วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เขากำลังทำคือทำ “ความจริง” ให้เกิดจาก “ความเชื่อ”




สัมภาษณ์พิเศษ

นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อจิ๊กซอว์ 1 พฤศจิกา กับสานเสวนา สร้าง “ทักษิณ” เป็นสินค้าที่บริโภคไม่เป็นอันตรายแม้จะปนเปื้อนเมลามีน

งานวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 จัดได้ยิ่งใหญ่มาก แสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมการมาอย่างดีคล้ายคอนเสิร์ต ไม่ว่าจะเป็น สีสัน การประชาสัมพันธ์ ทำให้หยุดประเทศไทย ได้ ประชาชน ภาครัฐ ในสองสัปดาห์มีแต่ข่าวนี้ จุดชนวนให้น่ากลัว หลากหลายมุม กินพื้นที่ข่าวได้เกือบสองสัปดาห์ และงานที่ออกมาก็ขนาดใหญ่ มากจนทำให้คิดว่านี่ไม่ใช่คอนเสิร์ต และคนที่มา ก็มาจากภาคเหนือ ภาคอีสาน ในกรุงเทพบางส่วน มีรถรับส่งอย่างดี เป็นที่ทราบจากรายงานของสื่อหลายสำนักตรงกันว่าได้รับเสื้อ 1 ตัวค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง
ตัวเลขสำหรับการจัดงานไม่น้อยกว่า 200 - 300 ล้านบาท เงินจำนวนมากขนาดนี้เพื่อประสงค์อะไร ลักษณะจัดงานไม่ได้จัดเพื่อต้านรัฐประหาร เป็นการจัดเพื่อเป้าหมายอยู่ที่การเคลื่อนไปตามกระแสที่ “ทักษิณ” พูด เพราะการที่จะจัด ให้คนมาฟัง “ทักษิณ” พูด ๆ เสร็จสลายตัว การลุงทุนมากมายอย่างนี้ เขาต้องการสร้างเสื้อสัญลักษณ์สีแดง ให้เดินกระแสอย่างนี้ต่อไป เพราะฉะนั้น ขอบเขตการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ไม่เลื่อนลอย
จากการฟังที่พูดแล้ว “ทักษิณ” อ้อนแม่ยกลูกทุ่ง เห็นชัดในเชิงการตลาดชั้นสูง เป้าหมายชัดเจนคือต้องการกลับประเทศไทยให้เร็วที่สุด ไม่อาจรอได้ถึงสิบปี
วิธีการทำก็คือ ทำตามสรุปที่ “ทักษิณ” บอกว่า ขอพึ่งพระบารมี พระเมตตา และพลังของประชาชน คำพูดอย่างนี้เป็นสองวรรค วรรคแรกเพื่อหวังพึ่งพระบารมี และวรรคสองคือพลังประชาชน ทำให้ตีความได้หลายอย่าง ถ้าถามผม ผมมองว่าเป็นการต่อรอระดับสูงมาก ถ้าไม่ได้กลับด้วยวิธีการใด ก็ต้องกลับด้วยวิธีการหนึ่ง
แต่ที่น่าเป็นห่วงประการแรก (การขอพระราชทานอภัยโทษ) การที่จะบรรลุหรือไม่ คดีต้องสิ้นสุดเสียก่อน การจะมารับโทษหรือไม่ ไม่ใช้ข้อสำคัญ การอภัยโทษ ยังมีคดีอื่นๆ ที่กำลังโดนฟ้องอยู่ในศาล การอภัยโทษอย่างนี้เงื่อนไขเป็นไปได้ไหม หากพระราชทานอภัยโทษ เท่ากับคำกล่าวหาที่ “ทักษิณ” เคยออกแถลงการณ์ว่ากระบวนการยุติธรรมของเราใช้ไม่ได้ อย่างนี้ เท่ากับว่า จะไปลบล้างความชอบธรรมการปฏิบัติงานของกระบวนการยุติธรรมทั้งหลาย เท่ากับการรื้อถอนขื่อแป เท่ากับระบบการจัดการทั้งหมดในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดต้องเลิก ถือเอามวลชน ชี้ขาดความถูกความผิด
แต่ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ ถ้าต้อใช้วิธีการที่มาจากพลังประชาชน ต้องขยายมวลชนต่อสู้ ต้องใช้มวลชนขนาดใหญ่ ใช้มวลชนกดดันเพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ
ถ้าต่อจิ๊กซอว์ ให้ดีก็จะเห็นว่ามีกระบวนการต่อรองเกิดขึ้นล่วงหน้า ที่กล่าวถึงก็คือ “สานเสวนา” ที่ไม่คำนึงถูก ผิด แต่ขอให้เลิกทะเลาะกัน ต่อรองดำเนินมา 2 สัปดาห์ ก่อนมีการพูดของ “ทักษิณ” มีการเตรียมการเคลื่อนตัวพอสมควรมีกระบวนการรองรับ จากนี้ไปให้จับตาสานเสวนา เพื่อให้บรรลุผลในข้อต่อรอง มีความเป็นไปได้สานเสวนาที่จะเป็นกลไกต่อรอง เคลื่อนไหวมวลชนเพื่อความเข้มข้น
