โดยกองบรรณาธิการ TheCityjournal
หมายเหตุ : ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย กับคำตอบในเรื่องที่มาของการก่อตั้งพรรคพันธมิตร รวมถึงการสนับให้แบ่งแยกทางเดินของมวลชนที่ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคเทียนแห่งธรรม เท่านั้นจึงจะเรียกว่า "พันธมิตรแท้" และคำตอบ "น.ต.ประสงค์-พล.ต.มนูญกฤติ" กับการตั้งพรรคการเมืองใหม่
หมายเหตุ : ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย กับคำตอบในเรื่องที่มาของการก่อตั้งพรรคพันธมิตร รวมถึงการสนับให้แบ่งแยกทางเดินของมวลชนที่ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคเทียนแห่งธรรม เท่านั้นจึงจะเรียกว่า "พันธมิตรแท้" และคำตอบ "น.ต.ประสงค์-พล.ต.มนูญกฤติ" กับการตั้งพรรคการเมืองใหม่
หลังจากที่ผมกลับจากทัวร์อเมริกา ผมก็ขอเข้าพบคุณสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บ้านพระอาทิตย์ เพื่อนำเงินบริจาคจากพี่น้องพันธมิตรอเมริกา ไปมอบให้ ซึ่งคุณสนธิ ก็บอกกับผมว่า จะทำเอเอสทีวีอย่างเดียว ใครจะทำพรรคการเมือง เข้าสู่ระบบพรรคการเมือง เพื่อเป็นเครื่องมือเข้าสู่การเมืองใหม่ ก็ทำไป ส่วนคุณสนธิ ขอลอยตัว แต่ถ้าใครเจ็บตัวจากการเมืองก็ให้กลับมาที่เอเอสทีวี คุณสนธิ จะดูแล
ส่วนพรรคเทียนแห่งธรรม นั้น ผมทราบว่า มีการจดทะเบียนพรรคเทียนแห่งธรรม ไว้ก่อนแล้ว ก่อนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร โดยมีที่ตั้งพรรคอยู่ที่ จ.นครราชสีมา นี่จึงเป็นที่มาของการคุยกันกับวงอื่นๆ ซึ่งก่อตัวเรื่องพรรคการเมืองในการคุยหลายๆ ครั้ง หลายๆ วง ถึงมาสรุปว่าจะไม่ทำพรรค "อีลีดปาร์ตี้" แต่จะทำ "แมสปาร์ตี้" คือทำพรรคจาก "ล่าง" สู่ "บน" และก้าวหน้าถึงขั้นใช้ชื่อที่เหมาะสมคือ "พรรคประชาภิวัฒน์"
หลังจากนั้นผมทราบว่ามีการเปลี่ยนความคิดจะให้ พล.จำลอง ศรีเมือง 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตร เป็นหัวหน้าพรรคเทียนแห่งธรรม ซึ่งพัฒนาทางความคิดต่อเนื่องและมาถึงการประกาศ "ปฏิญญาเกาะสมุย"
ขณะที่ พรรคประชาภิวัฒน์ ผมทราบว่าคณะผู้ก่อตั้งได้ไปจดทะเบียนพรรคแล้ว โดยคณะผู้ก่อตั้งบอกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ส่วนผมไม่ได้ร่วมกับเขา ขอเป็นแค่ผู้ไปให้ความรู้ในฐานะที่ทำพรรคพลังธรรม มาก่อน แต่ข่าวที่ออกมาว่า ผมจะไปทำพรรคประชาภิวัฒน์ ร่วมกับพล.ต.มนูญกฤติ รูปขจร โดยมีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นสนับสนุน ซึ่งไม่เป็นความจริง
ส่วน พล.ต.มนูญกฤติ ยอมรับว่าเป็นผู้ร่วมพูดคุยเรื่องการตั้งพรรค แต่ไม่มีชื่อในฐานะผู้ก่อตั้งพรรคประชาภิวัฒน์
