วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551

"อนุพงษ์"ความผิดร่วมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์









ลับ วงในแจ้งว่าการประชุมกับผู้นำเหล่าทัพของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ไม่สามารถตัดสินใจใด ๆ ได้ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อต่อสายขอคำปรึกษากับ ทักษิณ ชินวัตร
จากนั้นการตัดสินใจ ใด ๆ ของ "สมชาย" จึงเป็นการตัดสินใจในนาม "ทักษิณ"
การตัดสินใจที่ "สมชาย" ย้ำชัดว่าจะไม่ยุบสภา ไม่ลาออก และจะพิจารณาความรับผิดชอบเรื่องนี้ตามความเหมาะสม
อะไรคือความเหมาะสม?
หรือ "สมชาย" กำลังรอความเหมาะสมในข้อหา "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" จากศาลอาญาระหว่างประเทศ
ซึ่งนอกจากคณะรัฐมนตรี จะเป็นจำเลยร่วมแล้ว
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก็เป็นหนึ่งที่จะต้องตกเป็นจำเลยร่วม เพราะทันทีที่ประกาศให้กองกำลังทหารสนับสนุนตำรวจในการรักษาสถานการณ์ให้การเข่นฆ่าประชาชน มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
พล.อ.อนุพงษ์ น่าจะได้ศึกษา กรณี Radovan Karadžić ที่ขณะนี้โดนจับขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือศาลไอซีซี (International Criminal Court) ฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) ชาวเซิร์ฟ
ที่ผ่านมาพล.อ.อนุพงษ์ นิ่งมาโดยตลอด
แม้แต่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร พล.อ.อนุพงษ์ ยังไม่สนองตอบในการนำกำลังออกมาล้อมปราบประชาชน ทำให้ผู้คนสดุดีในความเด็ดเดี่ยวว่า ผบ.ทบ.ผู้นี้ มีจิตใจเคียงข้างประชาชน ไม่รับใช้ทรราช
แต่ทันทีที่ยืนเคียงข้าง และประกาศสนับสนุนการล้อมปราบประชาชน ทำให้พล.อ.อนุพงษ์ ไม่อาจจะหนีความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือเป็นส่วนสนับสนุนให้ร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใดสูญหายไป
สงครามบอสเนีย ได้ก่อให้เกิดอาชญากรสงคราม คือ ราโดวาน คาราดิช Radovan Karadžić โดนจับกุม ขณะที่ผู้นำประเทศต่าง ๆ ร่วมแสดงยินดี
โรดาวาน คาราดิช หรืออุซามะห์ บินลาดิน แห่งยุโรป วัย 63 ปี ถูกจับ และนำตัวไปไต่สวนในศาลอาชญากรสงคราม ในกรุงเบลเกรด ตามกฎหมายความร่วมมือกับศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศของอดีตยูโกสลาเวีย หรือไอซีทีวาย
คาราดิก และรัตโก มลาดิก อดีตผู้บัญชาการทหารในสมัยนั้น หนีการดำเนินคดีของไอซีทีวายมา 13 ปี หลังจากถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรมในสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในบอสเนียในปี 1992-1995 โดยมลาดิก ยังคงลอยนวลอยู่
นอกจากนี้ ทั้งคู่ยังเผชิญข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จากการบงการให้สังหารหมู่ชายชาวมุสลิม 8,000 คน ในปี 1995 หลังจากกองกำลังของนายรัตโก มลาดิช เข้ายึดที่ปลอดภัยของยูเอ็นในเมืองซเรเบนิซาด้วย ถือเป็นเหตุการณ์ที่โหดร้ายที่สุดในยุโรปนับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
การจับกุมคาราดิก ได้ในครั้งนี้ได้รับการแสดงความยินดีในทันที จากทั้งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมถึงศาลอาชญากรสงครามของสหประชาชาติ เช่นเดียวกับญาติ ๆ ของเหยื่อที่ถูกสังหารหมู่ในซเรเบนิซา เมื่อปี 1995 ด้วย
องค์ประกอบ การกระทำของพล.อ.อนุพงษ์ ที่เข้าข่ายความผิดฐาน Genocide นั้นพิจารณาจาก
สถานะของพล.อ.อนุพงษ์ ไม่ต่างจาก Radovan Karadžić ที่ขณะสั่งฆ่าชาวเซิร์ฟ ในบอสเนีย ตอนนั้น Radovan Karadžić เป็นรองประธานาธิบดียูโกสลาเวียใหม่ และเป็นรองผบ.สส.มีอำนาจสั่งการกองทัพเป็นลำดับที่ 2 รองจาก ประธานาธิบดี Slobodan Milosevic หรือ Slobodan Milošević (สโลโบดาน มิโลเซวิค) ประธานาธิบดียูโกสลาเวีย ในขณะนั้น
ความผิดที่พล.อ.อนุพงษ์ ได้ร่วมสนับสนุนให้มีการก่อการฆ่าประชาชน และทำให้ประชาชนสูญเสียไปซึ่งส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ตลอดทั้งวันที่ 7 ตุลามหาวิปโยค จึงเป็นความผิดที่มิอาจรอดพ้นไปได้
แม้ว่า ประเทศไทยเรา ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการทำให้สูยหายไปของร่ายกาย แต่ไทยเรามีเสี้ยวหนึ่งของความผิดที่ปรากฎในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นความผิดที่ปรากฎตามสนธิสัญญากรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
คดีนี้ พนักงานสอบสวนคือ อัยการสูงสุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20
ขณะที่จะมีนักกฎหมายหัวโบราณ เถียงว่า ไทยเราไม่ได้ลงนามในสัตยาบันให้การรับรองสนธิสัญญากรุงโรม
ผู้ถกเถียงเช่นนั้น ช่วยอธิบายการจับกุม ชาร์ลส์ เทเลอร์ อดีตเผด็จการกระหายเลือดแห่งไลบีเรีย ซึ่งขณะนี้ควบคุมตัวอยู่ในศาล ไอซีซี
สนธิสัญญากรุงโรม กำหนดว่า ทันทีที่ชาติที่ 60 ลงนามให้สัตยาบัน (เอกวาดอร์) ให้มีผลกับชาติที่ลงนามรับรองสนธิสัญญานี้แม้ไม่ได้ให้สัตยาบันก็ตาม
ช่วยบอกทีเถอะ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เตรียมรับมือเอาไว้หรือยัง