ที่พวกเขากำลังทำคือทำ “ความจริง” ให้เกิดจาก “ความเชื่อ”
สินค้าที่ไม่มีพิษ เปลี่ยนความจริงเป็นความเชื่อให้เป็นสินค้าที่มีประโยชน์ อาศัยกระบวนการสื่อที่สำคัญ มีการควบคุมครอบงำสื่ออย่างกว้างขวางมากขึ้น รายการโทรทัศน์ที่ร่วมหัวจมท้าย โดนปรับออกไป ความปรารถนาคือวิทยุ โทรทัศน์ ใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาว่าเป็นสินค้าดีมีประโยชน์ เมื่อทำเช่นนี้บ่อยครั้ง ความเชื่อจะเกิดขึ้นได้
กลไกทางตลาดทำให้เชื่อว่าเป็นสินค้าที่ตลาดต้องการ ด้วยการคุกคามสื่อที่ไม่ใช่อยู่ในเครือข่ายไม่ให้เสนอข่าว บรรดาสื่อทางเลือกก็จะโดนคุกคามรุนแรง เอเอสทีวี ก็จะโดนบล็อกบางระยะ สื่ออื่นก็จะดึงเข้าสังกัด ผลที่จะตามมาเพื่อให้โฆษณาสินค้าตัวนี้ปรากฎการณ์ทางสื่อ โดยไม่สนใจว่าประชาชนจะเสี่ยงที่จะได้รับสื่อด้านเดียว จะเกิดการย้อนข่าวมาจากต่างประเทศด้วย การรับรู้ข่าวของประชาชนได้ข้อมูลว่า “ทักษิณ” คือสินค้าดี สินค้าพิเศษมีประโยชน์ คนจำนวนหนึ่ง เมื่อมีหลักวิชาการมาอธิบาย ได้รับข้อมูลจากที่ทำซ้ำ คนจำนวนมากก็จะเชื่อ ไม่สนใจว่า “ทักษิณ” มีสารเมลามีน ปนเปื้อนอีกหรือไม่
ความเชื่อถือจากต่างประเทศ เป้นที่ปรึกษษมีสองประเทส บาฮามาส เบอร์มิวดา มีการปูข่าวนี้เป็นระยะ ช่วงหนึ่งก่อนไม่มีความคืบหน้า อุปนิสัยฉลาดเก่ง บอกเองว่าไฮเปอร์ มีคนใจร้อง วันนี้เห็นแอค่เอื้อม รัฐบาลน้องเขยนั่งออยู่แต่ตัวเองกลัวไปม่สามารถ ไม่อยากเป็นวิวาญที่เข้าสิง อยากเข้ามาให้เร็วที่สึด มาเฉียดฉิวเอาใกล้ๆ ไม่ใช้เรื่องง่ายนัก บรรดาผู้นำในอดีตแต่ละท่านมีคนรักคนชับ ไม่มีใครคนชังมากท่าทักษิณ หรือชอบมาก คนที่มีคนชิงชังมากมายมหาศาล คนนิยมชมชอบก็มากมายมหาศาล คนชักมากบริหารประเทศ
อนาคตทักษิณ จะเป็นผู้ตีงูให้กากิน คือมีโอกาสอยากเข้ามา แต่ก็เป็นเรื่องยาก เพราะเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจแล้วไม่อยากยกอำนาจของตัวเองไปให้ใครง่าย ๆ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือคุณสมัคร สุนทรเวช ดังนั้น แม้คุณทักษิณ จะดิ้นรนโอกาสที่จะกลับเข้ามาในประเทศก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการถวายฎีกา จะเป็นช่องทางดึง "ทักษิณ" กลับมาหรือไม่นั้น การแก้รัฐธรรมนูญ เป็นความพยายามแต่ดั้งเดิมของพรรคพลังประชาชน ซึ่งผมว่าผิดกับรัญบาลทั่ว ๆ ไป คือเมื่อมีอำนาจ ก็พยายามไม่ให้เกิดปัญหา หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง แต่พรรคพลังประชาชน ประกาศกิจกรรมแรกคืออยากแก้รัฐธรรมนูญ แก้ 2 3 มาตรา แก้ผลที่เกิดจากประกาศคำสั่งคณะปฏิรูป แก้เกี่ยวกับการทำสัญญากับต่างประเทศ แก้เรื่องพระราชอำนาจการแต่งตั้งองคมนตรี เมื่อยื่นแก้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นปฐมเหตุเรื้อรัง วันนี้ยังมุ่งมั่นแก้รัฐธรรมนูญ ยืนหยัดแก้รัฐธรรมนูญต่อไป เพื่อไม่ยุติ ยอมเผชิญหน้า ดังนั้นตราบใดที่ยังจะแก้รัฐธรรมนูญ ปมเงื่อนปัญหาความขัดแย้งยังอยู่ และรุนแรง ข้อเท็จจริงปรากฎว่าสถาบันสำคัญกำลังโดนคุกคาม ท้าทายอยู่ในอันตราย เกิดคนตื่นตัวมาก หากจะแก้รัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งจะไปสู่ความแตกหัก
