วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

Jakrapob’s Code : ถอดรหัสลับทรรศนะอันเป็นอันตราย




โดย อนันต์ เหล่าเลิศวรกุลคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


นานนับสัปดาห์ที่คุณจักรภพ เพ็ญแข ตกเป็นข่าวให้ผู้คนกล่าวถึง ภายหลังจากที่บทแปลปาฐกถาที่คุณจักรภพเคยแสดงไว้ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อเดือนกันยายน 2550 เผยแพร่สู่สาธารณะ ก็ก่อให้เกิดประเด็นให้ผู้คนกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่า ถ้อยคำและเนื้อหาที่คุณจักรภพแสดงปาฐกถาไว้นั้นเข้าข่าย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังแสดงความเห็นด้วยว่า ทรรศนะของคุณจักรภพ เพ็ญแขที่แสดงไว้ที่ FCCT เป็น “ทรรศนะอันเป็นอันตราย” ผู้เขียนสนใจใคร่รู้ว่าทรรศนะของคุณจักรภพที่กล่าวกันว่าเป็นอันตรายนั้นมีลักษณะอย่างไร จึงได้ลองวิเคราะห์ปาฐกถาของคุณจักรภพอย่างเป็นวิชาการตามแนวทางอักษรศาสตร์ดู


ข้อตกลงเบื้องต้น


เนื่องจากปาฐกถาที่ FCCT บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ตามที่จะยกมานี้ เมื่อต้องยกตัวอย่าง ผู้เขียนจะยกโดยใช้คำแปลภาษาไทยซึ่งผู้เขียนแปลเอง คำแปลที่ใช้ เลือกใช้วิธีแปลแบบเอาความซึ่งมุ่งความเข้าใจในบทพากย์ภาษาไทยมากกว่าจะสนใจเก็บรักษาทุกถ้อยคำตามภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาต้นฉบับ การวิเคราะห์ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า คุณจักรภพเป็นผู้รู้ภาษาอังกฤษระดับดีมากจนสามารถสื่อความคิดที่ซับซ้อน เรียบเรียงออกมาให้เข้าใจง่ายด้วยภาษาง่ายๆ และสามารถโต้ตอบกับผู้ฟังได้คล่องแคล่ว ผู้เขียนไม่สนใจประเมินภาษาอังกฤษของคุณจักรภพว่า เป็นภาษาที่สวยงามหรือไม่ ถูกไวยากรณ์มากน้อยเพียงใด คำที่ใช้ใช้ตามแบบเจ้าของภาษาอย่างรู้จริงหรือไม่ เนื่องจากผู้เขียนต้องการวิเคราะห์ทรรศนะหรือความคิดของคุณจักรภพมากกว่าจะวิเคราะห์ตัวภาษาในฐานะที่เป็น form หรือพาหะของความคิด


โครงสร้างเนื้อหาปาฐกถาที่ FCCT


หัวข้อปาฐกถาของคุณจักรภพที่ FCCT คือ Democracy and Patronage System of Thailand—ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ของไทย คุณจักรภพแสดงโดยเหลือบดูบทร่างเป็นระยะๆ ปาฐกถานี้มีเนื้อหาเป็นเอกภาพอย่างยิ่ง เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ


ส่วนที่ 1 ว่าด้วยประวัติและพัฒนาการระบบอุปถัมภ์ของไทยในสมัยสุโขทัยมาจนถึงปัจจุบันอย่างย่อๆ ส่วนนี้คุณจักรภพพยายามวิเคราะห์ให้เห็นรากเหง้าของระบบอุปถัมภ์ของไทยและผลกระทบที่มีต่อวิกฤติการเมืองของไทยในปัจจุบัน


ส่วนที่ 2 เป็นบทสรรเสริญความกล้าหาญ พ.ต.ต. ทักษิณ ชินวัตร ที่กล้าเผชิญหน้ากับระบบอุปถัมภ์อย่างซึ่งๆ หน้า และผลงานบริหารราชการแผ่นดินของ พ.ต.ต. ทักษิณ ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทย และ


ส่วนที่ 3 เป็นคำประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดแจ้งและแรงกล้าของคุณจักรภพว่า คุณจักรภพและพวกจะทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทยให้ภินท์พังลงแบบชนิดขุดรากถอนโคน และตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้นในช้าไม่นานหลังจากนี้


Patronage System : คำที่มีสถิติใช้สูงสุด


คำที่เป็น key word ในปาฐกถาที่ FCCT ของคุณจักรภพคือ patronage system ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับ key word ของคุณจักรภพดังนี้


1) คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system รวมจำนวน 24 แห่ง (ไม่นับที่เป็นชื่อหัวข้อปาฐกถาและที่ปรากฏในส่วนคำถามคำตอบท้ายปาฐกถา) และใช้คำว่า patronizeจำนวน 7 แห่ง


2) โดยทั่วไป patronage มักแปลว่า ความอุปถัมภ์ patronage system แปลว่า ระบบอุปถัมภ์ ส่วน patronize แปลว่า อุปถัมภ์, อุปถัมภ์ค้ำจุน, ช่วยเหลือ, เกื้อกูล


Patronage System : คำความหมาย 2 นัยยะ


คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ในความหมายที่แตกต่างกัน 2 นัยยะ ดังนี้


นัยยะที่ 1 : patronage system คือ “ระบบที่ยอมรับความแตกต่างของฐานะของคนในสังคมระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้ใหญ่และผู้น้อยมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลกันและอำนวยประโยชน์แก่กัน”


ตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบ win-win ทั้งผู้เกื้อกูลและผู้รับประโยชน์เกื้อกูล ส่วนผู้ที่ไม่ win ด้วย คือ ผู้น้อยคนอื่นที่ไม่ได้รับประโยชน์เกื้อกูลด้วย ดังนั้นระบบอุปถัมภ์จึงไม่ใช่ระบบที่ยืนอยู่บนความคิดเสมอภาค แต่ก็ไม่ถึงกับขัดหรือแย้งกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยในลักษณะที่จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ประการสำคัญตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่อุดมการณ์ทางการเมือง ไม่ใช่ระบอบการปกครอง แต่เป็นระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม และไม่ใช่ระบบที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย ปัจจุบัน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และหลายชาติของเอเชียก็ยังมีระบบนี้อยู่