สำหรับตัวผม ผมยังจะทำสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย เพราะประสบการณ์ที่ทำพรรคพลังธรรม ผมเชื่อว่าการเอา "พรรค" มาเคลื่อนงาน "มวลชน" มันไม่ง่าย แต่ควรมี "ภาคประชาชน" ที่ทำหน้าที่เคลื่อน โดยพรรคเป็นองค์กรที่ถูกต้องเพื่อคัดคนเข้าสู่สนามแข่งขันเพื่อเป็นตัวแทนประชาชน ส่วน "พรรค" ทำงาน "มวลชน" ยังไม่เคยมี
ดังนั้น แทนที่จะตั้งพรรคพันธมิตร ก็น่าจะรวมเป็นภาคประชาชนอย่างเป็นระบบมากกว่าการรวมตัวอย่างหลวมๆ ในระดับแกนนำ ควรรวมตัวในระดับอำเภอ ระดับตำบล จะเป็นการรวมพลังเป็นระบบเครือข่ายคณะประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย
การที่ 5 แกนนำมาร่วมกันทำพรรคการเมือง ทำให้การเมืองสูญเสียสิ่งที่มีไว้สำรองหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นมา แม้ว่ามีกระแสตอบรับจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วย แต่ก็มีความเห็นแย้งว่าเป็นสิทธิ์ 5 แกนนำที่จะทำพรรคการเมือง
ด้านความแตกแยกระหว่างผม กับพันธมิตร ผมไม่ถือว่าเป็นความแตกแยก แต่เป็นความแตกต่างทางความคิดที่ผมเสนอกับ 1 ใน 5 แกนนำว่าผมไม่เห็นด้วยที่ 5 แกนนำจะทำพรรคการเมือง แต่ก็มีการเสนอตอกย้ำเรื่องพรรคการเมืองบนเวทีที่โคราช แต่เสนอในลักษณะที่อ่อนตัวลง ผิดกับปฏิญญาสมุย ครั้งนั้นเสนอแบบแข็งตัว แต่ความคิดเมื่อคืน (7 มี.ค.) ที่โคราช อ่อนตัวลงระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น ความคิดของผมถือเป็นความเห็นของผู้ร่วมฟันฝ่ากันมา ไม่ถึงกับแตกแยก
ผมถือว่าองค์กรภาคประชาชนที่มาร่วมชุมนุมกับพันธมิตร เป็นดอกไม้หลายสี ที่มาสู้เพื่อบ้านเมือง มาอยู่ในแจกันเดียวกัน หลังจากนั้นเมื ่อสิ้นสุดการต่อสู้ดอกไม้ก็กลับไปสู่ต้นเดิม ดังนั้น ระบบบริหารจัดการความคิดในชาวพันธมิตร มีขั้นตอนประมวลที่ชัดเจน ตอนที่ชุมนุมได้เจอกันก็สามารถพูดคุยกัน แต่หลังจากนี้แกนนำ หรือผู้ร่วมชุมนุมไม่ค่อยได้คุยกัน จึงเป็นอุปสรรคในการจัดการให้เป็นแนวทางเดียวกัน
สำหรับองค์กรสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ถือเป็นแนวร่วมพันธมิตร ในการปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังจะเป็นเช่นนั้น
พันธมิตร สำหรับผมไม่ใช่องค์กรจัดตั้งถาวร น่าจะแยกเป็นกลุ่ม ๆ เมื่อถึงคราที่ต้องต่อสู่ค่อยให้ 5 แกนนำเรียกชุมนุม จะดีกว่าเป็นองค์กรถาวร เพราะไม่เช่นนั้น สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กลุ่มยังพีเอดี หรือกลุ่มที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เขาจะยืนตรงไหน การเป็นพรรค เป็นไปไม่ได้ในทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทำให้ตอนนี้มีการกล่าวหา "พันธมิตรแท้ พันธมิตรเทียม"