ตรงนี้นี่เองที่ทำให้นักวิเคราะห์ต่างประเทศมองว่าประเทศไทยยังมีวิกฤติทางการเมือง
การแร่งแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประกาศคำสั่งคณะปฏิรูปสิ้นผลบังคับ มีผลต่อคดีที่ยังไม่มีการนำตัวมาศาล ที่ "ทักษิณ" จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในภาคหน้า
ส่วนการถวายฎีกา ทำได้ 2 อย่าง คือ ขอพระราชทานอัยโทษ หรือ ออกกฎหมายนิรโทษกรรม แต่การทำเพื่อคนๆ เดียวไม่ได้ ทว่าเขาอาจจะเขียนกฎหมายให้คาบเกี่ยวไปได้ ขอพระราชทานอภัยโทษ รัฐบาลทำเองไม่ได้ จึงเกิดการตั้งโต๊ะขออภัยโทษ "สมัคร" เป็นการชิมลาง เรื่องของ "สมัคร" เป็นไปได้ยากเพราะเป็นความผิดต่อส่วนตัวอาจทำได้ไม่ขัดกฎหมาย
แต่ "ทักษิณ" ทำผิดต่อรัฐ เงื่อนไขเป็นไปได้ ถ้าไม่ได้ออกแถลงการณ์ปฏิเสธกระบวนการยุติธรรม หากศาลตัดสินแล้ว "ทักษิณ" บอกว่าขอรับนับถือในคำตัดสิน แถลงการณ์นั้นแม้ระมัดระวังในการใช้ถ้อย แต่ก็มีหลายคำที่ชัดเจน กลายเป็นอุปสรรคในการขอพระราชทานอภัยโทษ เพราะการไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม ไม่เป็นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษ
สำหรับการเมืองไทย ต่อจากนี้ไปจะเกิด "อนาธิปไตย" เข้าไปทุกที เมื่อวานผู้บริหารพรรคประชาธิปไตย โดนคนเสื้อแดงที่เชียงใหม่คุกคาม ไล่ เกรงจะได้รับอันตราย ทำให้ต้องกลับเลย ไม่สามารถทำอะไรได้ ขณะที่รัฐมนตรีไปไหนโดนประชาชนต่อต้านขับไล่ จะเกิดขึ้นทั่วไป วันหนึ่งข้างหน้าสถานการณ์เลวร้ายจะมีอันตรายมากขึ้น แต่ที่น่ากลัวคือ "อนาธิปไตย" เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ แล้ว กลางคืนถนนราชดำเนิน เหมือนบ้านป่าเมืองเถื่อน มีการวางระเบิด ยิงกัน ยังกับฮอลิวูด
มันจะไม่หยุดยั้งในเวลาอันสั้น ประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองจะใช้เวลา 10-40 ปี ความสูญเสีย เสียหายยับเยิน เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลความมั่นคงปลอดภัยจะปล่อยให้ฆ่าก่อน หรือจะป้องกันปัญหาก่อนจะเกิด จะป้องกันอย่างไร เป็นไปได้อย่างไรมีสภาพอันตรายร้ายแรง มีการขู่ขวัญใช้อาวุธสงคราม ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศของเรา ไม่เห็นมีใครทำอะไร รอให้เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนหรือไม่จึงค่อยป้องกัน อยากให้เห็นแก่ประเทศ อนาคตต้องป้องกัน สัตว์รักชีวิต ทำไมไม่หาทางระงับเหตุ
ส่วนเหตุการณ์ 7 ตุลา มี 6 คณะที่สอบสวนคือคระกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐบาล ตำรวจ ที่หวังได้คือป.ป.ช. และกสม. ขณะที่บางคณะตั้งขึ้นมาเพื่อถ่วงเวลา ทำให้คนคับแค้นใจ กสม.ทำส่วนที่หนึ่งเสร็จแล้ว ว่ามีการละเมิดรัฐธรรมนูญ ละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สองตรวจสอบ ออกรายงานว่า ผู้สั่งการคือนายกฯ และรัฐมนตรี ที่ประชุมกันในคืนวันที่ 6 ตุลาคม ต้องรับผิด ส่วนผู้ปฏิบัติการ กำลังดูว่าใครต้องรับผิดชอบบ้าง อาวุธที่ใช้เพื่อเป็นการสลายการชุมนุมหรือเจตนาฆ่า ส่วน ป.ป.ช. ตั้งอนุกรรมการสอบสวนแล้ว สองชุดนี้จะเป็นที่หวังได้