คุณจักรภพใช้ patronage system ตามนัยยะนี้เพียง 2 แห่ง ทั้ง 2 แห่งใช้เมื่อกล่าวถึงตนและครอบครัวซึ่งเติบโตขึ้นมาในสังคมไทยที่มีระบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดังนี้


I myself grew up in patronage system.—ตัวผมเองเติบโตขึ้นมาภายใต้ระบบอุปถัมภ์


He grew up in patronage system too.—เขา (หมายถึงบิดาของคุณจักรภพ) ก็เติบโตขึ้นมาในระบบอุปถัมภ์เช่นกัน


นัยยะที่ 2 : patronage system ตามนัยยะที่ 2 เป็นความหมายเฉพาะของคุณจักรภพ ซึ่งผู้เขียนจะวิเคราะห์ในลำดับต่อจากนี้ไปว่ามีความหมายเฉพาะว่าอย่างไร คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ตามนัยยะนี้มากถึง 21 แห่ง มีแห่งเดียวที่กำกวม ไม่แน่ใจว่าคุณจักรภพใช้คำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 หรือนัยยะที่ 2


ทำไม patronage system ของคุณจักรภพจึงได้มี 2 นัยยะ ?


ตามปรกติคำที่เราใช้สื่อสารกัน แม้ว่ามี form เดียวกัน แต่ผู้ใช้ภาษาอาจใช้ในความหมายแตกต่างกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่มีความหมายเชิงนามธรรม ความหมายที่แตกต่างกัน อาจเกิดจากสาเหตุที่ผู้ใช้เข้าใจความต่างกัน ตีความต่างกัน หรือผู้ใช้กำหนดความหมายของคำให้แตกต่างกันก็ได้ เช่นคำว่า แม่ชี คนกลุ่มหนึ่งอาจตีความเคร่งครัดตามหลักพุทธศาสนาเถรวาทว่า ไม่ใช่นักบวช เป็นฆราวาส มีฐานะเพียงอุบาสิกาซึ่งถืออุโบสถศีล หรือ ศีล 8 แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งอาจตีความตามความเข้าใจของคนไทยปัจจุบันว่า แม่ชีเป็นนักบวชหญิงในพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยๆ


ตามความรู้รัฐศาสตร์ที่คุณจักรภพได้ร่ำเรียนมา คุณจักรภพย่อมรู้จัก patronage system ตามนัยยะที่ 1 อย่างดี แต่คุณจักรภพเลือกที่จะกำหนดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ทำให้คำนี้มีความหมายเฉพาะแตกต่างกับความหมายตามนัยยะที่ 1 หลายประการ ดังนี้


1) เป็นระบบที่ผู้น้อยเป็นฝ่ายพึ่งพิงหรือคอยเฝ้ารับประโยชน์เกื้อกูลแต่ฝ่ายเดียว ในทำนองเดียวกัน ผู้ใหญ่ก็เป็นฝ่ายเกื้อกูลเพียงลำพัง ส่งผลให้ผู้คน ask about dependency before our own capability to do things—ร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย


2) เป็นระบบที่ฝ่ายที่คอยเฝ้ารับประโยชน์หรือพึ่งพิงต้องจ่ายค่าตอบแทนความเกื้อกูลด้วย ความจงรักภักดี และเป็นระบบที่คุณจักรภพคิดว่า มีแต่เฉพาะในประเทศไทย จึง makes Thai people different from many peoples around the world…So people had duty to be loyal.— ทำให้คนไทยแตกต่างกับผู้คนอื่นใดในโลก…ดังนั้นประชาชนจึงมีหน้าที่ต้องจงรักภักดี


3) เป็นระบบที่ฝ่ายเกื้อกูลคือพระมหากษัตริย์ ส่วนฝ่ายเฝ้ารับประโยชน์คือสามัญชน


คุณจักรภพเชื่อมโยงความคิดอย่างมีชั้นเชิงโดยเริ่มต้นกล่าวว่า …we have started off as a country in patronage system—เราตั้งต้นด้วยการเป็นประเทศที่อาศัยระบบอุปถัมภ์ แล้วก็กล่าวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ที่โปรดให้แขวงกระดิ่งร้องทุกข์ไว้หน้าวัง จักรภพมองว่า ประชาชนที่ไปสั่นกระดิ่ง คือผู้เมื่อเดือดร้อนก็ที่ไม่ยอมพึ่งตนเอง แต่กลับไปรับประโยชน์อุปถัมภ์จากพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพแสดงทรรศนะว่า นี่เป็นเหตุให้ผู้คน …are led into the patronage system—เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์


นั่นหมายความว่า คุณจักรภพกำหนดความหมาย ผู้ใหญ่กับผู้น้อยให้แคบลงมากว่าความหมายของ patronage system ตามนัยยะที่ 1 คือ ผู้ใหญ่ที่ให้ความอุปถัมภ์คือพระมหากษัตริย์ ส่วนผู้น้อยที่คอยเฝ้าแต่จะรับการอุปถัมภ์โดยไม่พึ่งพาตนเองคือประชาชนทั่วไป


4) เป็นระบบที่ทำให้คนไทยคิดว่า we don’t actually need democracy. We are led into believing that the best form of government is guided democracy, or democracy with His Majesty greatest guidance…which I see as a clash or the clash between democracy and patronage system.— คนไทยเราจึงไม่ได้ปรารถนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราถูกชักนำให้เชื่อว่า รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือ ประชาธิปไตยแบบชี้นำ หรือประชาธิปไตยภายใต้การชี้นำอย่างมากมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน


5) เป็นระบบที่ is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย


ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณจักรภพจะใช้คำว่า patronage system เป็นคู่ตรงข้ามกับ democracy หรือ ประชาธิปไตย คุณจักรภพจึงแสดงทรรศนะว่า ระบบอุปถัมภ์กับประชาธิปไตยไม่อาจอยู่ร่วมกันได้


คุณจักรภพวิเคราะห์ว่า Current political crisis in my opinion is the clash between democracy and patronage system directly.— ในทรรศนะของผมวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันเป็นการปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์


และแสดงความชื่นชม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรว่า เป็นผู้ทำลายระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย …what he did was to release people from patronage system, but when the most crucial decision comes, even him, made the decision out of patronage system. So the deep root of the patronage system is here…—สิ่งที่ท่านนายกฯ ทักษิณทำเป็นการปลดปล่อยประชาชนออกจากระบบอุปถัมภ์ เมื่อได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ ท่านก็ตัดสินใจออกจากระบบอุปถัมภ์ แต่ระบบอุปถัมภ์ได้หยั่งรากลงลึกเสียแล้ว


เมื่อจบปาฐกถาผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้ถามคำถามย้อนคุณจักรภพเกี่ยวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรกับระบบอุปถัมภ์ว่า


Wasn’t it as much patronage under Taksin Shinawatra? Doesn’t he rely on patronage to bring people on board as well?— ก็มีระบบอุปถัมภ์อย่างมากมายในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มิใช่หรือ ? ทักษิณเองก็อาศัยระบบอุปถัมภ์ดึงประชาชนมาเป็นพวกอย่างมากเหมือนกันมิใช่หรือ ?


คำถามดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ตั้งคำถามเข้าใจคำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 ซึ่งผู้ให้ความอุปถัมภ์อาจเป็นใครก็ได้ ตามนัยยะนี้ ผู้ถามจึงเข้าใจว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จัดเป็นผู้ใหญ่คนสำคัญที่ให้ความอุปถัมภ์แก่ผู้น้อยคือประชาชน เป็นคนละนัยยะกับของคุณจักรภพ เพราะตามนัยยะของคุณจักรภพ ผู้ใหญ่ในระบบอุปถัมภ์จำกัดว่าเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น


Patronage System = Monarchy ???!!!


คำว่า patronage มาจากต้นศัพท์ภาษาละตินว่า pater แปลว่า “พ่อ” คำว่า pater เป็นคำร่วมเชื้อสายกับคำว่า father ในภาษาอังกฤษ


ทันทีที่คุณจักรภพเริ่มกล่าวถึงต้นพัฒนาการของ patronage system คุณจักรภพก็กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great father แทนคำว่า พ่อขุน ดังนี้


In Sukhothai…we were led to know and believe that one of the kings during Sukhothai period, King Ramkhamhaeng, at the time, to be more precisely “Great Brother” –er I’m sorry “Great Father Ramkhamhaeng”— สมัยสุโขทัย…เราถูกชักนำให้เชื่อว่ากษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยสุโขทัยคือพระเจ้ารามคำแหง หรือที่ถูกต้องคือ พี่ขุน อ้อ ขอโทษครับ พ่อขุนรามคำแหง


คำว่า พ่อขุน มีความหมายเหมือนคำว่า king จากคำปาฐกถาของคุณจักรภพ คุณจักรภพก็รู้ดี เมื่อรู้ดีเช่นนั้นทำให้เกิดคำถามว่


า ทำไมคุณจักรภพไม่ใช้คำว่า King Ramkhamhaeng แต่กลับเจตนาใช้ Great father Ramkhamhaeng ?


คำตอบที่เป็นไปได้มี 2 ทาง


คำตอบทางที่ 1 : คุณจักรภพต้องการแปลให้ตรงกับภาษาไทย พ่อขุนรามคำแหง = Great father Ramkhamhaeng ถ้าคำตอบเป็นคำตอบนี้ จะทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่า ใช้ Great father Ramkhamhaeng สื่อความคิดดีหรือมีประสิทธิภาพกว่า King Ramkhamhaeng อย่างไร ? คำตอบที่จะให้แก่คำถามหลังนี้ หาไม่พบจากปาฐกถาของคุณจักรภพหรือแม้แต่จากที่อื่นๆ


ถ้าเช่นนั้น ลองพิจารณาคำตอบทางที่ 2


คำตอบทางที่ 2 : มีความเป็นไปได้สูงมากว่า คุณจักรภพรู้ว่าต้นศัพท์ของ patronage คือ pater ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายกับ father คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great Father Ramkhamhaeng แทน king Ramkhamhaeng เพื่อที่จะบ่งเป็นนัยๆ อย่างชาญฉลาดแก่ผู้ฟังว่า


patronage = Great Father = king


คุณจักรภพสร้างตรรกะดังกล่าวก็เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือการกำหนดความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ซึ่งเป็น key word ในปาฐกถาว่า ไม่มีนัยยะที่ 1 แต่มีนัยยะที่ 2 คือ “ระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญในสังคม เป็นระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบความอุปถัมภ์ในรูปของความช่วยเหลือเพียงน้อยนิดแก่ประชาชนเพื่อแลกกับความจงรักภักดีและแลกกับการคงดำรงอยู่ในฐานะสูงสุดในทางการปกครอง” ความหมายใหม่นี้เองทำให้คุณจักรภพกล่าวว่า ระบบอุปถัมภ์นั้น is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้วิเคราะห์ระบบคิดของคุณจักรภพได้ว่า


เมื่อ Patronage = Great Father = King


การอุปถัมภ์ = พ่อขุน = กษัตริย์


ดังนั้น Patronage System = King system = Monarchy


ระบบอุปถัมภ์ = ระบบกษัตริย์ = ระบอบกษัตริยาธิปไตย


เมื่อลองนำคำว่า monarchy ไปแทนที่คำว่า patronage หรือ patronage system ซึ่งใช้ตามนัยยะที่ 2 และใช้จำนวนมากถึง 21 แห่ง ก็พบว่า แทนที่กันได้และเข้ากับเนื้อความได้สนิทเป็นอย่างดี


When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the PATRONAGE SYSTEM because we ask about dependency before our own capability to do things.


When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the MONARCHY because we ask about dependency before our own capability to do things.


ดังนั้น ข้อความข้างต้นแทนที่จะแปลว่า


—ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์เสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย


ที่ถูกควรแปลว่า


—ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่งพระองค์ผู้เดียวซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบอบกษัตริยาธิปไตยเสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย


ที่สำคัญเมื่อแทนที่ patronage system ทำให้เข้าใจกระจ่างกว่าด้วยซ้ำว่า เหตุใดคุณจักรภพจึงแสดงตัวอย่างเฉพาะความอุปถัมภ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบแด่ประชาชน โดยเว้นไม่อภิปรายถึงความอุปถัมภ์ลักษณะอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างขุนนางผู้ใหญ่กับขุนนางผู้น้อย นายกับบ่าว ฯลฯ ในกรณีสังคมเก่า หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน รุ่นพี่กับรุ่นน้อง นักการเมืองกับหัวคะแนน ฯลฯ ในกรณีสังคมปัจจุบัน


“โอกาสที่สูญเสียไป” ในทรรศนะของจักรภพ ?