ความคิดเห็นเรื่อง "พันธมิตรแท้ พันธมิตรเทียม" เริ่มมีความแตกต่างทางความคิด ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของคนที่เริ่มชุมนุมก็มีบ้างที่ไม่ชอบพอกันในบางเรื่อง แต่สิ่งที่ไม่ชอบร่วมกันก็มีคือ "ระบอบทักษิณ" ยังเป็นเป้าหลัก ขนาดผมยังโดนกล่าวหาว่าผมไปป่วนเพื่อให้ล้มเวทีพันธมิตรที่พิษณุโลก ป่วนเวทีที่โคราช กว่าผมจะได้ชี้แจงมันก็ไปไกลกันแล้ว แม้แต่ที่ผมไปอเมริกา ก็หาว่าผมกับคุณการุณ ใสงาม ว่าผมไปป่วนพันธมิตรที่อเมริกา
มันมีคนเสี้ยมให้ 5 แกนนำ กับผมให้เข้าใจผิดกัน แต่ก็มีการเคลียร์กันเป็นคราวๆ ผ่าน 1 ใน 5 แกนนำ ผมนึกว่าจะเข้าใจก็ยังมีการนำเสนอซ้ำอีก ผมก็ต้องชี้แจงอีก แม้แต่การจัดงานพันธมิตรในบางจังหวัดที่ไม่เคยจัดงาน เขาก็โทรมาชวนผม ผมบอกให้ไปคุยกับ 5 แกนนำ ก่อนเดี๋ยวจะมีปัญหา สักพักเขาก็โทรมายกเลิกผม เพราะว่ามันมีปัญหาจริงๆ
ส่วนที่มีการแยกพันธมิตรแม่ยก กับพันธมิตรลงแรง ผมถือว่าเป็นความหลายหลาย แต่สังคมไทยชอบสรุปว่า "แตกต่างทางความคิด" เป็น "แตกแยก"
คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่าผมสนิทกับพล.ต.จำลอง ทำไมจึงมีเรื่องที่โดนกล่าวหาว่า เป็นพันธมิตรเทียม แต่ผมคิดว่า ตอนนี้ในพันธมิตร เริ่มไปไกล ไปถึงทฤษฎีฝ่ายซ้าย มีการใช้คำพูดการจัดตั้งมวลชนของฝ่ายซ้ายเดิม มีการใช้คำว่า "ช่วงชิงการนำ" สำหรับผม ผมอยากพักผ่อนจะตาย แต่ที่ผ่านมาไม่มีใครเป็นหลักให้ประชาชนเข้มแข็ง และเมื่อผมมีประสบการณ์ทำพรรค ประสบการบริหาร เคยยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเกษตรกร ผมจึงต้องกะเตงให้ และนี่แหละที่มีการกล่าวหาว่า สมัชาประชาชน เป็นพันธมิตรเทียม
เพราะฉะนั้น การที่คนพันธมิตร จะเป็นสมาชิกพรรคเทียนแห่งธรรม พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์ ผมมองเป็นมุมสีสันของพันธมิตร คืออย่างน้อยมีถึง 3 พรรค ถ้ามีปัญหาหรืออุบัติเหตุการเมือง 5 แกนนำสามารถระดมมวลชน ก็ค่อยมารวมกันเป็นพันธมิตร ที่มาจากแม่น้ำหลายสาย แต่ถ้าจะให้มวลชนพันธมิตรเป็นองค์กรเดียวกัน แยกไม่ได้อย่างนี้ แตกแน่นอน แม้แต่สื่อพันธมิตร การมีสื่อหลายหลายมากขึ้นก็น่าจะดี เพราะสื่อเสื้อแดงก็ออก 2 ช่องประตู ชาวพันธมิตร ก็ต้องพัฒนาไปสู่สื่อที่มีความหลากหลายเพื่อสำรองรับอุบัติเหตุของชาติบ้านเมือง เราต้องช่วยรัฐบาล อย่าเดินตามรอยรัฐบาลคมช. เพราะรู้อยู่ เสื้อแดง ว่าเขารวมพลังทั้งใน และนอกประเทศ แม่แต่ตอนที่นายกฯลงพื้นที่ มีการกระจายต่อต้าน
ดังนั้น ด้วยความเคารพในการต่อสู้ของพันธมิตรภาคใต้ ที่หลายคนไม่สบายใจที่แกนนำพันธมิตรที่ขึ้นเวทีไปโจมตีเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรภาคใต้เขาไม่เห็นด้วยกับแกนนำ