"ทักษิณ"พลิกเกมอ้อนแฝงปลุกระดมเผชิญหน้า

นักวิชาการหลายสำนักเผยผิดคาด "ทักษิณ" โฟนอินพึ่งพระบารมี พลิกเกมแบบเจียมตัว ยากตีความ ชี้ เสื้อแดง เปิดเกมวัดพลังพร้อมห้ำหั่นเสื้อเหลือง เต็มเหนี่ยว แนะ "สมชาย"ล้มเลิกความคิดตั้ง ส.ส.ร.3 หยุดชนวนเหตุนองเลือด

ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาหัวข้อ"วิเคราะห์เหตุการณ์หลังคืนวันที่ 1 พ.ย." โดยนางอมรา พงศาพิชญ์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวว่า การจัดเวทีความจริงวันนี้สัญจรเมื่อคืนวันที่ 1 พ.ย.ออกมาค่อนข้างดี ไม่มีการเชิญชวนให้ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง ถือเป็นวิธีการที่เหมาะสม แต่จะเหมาะสมมากกว่าหากจะไม่จัดเลย
การประกาศจัดเวทีด้วยการเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นพรีเซ็นเตอร์ เชิญชวนคนให้มาแสดงพลังมหาศาลที่เขามีอยู่ ทำให้เห็นว่าพลังของเสื้อแดง และเสื้อเหลืองพร้อมจะเผชิญหน้ากันเมื่อใดก็ได้ ดังนั้น เราต้องขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล ว่าไม่ควรมีการเผชิญหน้ากันระหว่างเสื้อแดงกับเสื้อเหลือง และกล้าที่จะตัดสินในเรื่องการตั้ง ส.ส.ร. 3 เพราะเป็นชนวนที่จะกระตุ้นให้เกิดการเผชิญหน้า

“ บนเวทีความจริงวันนี้คุณทักษิณ ได้พยายามพลิกสถานการณ์ด้วยการใช้ท่าทีเจียมตัว อ่อนน้อมนุ่มนวลว่าอยากจะกลับบ้านและบอกให้ประชาชนหาทางกลับให้และขอพึ่งพระบารมีนั้นก็ถือเป็นถ้อยคำที่ขึ้นอยู่กับว่าจะตีความกันอย่างไร โดยสามารถตีความได้สองทาง คือ การขอให้ประชาชนที่เป็นพลังเสื้อแดงช่วยให้เขาได้กลับบ้าน

ส่วนการขอความเมตตาต่อสถาบัน นั้น ความเมตตาต่อสถาบันก็ตีความได้หลายๆ อย่าง ซึ่งส่วนตัวไม่อยากพูดขอให้ทุกคนคิดกันเองว่าเป็นรูปแบบไหน

ด้านนายสุรพงษ์ กองจันทึก กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ กล่าวว่า การที่ทุกฝ่ายจะบอกว่าไม่ได้ใช้ความรุนแรงก็เป็นการพูดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดีเท่านั้น แม้ไม่ได้พกอาวุธปืน มีด แต่ก็มีการใช้คำพูดที่ยั่วยุให้เกลียดชังฝ่ายตรงข้าม เมื่อฝ่ายตรงข้ามถูกทำร้ายอีกฝ่ายก็จะแอบดีใจ ซึ่งถือเป็นความรุนแรง เพราะในใจทุกฝ่ายมีความรุนแรงอยู่

ดังนั้น สถาบันศาสนาจะต้องออกมาชี้นำให้สังคมได้ตระหนักและเป็นส่วนหนึ่งให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้ามาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน ความรุนแรงที่อีกฝ่ายเป็นคนอื่นไม่ใช่พวกเดียวกันถือเป็นความรุนแรงที่เป็นอันตรายมาก ซึ่งจะนำไปสู่การห้ำหั่นกัน

นายสุรพงษ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พูดถึงกระบวนการยุติธรรมและมีผู้เสนอให้ถวายฎีกานั้นตนเห็นว่าขณะนี้ต้องบอกว่ากระบวนการยุติธรรมในคดียังไม่สิ้นสุด เพราะมีเวลาอุทธรณ์ตามรัฐธรรมนูญได้ภายใน 30 วัน เราจึงบอกไม่ได้ว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิด จึงอยากเรียกร้องให้กลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมระหว่างนี้ไม่ต้องถวายฎีกาเพื่อสู้คดี แต่ถ้ากระบวนการสิ้นสุดแล้วก็สามารถถวายฎีกาได้ เพราะถือเป็นพระราชอำนาจของในหลวง

"ไม่ควรไปกดดันด้วยการล่ารายชื่อเป็นหมื่นเป็นแสน ถวายฎีกาแค่เพียงคนเดียวหรือสองคนก็ได้แล้วไม่จำเป็นต้องล่ารายชื่อ"

นายเอกพันธุ์ ปิณฑวนิช นักวิชการจากศูนย์ศึกษาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยังไม่มีใครออกมารับผิดชอบต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 7 ต.ค.ไม่ว่าฝ่ายพันธมิตร และรัฐบาล หากรัฐบาลยังยืนยันเดินหน้าให้มีส.ส.ร. 3 ก็จะมีแนวโน้มเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับ 7 ต.ค. หากรัฐบาลยังไม่หยุดและมีเหตุนองเลือดเกิดขึ้น ผู้รับชอบจะต้องเป็นรัฐบาล รวมทั้งนปช.และ หากมีการเคลื่อนไหวการชุมนุมอีกแกนนำจะต้องรับผิดชอบ