คุณจักรภพคิดว่า ระบบอุปถัมภ์ หรือให้ตรงกว่านั้น ระบอบกษัตริยาธิปไตย มีกำเนิดและหยั่งรากฝังลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ใน “ระยะเวลาที่ยาวนาน” ของประวัติศาสตร์ระบบอุปถัมภ์หรือระบอบกษัตริยาธิปไตย การครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ด้วย เวลาที่ยาวนานทำให้ประชาชนแยก perception หรือ การรับรู้ ไม่ออกว่า เป็น ความจริง หรือเป็น ปะรำปะราคติ


And then, here we are in the reign of the current King, King Bhumibhol or Rama IX. We have all of that combined. And because he reigns for so long of a time, 60 some years now, his being in Thailand has been promoted to the state of myth. People don’t know whether or not they’re talking about realities or belief about him. Because he reigns long enough that he could be all of those combined: the traditional King, the scientific King, the developing King, the working monarch, and now so, he can still be the guardian of the new invention to Thailand, democracy.


— ขณะนี้เราอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน รัชกาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือรัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์รัชกาลนี้มีทุกประการที่ผมได้กล่าวมาแล้วรวมกัน เนื่องจากพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานกว่า 60 ปีแล้ว ประชาชนจึงยกพระองค์ขึ้นสู่เทวตำนาน โดยมิพักรู้เลยว่า พวกเขากำลังกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เป็นบุคคลจริงหรือเป็นบุคคลในความเชื่อปะรำปะราคติ ด้วยว่าพระองค์ทรงครองราชย์ยืนนานมาจนทรงสามารถเป็นได้ทุกอย่างรวมกัน ทั้งกษัตริย์ที่สืบคติต่อกันมา กษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ กษัตริย์นักพัฒนา กษัตริย์ผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และทุกวันนี้ ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย


ข้อความตอนท้ายที่ว่า ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่คุณจักรภพต้องการให้ผู้ฟังใช้วิจารณญาณตรองอีกครั้งว่าเป็น reality หรือ belief จากนั้นคุณจักรภพต่อความคิดทันทีว่า


We missed some opportunities in the past like when Predee Panomyong, the civilian leader of the revolution of 1932, 2475 for Thai people, that the system was turned from absolute monarchy into constitutional monarchy.


— ในอดีตเราสูญเสียโอกาสอย่างในสมัยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำพลเรือนในการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ.1932 หรือ พ.ศ. 2475 กลายเป็นว่า เป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูไป


คุณจักรภพเจตนาใช้คำว่า civilian leader ขยายคุณสมบัติของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อย้ำว่าว่าบุคคลที่คุณจักรภพเพิ่งกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ผู้นำ ซึ่งคุณจักรภพคิดว่านั่นเป็นเพียง myth หรือ belief


ดังนั้น โอกาสที่สูญเสียไปในทรรศนะของคุณจักรภพคือ ทั้งๆ ที่ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำพลเรือน แต่ก็มิได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริยาธิปไตยให้กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พลเรือนเป็นทั้งผู้นำรวมถึงทั้งประมุขของรัฐ


คุณจักรภพเชื่อสนิทใจว่า ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) ขัดแย้งกันโดยตรง จึงได้กล่าวหนักแน่นภายหลังว่า


WE have to undo it. WE have to personalize patronage system by saying that, well, who keeps patronizing people. And I believe that the time is near to do that.


— พวกเราต้องแก้ไข พวกเราต้องเปลี่ยนแปลงระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) โดยช่วยกันตั้งคำถามว่า ใครกันที่เฝ้าวนเวียนแต่คอยหยิบยื่นความอุปถัมภ์แก่ประชาชน ผมเชื่อว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว


คำถาม 2 คำถามสุดท้ายมีว่าคำว่า we หรือ พวกเรา หมายถึงใครแน่ ? หมายถึง คุณจักรภพในฐานผู้แสดงปาฐกถารวมทั้งผู้ฟังปาฐกถา ? หมายถึงประชาชนคนไทยทั่วไป ? หรือหมายถึง คุณจักรภพ กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และผู้แวดล้อมวงในทั้งหมด ??? กับคำถามว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว คือ วันนี้หรือพรุ่งนี้ ?


คำตอบมิได้อยู่ในสายลม และเป็นคำตอบที่ “ฟ้ารู้ ดินรู้ เรารู้ ท่านรู้” และแน่นอน บุรุษชื่อ จักรภพ เพ็ญแข ก็รู้ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก็รู้ นอกจากนี้ ศาลท่านจะรู้หรือไม่ ? และจะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้หรือไม่ ? และเมื่อคนไทยรู้แล้วจะคิดหรือทำอะไรเป็นประการต่อไป ???


วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

"สมศักดิ์"สวมวิญญาณชาวนาจวก"ทักษิณ"คิดขายชาติ


เครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศเดินหน้าต่อต้านแนวคิดอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ชักนำนักลงทุนประเทศดูไบ มาร่วมทุนตั้งบริษัททำนาโดยให้ชาวนารับจ้างในราคาไร่ละ 5 พันบาท

