรงกัน
บัดนี้อะไรก็ทำได้เมื่อเงินมันตำตาอยู่ใกล้แค่เอื้อมนี้แล้ว
เปลี่ยนตัวประธานวุฒิสภาได้เมื่อไหร่แบ่งเค๊กกันมันปาก