นายเอกพันธุ์ ยังกล่าวถึงการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณว่า เป็นจุดที่สังคมก้าวไม่พ้นทักษิณเสียที ต้องกลับมาสู่ เสื้อแดงเพิ่มขึ้นมากขนาดนั้นเกรงว่าพันธมิตร ก็พร้อมจะแสดงกำลัง ด้วยการระดมมวลชนเสื้อเหลืองมากขึ้น ถ้าพันธมิตร เพิ่มขึ้น นปช.ก็เพิ่มขึ้นอีก ไม่คิดว่าจะเป็นทางออกที่คลี่คลาย

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในช่วงนี้แม้ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งหลังจากเกิดเหตุ 7 ต.ค.จะคลี่คลายไปบ้าง แต่หลังจากนี้คิดว่าแนวโน้มความรุนแรงจะเพิ่มขึ้น อาจถึงขั้นนองเลือดครั้งที่ 4 เพราะจะเป็นการบวกสถานการณ์ 7 ต.ค.และ 2 ก.ย.เข้าด้วยกันเพราะมีนปช.เข้ามาด้วย อาจจะลุกลามเป็นสงครามการเมือง ซึ่งที่ผ่านมาเราประคองสถานการณ์มาได้กว่า 100 วันแล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดเงื่อนไขเพื่อหลีกเลี่ยง โดยทั้งสองฝ่ายทั้งพันธมิตร และนปช.ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงและงดความเคลื่อนไหวไม่ให้เกิดการปะทะ สิ่งใดที่เป็นอาวุธก็ควรไม่นำเข้ามาในที่ชุมนุม

สังคมไทยต้องเตือนทั้งสองฝ่ายให้ยึดกติกาเป็นหลัก ส่วนรัฐบาลต้องสรุปบทเรียนเหตุการณ์ 7 ต.ค.

ขณะที่ตำรวจ และทหาร ก็ควรสรุปว่าพลังของนปช.ที่ออกมาเมื่อวานนี้ (1 พ.ย.)หากมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น เช่น การปฏิวัติ พลังเหล่านี้ก็จะออกมาต่อต้าน

“การเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นั้นพรรคร่วมรัฐบาลควรต้องชะลอกระบวนการออกไปก่อน เพราะขณะนี้กระบวนการไม่ได้รับการยอมรับ ถ้าเดินหน้าต่อไปชนวนความขัดแย้งก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้น ถ้าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ถูกบรรจุเข้าสู่วาระของที่ประชุมสภาในวันพุธที่ 5 พ.ย.นี้ แล้วสภาอนุมุติให้ผ่านสองวาระรวดแล้วตั้งกรรมาธิการขึ้นมาระหว่างสองสภาและเว้นไว้ 15 วันก่อนเข้าสู่วาระ 3 ก็จะยิ่งให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพราะการเข้าสู่วาระ 3 จะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ถ้ารัฐบาลและฝ่ายสภาเล่นเกมเร็วด้วยการใช้เสียงข้างมากพิจารณารวดเดียว ความขัดแย้งก็ยิ่งสูงขึ้น อาจจะถือเป็นการผลักดันให้ความขัดแย้งถึงวาระแตกหัก

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชะลอส.ส.ร. 3 ออกไปก่อน แล้วกลับมาตั้งหลักกันใหม่ด้วยการดึงฝ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกันก่อน ”

นายปริญญา กล่าวด้วยว่า สถานการณ์การเมืองในช่วงนี้รัฐบาลไม่มีความจำเป็นต้องมีส.ส.ร. 3 เดินหน้าต่อไปจะเป็นการสร้างเงื่อนไขความรุนแรงจนรัฐบาลก็จะอยู่ต่อไปไม่ได้ ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับคณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ(คปพร.) นั้นก็ไม่ใช่ทางออก หากนำมาใช้ก็เท่ากับว่ารัฐบาลกำลังเล่นเกมเสี่ยง ที่ไม่ใช่เฉพาะเก้าอี้ตัวเอง แต่เป็นการเอาประเทศไปเสี่ยงด้วย ตอนนี้ทางออกก็มีหลายทาง ที่รัฐบาลจะต้องเลือกเว้นแต่ว่าจะตั้งส.ส.ร.ขึ้นมาเพื่อให้มีอำนาจอยู่ไปได้นานขึ้นหรือเป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นเหตุการณ์ 7 ต.ค.เท่านั้น

“ เราจะต้องจับตาคำสัญญาของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ ที่เคยประกาศว่าหลังจากตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีนายปรีชา พาณิชวงศ์ เป็นประธานฯ ทำงานไปแล้ว 15 วันและมีผลอย่างไรรัฐบาลก็จะปฏิบัตินั้นเมื่อครบกำหนดแล้วนายสมชายจะทำอย่างไร เพราะการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ไม่ใช่การใช้เงินอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นการรับผิดทางการเมืองด้วย ถ้าครบกำหนดแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็จะทำให้นายสมชายขาดความน่าเชื่อถือย่างรุนแรง ”

รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าอยู่นี้ไม่ได้เป็นการแก้ไขความขัดแย้งแต่เป็นเรื่องการแก้เกมการเมือง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหยุดก่อน เพราะหากไม่หยุดวันที่ 20-21 พ.ย.ที่อาจจะเป็นวันครบกำหนดที่จะต้องนำผลการพิจารณาของกรรมาธิการศึกษามาตรา 291 เราอาจจะต้องเห็นการนองเลือดอีก