นอกจากนั้น นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดที่จะชักชวนนักลงทุนต่างชาติมาปลูกข้าวในไทยถือว่าเป็นแนวคิดของการ "ขายชาติ" กระทรวงเกษตรฯไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านถึงที่สุด เพราะการเกษตรเป็นวัฒนธรรมที่ผูกติดกับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ทุกครั้งที่ชาติและสังคมได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ภาคการเกษตรเท่านั้นที่ช่วยรักษาชาติไว้
"ตอนนี้ก็ยังไม่ถึงขั้นสิ้นไร้ไม้ตอก ขนาดที่ต้องพึ่งต่างชาติมาลงทุนทำนาให้ ถ้ามองไม่เห็นความสำคัญของภาคการเกษตร แถมยังชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน กระทรวงเกษตรฯขอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง อย่ามองแง่ธุรกิจ ผลประโยชน์เท่านั้น จะทำให้ความเป็นชาติ พินาศ สลายไปอย่างแน่นอน อยากให้ทุกคนที่มีแนวคิดดังกล่าวน้อมนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมาใส่เกล้าใส่กระหม่อมบ้าง ว่าจะคิดรักษาชาวนาไว้อย่างไร อย่าคิดเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง
ยิ่งมองเห็นรูปแบบวิธีคิดแล้ว เป็นการทำลายล้างชาวนา และเกษตรกรให้หมดไปจากแผ่นดิน มีอย่างที่ไหนจะรวบรวมเอานักวิชาการและเกษตรกรไปรับจ้างปลูกข้าวไร่ละ 5 พันบาท ไม่คิดถึงหัวอกชาวนาไม่มีที่นาของตนเองจะทำบ้างหรือ กว่า 62%ในพื้นที่ภาคกลางต้องเช่านาทำ ต่อไปเจ้าของที่ดินก็ไล่ชาวนาออกไป แล้วไปจ้างพวกนี้มาทำนาให้ไร่ละ 5,000 บาท ชาวนาจะอยู่ที่ไหน ใครจะรักษาชาวนา การชวนชาวต่างชาติมาลงทุน ภาคอุตสาหกรรม หรือภาคอื่นๆ มีอีกเยอะ อย่ามาทำลายภาคการเกษตรเลย"
อย่างไรก็ตามยังมีกฎหมายที่คุ้มครองอาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพสงวนอยู่ ถ้ากระทรวงเกษตรฯ ไม่ร่วมมือก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งการจะยกเลิกกฎหมายได้นั้น ต้องนำเข้าสู่สภา ตนก็อยากจะดูว่าเมื่อ เวลานำเข้าสู่สภาแล้วผู้แทนราษฎรคนไหนจะยกมือสนับสนุน แล้วก็จะได้รู้กัน ทำไมเมื่อก่อนนี้ผลผลิตทางการเกษตรไม่ดีถึงไม่มาคิด และวันนี้ประเทศที่จะมาลงทุนปลูกข้าวเป็นประเทศมหาเศรษฐีทางน้ำมัน รู้ว่าวิกฤตโลกกำลังเกิดจากการขาดอาหาร ทำไมถึงคิดช้า

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

'ถ้าไม่มีความยุติธรรม บ้านเมืองก็จะล่มจม'

เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 15 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ พระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 118 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่
โอกาสนี้ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแก่บรรดาผู้พิพากษา ความว่า ผู้ที่จะทำหน้าที่ผู้พิพากษาได้ปฏิญานตน อย่างเข้มแข็งนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะว่าบ้านเมืองต้องมีผู้พิพากษาต้องมีผู้ที่รักษาความยุติธรรม ต้องมีศาลเพื่อที่จะรักษาความยุติธรรมนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะว่า ในบ้านเมืองถ้าไม่มีความยุติธรรม บ้านเมืองก็จะล่มจม และสำคัญท่านทั้งหลายได้ตั้งใจที่จะทำหน้าที่นี้ ซึ่งท่านจะทำหน้าที่ท่านได้เตรียมตัวไว้แล้วอย่างดี คือท่านได้เรียนรู้ และเตรียมตัวที่จะทำหน้าที่
หน้าที่นี้เป็นการทำสิ่งที่เป็นความยุติธรรม คำว่า ยุติธรรมนี้ หมายความว่าเป็นคนที่จะวางตัวให้ดี วางตัวให้ตรง วางตัวที่จะทำอะไรที่ตรงไปตรงมา ในโรงศาลเองก็จะต้องทำ แต่นอกโรงศาลก็จะต้องทำ ถ้าทุกแห่งท่านจะต้องทำตัวให้ดี ให้ยุติธรรม เพราะว่า ผู้ที่เป็นผู้พิพากษา เป็นตัวอย่างของความดี ความดีของผู้ที่จะวางตัวให้ดี หรือวางตัวให้ตรง วางตัวให้ยุติธรรมคือวางตัวให้ดี ที่ดีๆลำบาก เพราะว่า ถ้าท่านทำอะไรที่ตรงไปตรงมา คือแบบไม่มีอะไร ไม่มีปัญหา
แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ความตรงไปตรงมานี้อยู่ที่ไหน ความตรงไปตรงมาคือทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านจะทำ ในเวลาทำหน้าที่และมอบหน้าที่ จะต้องวางตัวให้ดี หมายความว่า แต่ละท่านจะต้องพยายามที่จะทำเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน ทำเป็นตัวอย่างที่ดี แสดงให้เห็นว่าไม่มีอะไรที่อยู่เหนือความยุติธรรม
บางทีคนที่เป็นผู้พิพากษาเข้าใจว่า จะทำความยุติธรรมนั้น เวลาขึ้นศาลในโรงศาล แต่ไม่ใช่อย่างนั้น จะต้องทำตัวอย่างในเวลาทุกเมื่อ ถ้าทำตัวอย่างในเวลาทุกเมื่อนั้น ท่านจะเป็นผู้พิพากษาที่ดี ก็พูดยากว่า จะทำอย่างไร การที่เป็นตัวอย่างที่ดี ท่านคงได้เห็นว่า มีผู้พิพากษาในโรงศาล และนอกโรงศาลด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่ท่านลำบากเพราะว่า ถ้าท่านวางตัวให้ดีนอกโรงศาลด้วย อันนั้นจะเป็นผู้พิพากษาที่ครบถ้วน
ถ้าท่านทำอย่างนั้นได้ คนก็จะเชื่อถือ คนเชื่อถือได้ ก็หมายความว่า ประเทศชาติมีขื่อมีแปได้ทุกเมื่อ อันนี้สำคัญ ฉะนั้นขอให้ท่านได้วางตัวให้ดี สิ่งที่ได้เรียนรู้ไว้ สิ่งที่ได้ฝึกฝนไว้ให้ปฏิบัติดีทุกเมื่อ อันนี้สำคัญ ถ้าปฏิบัติตนให้ดีทุกเมื่อก็จะทำให้มีหลักมีเกณฑ์ในบ้านเมือง อันนี้สำคัญ
ถ้าท่านทำอย่างนี้ทุกคน ประชาชนทุกคนก็จะรู้ว่า ในบ้านเมืองมีความยุติธรรม แล้วก็ท่านก็เป็นตัวอย่างของความมยุติธรรม สิ่งที่ทำยากเพราะว่าจะต้องมีความรู้ จะต้องมีความสามารถในตัว ฉะนั้นที่พูดซ้ำซากอย่างนี้ ก็เพราะว่า เป็นสิ่งที่ยากที่จะวางตัวให้ยุติธรรม ถ้าวางตัวให้ยุติธรรมประชาชนจะเห็นว่าในเมืองในบ้านเมือง มีคนที่ดี และถ้าทำได้ก็เชื่อว่าบ้านเมืองจะอยู่เย็นเป็นสุขได้
ที่ขอร้องให้ท่านเป็นตัวอย่างเป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม เป็นสิ่งที่ช่วยบ้านเมืองให้ปลอดภัยได้ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ง่ายว่า เพราะต้องเสียสละมากๆ ความเสียสละของผู้พิพากษา เป็นสิ่งที่ทำยากแต่ถ้าทำได้ ท่านก็เป็นตัวอย่างของความดี ท่านก็เป็นผู้ที่เป็นประกันของความยุติธรรมของศาล และเป็นผู้จะสามารถรักษาความยุติธรรมให้บ้านเมือง ถ้าทำได้แล้วท่านก็จะเป็นคนที่ดี เป็นคนที่ช่วยบ้านเมืองให้อยู่ได้ ให้ปลอดโปร่งได้ ขอให้ท่านได้พยายามทำ เพื่อที่ให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป มีขื่อมีแปก็หมายความว่ามีความสุข ความยุติธรรม
ถ้าท่านรักษาความยุติธรรมได้แท้ๆ ท่านจะเป็นผู้ที่ได้ทำ ได้ช่วยให้บ้านเมืองอยู่ได้ ถ้าไม่มีความยุติธรรมบ้านเมืองอยู่ไม่ได้ เพราะคนก็จะสงสัยอยู่เสมอ จะต้องไม่ให้มีความสงสัยในบ้านเมือง แต่บ้านเมืองต้องมีแต่ความยุติธรรม
ฉะนั้นก็ขอร้องให้ท่านได้พยายามและรักษาความยุติธรรมแท้ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่เชื่อว่า ท่านตั้งใจจะทำ ก็ขอให้ท่านตั้งใจรักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง การรักษาความยุติธรรมในบ้านเมืองนี้ก็เหมือนกับง่ายๆคือ ท่านเป็นผู้พิพากษา ถ้ารู้จักความเป็นผู้พิพากษาสักนิดเดียวก็จะไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ฉะนั้นขอให้ท่านรักษาความยุติธรรมในบ้านเมืองตามความรู้ที่ท่านได้ฝึกฝนมาด้วยการเรียนและการปฏิบัติ แต่ว่า ถ้าทำได้ก็จะเป็นเรื่องดี แต่ก็เป็นเรื่องที่ยาก ถ้าทำได้ท่านก็จะเป็นวีรบุรุษของบ้านเมืองเป็นผู้ที่รักษาความยุติธรรม
ฉะนั้นขอให้ท่านวางตัวเป็นวีรบุรุษรักษาความเรียบร้อยของบ้านเมือง ดูเหมือนว่า ให้ท่านรักษาหน้าที่ที่วางอยู่บนหัวของตัวเองก็เป็นเรื่องที่ขอร้องให้ท่านรักษาความดีให้อยู่กับตัวเองทุกเมื่อทั้งอยู่ในโรงศาลและนอกโรงศาล
ขอให้ท่านสามารถที่จะทำ ทำให้บ้านเมืองเรียบร้อยอยู่เย็นเป็นสุข อยู่รอด ท่านอาจจะนึกอยู่ในใจว่า ทำไมท่านจะต้องรักบ้านเมืองอยู่คนเดียวเป็นภาระที่ต้องรับเพราะว่า ท่านเลือกที่จะทำหน้าที่นี้ต้องทำให้ดีก็ขอให้ท่านได้ทำหน้าที่ให้สำเร็จเรียบร้อย ถ้าทำได้แล้วท่านก็จะมีความพอใจแล้วท่านก็จะเป็นคนที่นับถือได้
ความที่คนนับถือนี้สำคัญมากการทำให้คนนับถือนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าทำได้แล้วท่านเองก็จะมีความพอใจตลอดต่อไป ขอให้ท่านรักษาศักดิ์สิทธิ์ของศาลของระบบยุติธรรม ขอให้ท่านทำสำเร็จ
ถ้าทำสำเร็จท่านจะมีความดีตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ท่านได้ทำหน้าที่ผู้พิพากษาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ท่านก็จะเป็นคนดี การที่เป็นคนดีนี้ดูเหมือนพูดง่ายๆแต่ว่าไม่ใช่ง่ายคนดีต้องมีความดี คนดีจะต้องรักษาไว้ ก็ขอให้ท่านเป็นคนดี เป็นคนดีแล้วท่านก็จะมีความภูมิใจเป็นความภูมิใจตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายก็ถือว่า เป็นเกียรติท่านตายก็จะสบาย ท่านตายได้สบาย
ขอให้ท่านจงถือว่าได้มีคนดีอยู่ในชาติบ้านเมืองเพราะว่าท่านได้เกิดมาดีแล้วทำงานดีเป็นผู้พิพากษา

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

"รัฐบาลลูกกรอก1" : ปลุกเสกจากทารกที่หมดอายุขัย


"ธีรยุทธ" : ตั้งฉายารัฐบาลสมัคร
"รัฐบาลลูกกรอก1" : ปลุกเสกจากทารกที่หมดอายุขัย
หมยเหตุ : นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ แถลงข่าววิเคราะห์การเมืองไทย วิพากษ์จุดแข็งจุดอ่อนและโอกาสรัฐบาลพลังประชาชน แนวโน้มอนาคตการเมืองไทยและทางออกปัญหา โดยตั้งฉายา รัฐบาลหมัก เป็นรัฐบาลลูกกรอก 1 ปลุกเสกจากทารกที่หมดอายุขัย มี “รักเลี๊ยบ-ยมมิ่ง” เป็นผู้นำคณะลูกกรอก