ส่วนข่าวที่มีชื่อ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เกี่ยวข้องกับการตั้งพรรคประชาภิวัฒน์ ด้วยนั้น เท่าที่ผมได้รับความกรุณาจากท่านน.ต.ประสงค์ ผมไปขอคำแนะนำเป็นคราวๆ ท่านน.ต.ประสงค์ ไม่เคยคิดว่าจะทำพรรคการเมืองด้วยตัวเอง แต่ท่านคิดว่าพันธมิตร ควรทำพรรคการเมืองเพื่อเป็นเครื่องมือเข้าสู่การเมืองใหม่
ถามว่าทำไปต้องไปพบ น.ต.ประสงค์ ก็เพราะท่านเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมอยากทราบเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 เพื่อให้เกิดขึ้นจริง เพราะเป็นบันไดสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการเข้าสู่การเมืองใหม่ จากที่ผ่านมาเขียนไว้แค่บนกระดาษ
ส่วนพรรคเทียนแห่งธรรม นั้น ผมทราบว่า มีการจดทะเบียนพรรคเทียนแห่งธรรม ไว้ก่อนแล้ว ก่อนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร โดยมีที่ตั้งพรรคอยู่ที่ จ.นครราชสีมา นี่จึงเป็นที่มาของการคุยกันกับวงอื่นๆ ซึ่งก่อตัวเรื่องพรรคการเมืองในการคุยหลายๆ ครั้ง หลายๆ วง ถึงมาสรุปว่าจะไม่ทำพรรค "อีลีดปาร์ตี้" แต่จะทำ "แมสปาร์ตี้" คือทำพรรคจาก "ล่าง" สู่ "บน" และก้าวหน้าถึงขั้นใช้ชื่อที่เหมาะสมคือ "พรรคประชาภิวัฒน์"
หลังจากนั้นผมทราบว่ามีการเปลี่ยนความคิดจะให้ พล.จำลอง ศรีเมือง 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตร เป็นหัวหน้าพรรคเทียนแห่งธรรม ซึ่งพัฒนาทางความคิดต่อเนื่องและมาถึงการประกาศ "ปฏิญญาเกาะสมุย"
ขณะที่ พรรคประชาภิวัฒน์ ผมทราบว่าคณะผู้ก่อตั้งได้ไปจดทะเบียนพรรคแล้ว โดยคณะผู้ก่อตั้งบอกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ส่วนผมไม่ได้ร่วมกับเขา ขอเป็นแค่ผู้ไปให้ความรู้ในฐานะที่ทำพรรคพลังธรรม มาก่อน แต่ข่าวที่ออกมาว่า ผมจะไปทำพรรคประชาภิวัฒน์ ร่วมกับพล.ต.มนูญกฤติ รูปขจร โดยมีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นสนับสนุน ซึ่งไม่เป็นความจริง
ส่วน พล.ต.มนูญกฤติ ยอมรับว่าเป็นผู้ร่วมพูดคุยเรื่องการตั้งพรรค แต่ไม่มีชื่อในฐานะผู้ก่อตั้งพรรคประชาภิวัฒน์
สำหรับตัวผม ผมยังจะทำสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย เพราะประสบการณ์ที่ทำพรรคพลังธรรม ผมเชื่อว่าการเอา "พรรค" มาเคลื่อนงาน "มวลชน" มันไม่ง่าย แต่ควรมี "ภาคประชาชน" ที่ทำหน้าที่เคลื่อน โดยพรรคเป็นองค์กรที่ถูกต้องเพื่อคัดคนเข้าสู่สนามแข่งขันเพื่อเป็นตัวแทนประชาชน ส่วน "พรรค" ทำงาน "มวลชน" ยังไม่เคยมี
ดังนั้น แทนที่จะตั้งพรรคพันธมิตร ก็น่าจะรวมเป็นภาคประชาชนอย่างเป็นระบบมากกว่าการรวมตัวอย่างหลวมๆ ในระดับแกนนำ ควรรวมตัวในระดับอำเภอ ระดับตำบล จะเป็นการรวมพลังเป็นระบบเครือข่ายคณะประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย
การที่ 5 แกนนำมาร่วมกันทำพรรคการเมือง ทำให้การเมืองสูญเสียสิ่งที่มีไว้สำรองหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นมา แม้ว่ามีกระแสตอบรับจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วย แต่ก็มีความเห็นแย้งว่าเป็นสิทธิ์ 5 แกนนำที่จะทำพรรคการเมือง
ด้านความแตกแยกระหว่างผม กับพันธมิตร ผมไม่ถือว่าเป็นความแตกแยก แต่เป็นความแตกต่างทางความคิดที่ผมเสนอกับ 1 ใน 5 แกนนำว่าผมไม่เห็นด้วยที่ 5 แกนนำจะทำพรรคการเมือง แต่ก็มีการเสนอตอกย้ำเรื่องพรรคการเมืองบนเวทีที่โคราช แต่เสนอในลักษณะที่อ่อนตัวลง ผิดกับปฏิญญาสมุย ครั้งนั้นเสนอแบบแข็งตัว แต่ความคิดเมื่อคืน (7 มี.ค.) ที่โคราช อ่อนตัวลงระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น ความคิดของผมถือเป็นความเห็นของผู้ร่วมฟันฝ่ากันมา ไม่ถึงกับแตกแยก
ผมถือว่าองค์กรภาคประชาชนที่มาร่วมชุมนุมกับพันธมิตร เป็นดอกไม้หลายสี ที่มาสู้เพื่อบ้านเมือง มาอยู่ในแจกันเดียวกัน หลังจากนั้นเมื ่อสิ้นสุดการต่อสู้ดอกไม้ก็กลับไปสู่ต้นเดิม ดังนั้น ระบบบริหารจัดการความคิดในชาวพันธมิตร มีขั้นตอนประมวลที่ชัดเจน ตอนที่ชุมนุมได้เจอกันก็สามารถพูดคุยกัน แต่หลังจากนี้แกนนำ หรือผู้ร่วมชุมนุมไม่ค่อยได้คุยกัน จึงเป็นอุปสรรคในการจัดการให้เป็นแนวทางเดียวกัน
สำหรับองค์กรสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ถือเป็นแนวร่วมพันธมิตร ในการปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังจะเป็นเช่นนั้น
พันธมิตร สำหรับผมไม่ใช่องค์กรจัดตั้งถาวร น่าจะแยกเป็นกลุ่ม ๆ เมื่อถึงคราที่ต้องต่อสู่ค่อยให้ 5 แกนนำเรียกชุมนุม จะดีกว่าเป็นองค์กรถาวร เพราะไม่เช่นนั้น สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กลุ่มยังพีเอดี หรือกลุ่มที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เขาจะยืนตรงไหน การเป็นพรรค เป็นไปไม่ได้ในทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทำให้ตอนนี้มีการกล่าวหา "พันธมิตรแท้ พันธมิตรเทียม"
ความคิดเห็นเรื่อง "พันธมิตรแท้ พันธมิตรเทียม" เริ่มมีความแตกต่างทางความคิด ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของคนที่เริ่มชุมนุมก็มีบ้างที่ไม่ชอบพอกันในบางเรื่อง แต่สิ่งที่ไม่ชอบร่วมกันก็มีคือ "ระบอบทักษิณ" ยังเป็นเป้าหลัก ขนาดผมยังโดนกล่าวหาว่าผมไปป่วนเพื่อให้ล้มเวทีพันธมิตรที่พิษณุโลก ป่วนเวทีที่โคราช กว่าผมจะได้ชี้แจงมันก็ไปไกลกันแล้ว แม้แต่ที่ผมไปอเมริกา ก็หาว่าผมกับคุณการุณ ใสงาม ว่าผมไปป่วนพันธมิตรที่อเมริกา
มันมีคนเสี้ยมให้ 5 แกนนำ กับผมให้เข้าใจผิดกัน แต่ก็มีการเคลียร์กันเป็นคราวๆ ผ่าน 1 ใน 5 แกนนำ ผมนึกว่าจะเข้าใจก็ยังมีการนำเสนอซ้ำอีก ผมก็ต้องชี้แจงอีก แม้แต่การจัดงานพันธมิตรในบางจังหวัดที่ไม่เคยจัดงาน เขาก็โทรมาชวนผม ผมบอกให้ไปคุยกับ 5 แกนนำ ก่อนเดี๋ยวจะมีปัญหา สักพักเขาก็โทรมายกเลิกผม เพราะว่ามันมีปัญหาจริงๆ