"ผมมีข้อเสนอให้ทุกฝ่ายสองทางเลือก คือ 1. ถ้ารัฐบาลเห็นว่าไม่ควรเดินหน้าให้มีส.ส.ร.ก็ควรยุบสภาและก่อนยุบก็ควรตกลงกันว่าจะให้มีการเลือกตั้งและส.ส.ควรมีที่มาแบบใด อาจจะมีเวทีในการพูดคุยทั้งฝ่ายพันธมิตรฯและรัฐบาล และ 2. ให้มีการยุบสภาแล้วมีการเลือกตั้งใหม่ด้วยการพ่วงวาระทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้ประชาชนได้ออกความเห็นว่าจะตั้ง ส.ส.ร.เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่อย่างไร หากผลเป็นอย่างไรก็ถือว่าทุกฝ่ายจะต้องยุติ ”

นายปริญญา กล่าวถึงการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ บนเวทีความจริงวันนี้สัญจรว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ พูดเรื่องมหาประชาชนต้องไม่ลืมว่าประชาชนมีทั้งฝ่ายไม่ชอบและชอบพ.ต.ท.ทักษิณ ผู้นำทั้งสองฝ่ายต้องตระหนักว่าไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั้งฝ่ายที่ชอบและไม่ชอบก็เป็นประชาชนทั้งสิ้น ดังนั้น ต้องไม่ทำให้ทั้งสองฝ่ายเกลียดกันมากไปกว่านี้ โดยสังคมไทยควรจะข้ามพ้นเรื่องตัวบุคคล โดยต้องฝากถึงคู่ขัดแย้งทั้งสองกลุ่มไม่ควรมาฆ่ากันเพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งการพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถึงคดีเมื่อคืนวันที่ 1 พ.ย.นั้นตนคิดว่าคดีที่พ.ต.ท.ทักษิณ กังวลมากที่สุด น่าจะเป็นคดียึดทรัพย์ เพราะคดีอื่น ๆ ที่เป็นคดีอาญาที่จะเดินต่อไม่ได้ เนื่องจากยังไม่มีการเปิดศาลนัดแรก ที่โดยหลักแล้วโจทก์ต้องนำตัวจำเลยมาขึ้นศาลก่อนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งคดีอาญาอื่นๆ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มาขึ้นศาลเลย แต่คดียึดทรัพย์ไม่ใช่คดีอาญาศาลจึงสามารถพิจารณาลับหลังจำเลยได้

“ คดีการยึดทรัพย์นี้ไม่ใช่ว่าศาลจะต้องยึดทรัพย์ทั้งหมดที่อายัดไว้ เพราะหากพ.ต.ท.ทักษิณสู้คดีและพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินได้มาโดยชอบศาลก็จะคืนให้ หากพิสูจน์ได้มากแค่ไหนก็จะได้คืนมากเท่านั้น ดังนั้นต้องคุณทักษิณจะต้องกลับมาพิสูจน์ในศาล หากมั่นใจว่าได้ทรัพย์สินของตัวเองได้มาโดยชอบก็ไม่จำเป็นต้องกลัว แม้มีข้อโต้แย้งว่า การจัดทำสำนวนในการฟ้องคดีนั้นมาจากการทำงานของคตส.ที่มาจากการรัฐประหาร แต่ต้องไม่ลืมว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นกระบวนการปกติที่มีมาก่อน 19 ก.ย. 49 ดังนั้นทักษิณไม่มีอะไรต้องกังวล ถ้าเชื่อมั่นว่าตัวเองหาทรัพย์สินมาโดยชอบจริงก็ไม่มีความจำเป็นต้องกลัว ”

วิถีแห่งราชประชาสมาสัย !

สังคมไทยแตกแยกเป็น 2 ส่วนมากขึ้น ๆ หลังเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 ความแตกแยกนี้ไม่อาจยุติลงได้โดยวิถีทางปกติ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลลาออก ยุบสภา หรือทหารออกมารัฐประหารในรูปแบบเดิม ๆ หรือปรับเปลี่ยนไปจากเดิมไม่มาก มีอยู่วิถีทางเดียวเท่านั้น....

คำว่า “ลัทธิราชประชาสมาสัย” พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ท่านนำมาใช้เป็นครั้งแรก ในบทสนทนาหัวข้อ “การเมืองไทย” กับท่านอาจารย์เสน่ห์ จามริก และท่านอาจารย์ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ มีบันทึกอยู่ในวารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 เดือนเมษายน 2515 หน้า 39 – 45

ระยะเวลาที่ใกล้ขึ้นมาสักหน่อย ก็เห็นจะเป็นงานเขียนของ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่แม้จะไม่ได้เอ่ยคำว่า “ลัทธิราชประชาสมาสัย” แต่ก็ได้อรรถาธิบายลักษณะพิเศษของระบอบประชาธิปไตยในบ้านเราไว้ได้ชัดเจน

ท่านเขียนไว้ในบทความเรื่อง "ในหลวงกับประชาชน : เอกลักษณ์ประชาธิปไตยไทย" ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ 30 เมษายน 2536 และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบทที่ 7 ส่วนที่ 2 ตำรา "กฎหมายมหาชน เล่ม 2" ตีพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2537

อาจารย์บวรศํกดิ์ ฟันธงว่า เอกลักษณ์ระบอบประชาธิปไตยไทยนั้นแตกต่างกับประเทศอื่นตรงที่...