สถานการณ์โลกกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เศรษฐกิจอเมริกา ถดถอย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเอเชีย ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในหัวรถจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก มีการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านเศรษฐกิจการเงิน ด้านวัฒนธรรม ด้านประชากร ฯลฯ ใหม่หมด ไทยต้องปรับโครงสร้าง (restructuring) ตัวเอง เพื่อฉวยประโยชน์ให้มากที่สุด เนื่องจากประชากรเอเชียที่ร่ำรวยขึ้นมีจำนวนมาก ทำให้อาหาร และวัตถุดิบราคาสูงขึ้น เป็นโอกาสที่ดีของภาคเกษตรวัตถุดิบของไทย
ไทยยังมีความสามารถเป็นผู้นำด้านวัฒนธรรม การบริการ การแพทย์ และการท่องเที่ยว ที่จะเติบโตขึ้นอีกมหาศาลได้
ในทางภูมิศาสตร์ไทยยังเป็นศูนย์กลางทางคมนาคม ขนส่งและจัดการสินค้าวัตถุดิบ (logistic hub) ได้ดีดังนั้น รัฐบาลต้องฉวยโอกาสนี้ให้ดี อย่าหมกมุ่นกับการแก้ปัญหาตัวเอง
ทั้งนี้ จุดแข็ง จุดอ่อน พรรคพลังประชาชน นั้น
จุดอ่อน ก็อยู่ตรงที่นโยบายประชานิยม ซึ่งเกิดข้ออ่อนหลายอย่าง คือ
1.การจัดตั้งรัฐบาลต้องเอาตัวแทนจากท้องถิ่นมาเป็นรัฐบาลมากขึ้น จึงขัดแย้งกับชนชั้นกลางใน กทม. และตัวจังหวัดใหญ่ต่าง ๆ ที่คาดหวังการตั้งรัฐบาลที่มีผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพเป็นหลัก
2.ระบอบพรรคการเมืองไทยอยู่กับการซื้อเสียงจ่ายเงินให้ชาวบ้าน จึงต้องถอนทุนคืน การคอร์รัปชันในสมัยรัฐบาลชุดนี้จะนำไปสู่การคัดค้านของสังคมอย่างกว้างขวาง และขยายตัวเป็นการขับไล่รัฐบาลได้
3.จะเกิดความขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างจอมขมังเวท กุมารทอง และบรรดาลูกกรอก ในรัฐบาลสมัคร
4.ทั้งพวกรักทักษิณ และพวกคัดค้านทักษิณ มีกลุ่มที่มีความคิดสุดขั้วแฝงอยู่ ในพวกรักทักษิณ มีสุดขั้วเชิงอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนประเทศอย่างสุดโต่ง ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้ความขัดแย้งในสังคมเกิดเร็วขึ้น และขยายตัวได้ง่าย
5.ปัญหาเศรษฐกิจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อ บุคลากรของ พปช. ขาดความเป็นมืออาชีพ อาจทำให้ปัญหาแรงขึ้นกลายเป็นจุดอ่อนสำคัญของรัฐบาลได้

ฉายารัฐบาลสมัคร : รัฐบาลลูกกรอก
ฉายารัฐบาลสมัคร เป็นรัฐบาลลูกกรอก 1 เพราะรัฐบาลสมัคร มีลักษณะเป็นผู้มีอาคมปลุกเสกจากทารกที่หมดอายุขัยไปแล้วให้กลับมามีอิทธิฤทธิ์ ควบคุมจิตใจให้ซื่อสัตย์ จงรักภักดี คอยช่วยทำงานให้ โดยที่ พปช. โดนกล่าวหาว่าเป็น “นอมินี” ของพรรคไทยรักไทย ซึ่งแปลว่าหุ่นเชิด นั้นไม่ตรงนัก เพราะหุ่นไม่มีชีวิตจิตใจ โดยนอมินี มักเป็นบุคคลที่อ่อนวัยวุฒิกว่า ด้อยคุณวุฒิ ความฉลาดน้อยกว่าเจ้าของแต่มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีสูง จึงควรแปล “ นอมินี” ว่า “ ลูกกรอก”
ลูกกรอกคณะนี้มีระดับผู้นำอยู่ 2 ตน คือ “รักเลี้ยบ – ยมมิ่ง” มีฤทธิ์เดชฉกาจฉกรรจ์ ส่วนหัวหน้าคณะลูกกรอกมี 2 ตน เป็น “กุมารทองคะนองฤทธิ์” ตนที่หนึ่งเป็นกุมารทองคะนองปาก คิดอะไรก็พูดอย่างนั้นทันที จนสร้างศัตรูไปทั่วทุกกลุ่ม กุมารทองตนที่ 2 “กุมารทองคะนองอำนาจ” ชอบอยู่กระทรวงที่มีอำนาจ เชื่อมั่นว่าอำนาจจะสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องเกรงใจใคร
รัฐบาลคณะลูกกรอก แม้จะมีฤทธิ์เดช แต่ด้อยวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความสามารถกว่าจอมขมังเวทผู้เป็นเจ้าของ จึงทำให้ความชอบธรรมไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น สองกุมารทองผู้นำก็ทะเลาะกับผู้คนไปในทุก ๆ เรื่อง ทำให้รัฐบาลตกอยู่ในฐานะมีตำแหน่งอำนาจได้แต่ปกครองไม่ได้ ภายใน 6 เดือนถึง 1 ปีคาดว่าจะโดนผู้คนต่อต้านหนักมากขึ้น แต่รัฐบาลน่าจะอยู่ได้ยาวกว่านี้เพราะความชอบธรรมที่มีพื้นฐานมาจากการเลือกตั้ง