ส่วนที่มีการแยกพันธมิตรแม่ยก กับพันธมิตรลงแรง ผมถือว่าเป็นความหลายหลาย แต่สังคมไทยชอบสรุปว่า "แตกต่างทางความคิด" เป็น "แตกแยก"
คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่าผมสนิทกับพล.ต.จำลอง ทำไมจึงมีเรื่องที่โดนกล่าวหาว่า เป็นพันธมิตรเทียม แต่ผมคิดว่า ตอนนี้ในพันธมิตร เริ่มไปไกล ไปถึงทฤษฎีฝ่ายซ้าย มีการใช้คำพูดการจัดตั้งมวลชนของฝ่ายซ้ายเดิม มีการใช้คำว่า "ช่วงชิงการนำ" สำหรับผม ผมอยากพักผ่อนจะตาย แต่ที่ผ่านมาไม่มีใครเป็นหลักให้ประชาชนเข้มแข็ง และเมื่อผมมีประสบการณ์ทำพรรค ประสบการบริหาร เคยยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเกษตรกร ผมจึงต้องกะเตงให้ และนี่แหละที่มีการกล่าวหาว่า สมัชาประชาชน เป็นพันธมิตรเทียม
เพราะฉะนั้น การที่คนพันธมิตร จะเป็นสมาชิกพรรคเทียนแห่งธรรม พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์ ผมมองเป็นมุมสีสันของพันธมิตร คืออย่างน้อยมีถึง 3 พรรค ถ้ามีปัญหาหรืออุบัติเหตุการเมือง 5 แกนนำสามารถระดมมวลชน ก็ค่อยมารวมกันเป็นพันธมิตร ที่มาจากแม่น้ำหลายสาย แต่ถ้าจะให้มวลชนพันธมิตรเป็นองค์กรเดียวกัน แยกไม่ได้อย่างนี้ แตกแน่นอน แม้แต่สื่อพันธมิตร การมีสื่อหลายหลายมากขึ้นก็น่าจะดี เพราะสื่อเสื้อแดงก็ออก 2 ช่องประตู ชาวพันธมิตร ก็ต้องพัฒนาไปสู่สื่อที่มีความหลากหลายเพื่อสำรองรับอุบัติเหตุของชาติบ้านเมือง เราต้องช่วยรัฐบาล อย่าเดินตามรอยรัฐบาลคมช. เพราะรู้อยู่ เสื้อแดง ว่าเขารวมพลังทั้งใน และนอกประเทศ แม่แต่ตอนที่นายกฯลงพื้นที่ มีการกระจายต่อต้าน
ดังนั้น ด้วยความเคารพในการต่อสู้ของพันธมิตรภาคใต้ ที่หลายคนไม่สบายใจที่แกนนำพันธมิตรที่ขึ้นเวทีไปโจมตีเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรภาคใต้เขาไม่เห็นด้วยกับแกนนำ
ส่วนข่าวที่มีชื่อ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เกี่ยวข้องกับการตั้งพรรคประชาภิวัฒน์ ด้วยนั้น เท่าที่ผมได้รับความกรุณาจากท่านน.ต.ประสงค์ ผมไปขอคำแนะนำเป็นคราวๆ ท่านน.ต.ประสงค์ ไม่เคยคิดว่าจะทำพรรคการเมืองด้วยตัวเอง แต่ท่านคิดว่าพันธมิตร ควรทำพรรคการเมืองเพื่อเป็นเครื่องมือเข้าสู่การเมืองใหม่
ถามว่าทำไปต้องไปพบ น.ต.ประสงค์ ก็เพราะท่านเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมอยากทราบเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 เพื่อให้เกิดขึ้นจริง เพราะเป็นบันไดสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการเข้าสู่การเมืองใหม่ จากที่ผ่านมาเขียนไว้แค่บนกระดาษ