อำนาจอธิปไตยนั้นอยู่ที่พระมหากษัตริย์และประชาชน

ต่างกับรัฐธรรมนูญของชาติอื่นที่ถือว่าประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย !

ทั้งนี้ ก็จากการพิจารณาบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับนับแต่ 10 ธันวาคม 2475 มาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ใช้ข้อความทำนองเดียวกัน

“อำนาจอธิปไตยมาจาก (เป็นของ) ปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”

ซึ่งมีที่มาจาก 2 เหตุผลหลัก

1. เหตุทางประเพณีในสังคมวัฒนธรรมไทย -- อันเกิดจากการสั่งสมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชน

2. เหตุผลทางนิติศาสตร์ -- หากสืบสาวเรื่องย้อนไปจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475

ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อำนาจอธิปไตยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ครั้นเมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอำนาจอธิปไตยอยู่ก็สละพระราชอำนาจนั้นให้ประชาชนทั้งประเทศด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญ แล้วลดพระองค์ลงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังทรงใช้อำนาจนั้นแทนปวงชน

ในทางกฎหมาย ต้องถือว่าทั้งพระมหากษัตริย์และประชาชนต่างเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยร่วมกัน

ด้วยเหตุนี้ในทางกฎหมายนั้น เมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญคราใดต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยที่เคยพระราชทานให้ปวงชนนั้นกลับคืนมายังพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน 24 มิถุนายน 2475

ผลสำคัญประการแรกทางกฎหมายระหว่างประเทศก็คือ รัฐบาลนานาชาติไม่ต้องรับรองรัฐบาลไทยใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงโดยการรัฐประหารเป็นเรื่องระดับภายใน แต่ระดับสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ยังดำรงอยู่ และทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ท่านด้วย ส่วนคณะรัฐประหารไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตยเลย แต่มีอำนาจปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นตามความเป็นจริงเท่านั้น

พูดง่าย ๆ คืออำนาจอธิปไตยที่เป็นอำนาจทางกฎหมายอยู่ที่พระมหากษัตริย์ แต่อำนาจในทางความเป็นจริงอยู่ที่คณะรัฐประหาร

ผลสำคัญประการที่สองคือเมื่อคณะรัฐประหารประสงค์จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อจัดทำเสร็จ ก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อลงพระปรมาภิไธยก็เท่ากับพระมหากษัตริย์สละอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาที่ประชาชนอีก

สรุปคืออำนาจอธิปไตยที่เป็นอำนาจตามกฎหมายนั้นถ้าไม่อยู่ที่ “พระมหากษัตริย์” แล้ว.. . ก็อยู่ที่ “พระมหากษัตริย์กับประชาชน” เท่านั้น !

สภาพการณ์ในทางปฏิบัติที่ควรพิจารณาทางด้านนิติบัญญัติ ในการตราพระราชบัญญัตินั้น แม้กฎหมายจะผ่านรัฐสภามาแล้ว ก็ต้องให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยจึงจะเป็นพระราชบัญญัติ และพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจยับยั้งที่จะไม่ลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายได้ ในประเทศตะวันตก ถือว่าแม้พระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย แต่ก็มีจารีตประเพณีว่าพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจนั้น

ดังที่ปรากฏในอังกฤษ ว่าตั้งแต่ปี 1807 ที่ควีนแอนน์ทรงยับยั้งกฎหมายเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ไม่ปรากฏว่ากษัตริย์อังกฤษเคยยับยั้งร่างกฎหมายอีกเลย แต่ในไทยประเพณีการปกครองที่คนไทยยอมรับแตกต่างกับในอังกฤษอย่างสิ้นเชิง หากพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย หรือมีพระราชดำริให้แก้กฎหมาย องค์กรตามรัฐธรรมนูญพึงดำเนินการตามพระราชวินิจฉัยนั้น แม้โดยปกติพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ แต่เมื่อทรงใช้ องค์กรตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมาก็ปฏิบัติตาม

ดังจะเห็นได้จากพระราชกระแสที่มีพระบรมราชวิจารณ์รัฐธรรมนูญ 2517 ว่าการให้องคมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตั้งสมาชิกวุฒิสภา เป็นการดึงพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวกับการเมือง

สภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2517 เมื่อปี 2518 ตามพระราชกระแส ซึ่งยังไม่เคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้ในประเทศอื่น แม้เมื่อประมาณปี 2535 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหมิ่นประมาทที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าจำกัดดุลพินิจศาล และไม่สอดคล้องกับเสรีภาพของสื่อมวลชน ก็ไม่ปรากฏว่ามีการลงพระปรมาภิไธย และไม่ปรากฏว่าเมื่อเกิน 90 วันไปแล้วมีการหยิบยกขึ้นโดยรัฐสภาเพื่อลงมติยืนยันแต่อย่างใด

จริงอยู่ รัฐบาลปัจจุบันมาจากการเลือกตั้ง สถานการณ์ไม่น่าจะนำไปเปรียบเทียบกับคณะรัฐประหารในอดีตได้ นี่ก็ขึ้นอยู่กับการตีความและอยู่ที่เจตจำนงของประชาชน เพราะ “ทรราช” มีได้หลายโฉมหน้า !

การได้อำนาจรัฐที่มาจากการเลือกตั้งดำเนินการฉ้อฉลสารพัดสารพันถึงที่สุดแล้วก็ไม่ต่างจากการรัฐประหารโดยเนื้อหา

เป็นการรัฐประหารด้วยอำนาจเงิน !

การแถลงนโยบายฝ่ายเดียว ท่ามกลางองค์ประชุมที่น่าสงสัยว่าจะไม่ครบนั้น ในทางทฤษฎีแล้ว – ขณะนี้ไม่มีรัฐบาล และอำนาจอธิปไตยที่ได้พระราชทานให้ปวงชนนั้นจึงกลับคืนไปสู่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิมมาก่อน 24 มิถุนายน 2475 โดยอัตโนมัติอีกครั้ง แต่ในทางปฏิบัติจะเป็นไปได้หรือไม่ – ก็อยู่ที่ประชาชนทั้งหมดแล้วว่าจะแสดงประชามติ “รับรอง” หรือไม่ ?

"โคทม" ผิดหวัง"แม้ว"โฟนอินเรื่องของตัวเอง ไม่ช่วยยุติรุนแรง

ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี ผิดหวัง "นักโทษชายแม้ว" โฟนอินเรื่องของตัวเอง ไม่ได้ช่วยยุติความรุนแรง ยังหวังให้ปรับเปลี่ยนความคิดสร้างสันติสุขให้ประเทศชาติ

นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การโฟนอินของพ.ท.ต.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากการจับใจความเนื้อหาก็พอรับได้ แต่ก็ค่อยข้างไปทางลบ ไม่ได้ช่วยให้เกิดการคลี่คลายสถานกรณ์ความรุนแรงในประเทศได้เลย พ.ต.ท.ทักษิณ พูดถึงสถานะของตัวเองตลอด ไม่ได้ย้ำให้เกิดการยุติความรุนแรงแต่อย่างใด หากจะให้เดาคงบอกได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีเป้าหมายที่จะกอบกู้ชื่อเสียงวงศ์ตระกูลของตนเอง อยากจะกลับเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ แม้จะเป็นเรื่องยากแต่ก็มีความพยายามที่จะเข้ามาในไทย

"ความรุนแรงจะเกิดขึ้นหรือไม่คงตอบไม่ได้ เพราะมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แต่การทำแกนนำพันธมิตร และนปช. ออกมาประกาศจะไม่ใช่วิธีรุนแรงหรือหลีกเลี่ยงการปะทะ ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี และผมยังคงหวังว่าคุณทักษิณ น่าจะมีส่วนช่วยให้ประเทศชาติ ประชาธิปไตย ด้วนสันติวิธีกลับคืนมาได้" ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี กล่าวทิ้งท้าย

นักวิชการอัด"แม้ว"ปลุกมวลชนขอพระราชทานอภัยโทษ

นักวิชาการนิด้า จวก “ทักษิณ” โฟนอินทำ “สังคมแตก” ปลุกมวลชน ฮือขอในหลวง อภัยโทษพ้นคุก ชี้ชัดทำไม่ได้ต้องเข้าตารางก่อน เชื่อทหารออก “ยึดอำนาจ” ก่อนบ้านเมืองพินาศ
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงท่าทีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ระบุในการโฟนอินว่าจะกลับไทยได้ด้วยพระบารมีและพระเมตตา ว่า ท่าทีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชัดเจนว่าจะใช้กระบวนการราชประชาสมาศัย ให้การช่วยเหลือให้ตัวเองพ้นผิด คือการให้ประชาชนรวมตัวกันเป็นจำนวนมากแล้วเรียกร้องให้ขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระมหากษัตริย์

"โดยหลักกฎหมายแล้วการขอพระราชทานอภัยโทษนั้นผู้นั้นต้องได้รับโทษอยู่ก่อนแล้วจึงจะขอพระราชทานอภัยโทษได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้พ.ต.ท.ทักษิณ แต่แนวทางนี้ก็ขัดรัฐธรรมนูญเพราะการจะนิรโทษกรรมนั้นจะทำเพื่อคนๆ เดียวไม่ได้"

อธิการบดีนิด้า กล่าวว่า ท่าทีการปลุกระดมของพ.ต.ท.ทักษิณ เห็นชัดว่าจะใช้กำลังคนที่สนับสนุนต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ตัวเองและพวกพ้อง โดยทำทุกอย่างไม่สนใจว่าบ้านเมืองจะเกิดความแตกแยกรุนแรงขนาดไหน เพราะคน 2 กลุ่มพร้อมจะปะทะกันมากขึ้น เชื่อว่าก่อนที่บ้านเมืองจะพินาศถึงขีดสุดทหารจะออกมาปฎิบัติการบางอย่างเพื่อยุติปัญหา