การเมืองไทยกำลังเข้าสู่วัฏจักรนักการเมืองชั่วครองเมือง
ส่วนแนวโน้มอนาคตการเมืองไทยว่า ต้องระวังที่ประเทศไทยอย่ากลับไปสู่วัฏจักรวิบัติที่ก้าวจากยุค คมช. สู่ยุค ชคม. คือ ยุคนักการเมืองชั่วครองเมือง ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการตราหน้าบุคคลหรือคณะบุคคลเป็นการเจาะจง แต่เป็นการเตือนนักการเมืองโดยรวมอย่างจริงจังว่าอย่าก้าวไปสู่จุดนั้น ซึ่งจะเป็นความเสียหายร้ายแรงมากกว่าทุกครั้งในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งในอดีตการเมืองไทยตกอยู่ภายในวงจรอุบาทว์ คือมีการซื้อเสียงเลือกตั้งนำไปสู่รัฐบาลเลือกตั้ง ซึ่งคอร์รัปชันกว้างขวางเพื่อถอนทุนคืน จนผู้คนเอือมระอา เกิดการปฏิวัติ นำไปสู่การต่อต้านคัดค้านของพลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แล้วเกิดการเลือกตั้งซื้อเสียงเป็นวงจรไปเรื่อยๆ
ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์ “ทุน” และ “ความคิดเสรีนิยม” ขยายตัวไร้ขอบเขต จนทะเลาะกับชุมชน สถาบันสังคมต่าง ๆ และยังเป็นการเมืองยุคประชานิยม ปัญหาจึงกินลึกลงไปอีกกลายเป็นวัฏจักรวิบัติ มี คมช. จากการปฏิวัติ เกิดการต่อต้านจากฝ่ายประชาธิปไตย และรากหญ้า จนมีเลือกตั้ง ตั้งรัฐบาล ซึ่งเกือบทุก ๆ ชุดจะโกงกินมโหฬารและใช้อำนาจบาตรใหญ่ และปิดกั้นไม่ให้มีการตรวจสอบลงโทษ กลายเป็นยุค ชคม. นักการเมืองชั่วครองเมือง ซึ่ง ชมค.จะถูกต่อต้านจากชนชั้นกลาง ภาคสังคม ประชาชนที่ต้องการรักษาคุณธรรม และความสมดุลให้สังคม ปฏิเสธการขยายอำนาจอย่างไม่มีขีดจำกัด จนกลายเป็นความขัดแย้งวุ่นวาย เกิดการปฏิวัติ หรือ คมช. ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ฝ่ายประชาธิปไตยเลือกตั้ง และกลุ่มรากหญ้าอีกเกิดเป็นวนเวียนเป็นวัฏจักรจนในที่สุดเกิดเป็นความขัดแย้งเชิงซ้อน ซึ่งนอกจากความขัดแย้งประชาธิปไตยกับเผด็จการ ความขัดแย้งเสรีนิยมสุดขั้วกับสถาบันต่าง ๆ ในประเทศแล้ว จะเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับชนชั้นกลางในเมือง กลายเป็นความขัดแย้งของคนทั้งชาติอีกด้วย
เราผ่านวิกฤติทักษิณมา 1 รอบที่ได้สร้างผลเสียแก่ประเทศมากมหาศาล และหากรัฐบาลยืนกรานแก้รัฐธรรมนูญ ให้ตัวเองพ้นผิด พวกพ้องหลุดจากคดี ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤติรอบ 2 แต่เนื่องจากครั้งนี้ประเทศมีปัญหามากมาย ความขัดแย้งเริ่มต้นจะไม่เข้มข้นเท่าครั้งก่อน แต่จะยืดเยื้อยาวนาน ไม่มีคนแพ้คนชนะ รัฐบาลจะปราบปรามประชาชนก็ไม่ได้ พันธมิตรก็ไม่มีข้ออ้างล้มรัฐบาล ทหารก็ต้องไม่รัฐประหารอีกต่อไปแล้ว

10แนวโน้มสู่ความรุนแรง
เวลานี้ประเทศมีปัจจัยที่เอื้อให้อยู่ในความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ประเทศอยู่ในแนวโน้มสูงว่าจะเกิดความรุนแรงมี 10 ประการ คือ
1. การมองปัญหาอย่างแยกส่วนตัดตอน โดยความสมานฉันท์คนในชาติหลังจากเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ จะเกิดขึ้นได้ต้องสร้างให้มีพื้นที่แห่งความเข้าใจร่วมกันก่อน ซึ่งควรจะมองเหตุการณ์อย่างไม่บิดเบือน และเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจริง ไม่มองแบบแยกส่วน แต่จุดนี้ยังมองต่างกันอย่างมากคือ สังคมไทยโดยทั่วไปมองต้นตอเกิดจากการคอร์รัปชัน และการใช้อำนาจยับยั้งไม่ให้มีการตรวจสอบการคอร์รัปชันของรัฐบาล ทรท. สิ่งที่คตส. ป.ป.ช. ได้ทำมา คือการเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง (facts) แก่สังคม และศาล
ทักษิณ และพวกพ้องจะผิดหรือไม่ผิดขึ้นอยู่กับศาลจะเป็นผู้ตัดสิน แต่กลุ่มกองเชียร์ทักษิณ มองปัญหาเลื่อนมาอยู่ที่เผด็จการรัฐประหาร และใช้วิธีการไม่ให้เรื่องไปจบลงที่ศาล โดยการแก้รัฐธรรมนูญ เปลี่ยนแปลงองค์กรอิสระ เมื่อมองต่างกัน ใช้ตรรกะต่างกัน วิกฤติก็ไม่จบ
2. วัฒนธรรมไทยไม่เอื้อต่อการแก้วิกฤติ สังคมไทย ซึ่งไทยเป็นสังคมกลุ่มอุปถัมภ์ และนิยมวัฒนธรรมการใช้อำนาจ เราไม่ได้แก้ปัญหาโดยใช้กฎระเบียบกติกา โดยในอดีตเรามีวัฒนธรรมแบบศรีธนญชัย แต่ปัจจุบันได้เกิด “วัฒนธรรมศรีตะแบงไช” คือบรรดานักการเมืองผู้มีอำนาจส่วนใหญ่ได้พัฒนาตัวเองเป็นหลวงศรีตะแบงไช ด้วยการตะแบงการตีความกฎหมาย อำนาจ และผลประโยชน์แล้ว ยังชอนไชทะลุทะลวงกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งสถาบัน องค์กรอิสระ กระบวนการทางกฎหมาย และยุติธรรมอย่างต่อเนื่องด้วย
หัวโจกใหญ่ของบรรดาหลวงศรีตะแบงไช ก็คือตะแบงชะเวตี้ ที่ “ตะแบง” ตั้งแต่เรื่องซุกหุ้นว่าบกพร่องโดยสุจริต แต่ก็ยังซุกหุ้นตัวเองไว้ในกองทุนต่างประเทศต่อมาอีกเกือบสิบปี ตะแบงว่าช่วยเหลือต่างประเทศ แต่กลับเอาเข้าพกเข้าห่อตัวเอง ตะแบงว่าจะเปิดเสรีคมนาคม แต่ประโยชน์กลับเข้าบริษัทของครอบครัว ตะแบงว่าจะไม่ยุบสภา แต่ก็ยุบสภา ตะแบงว่าจะไม่เล่นการเมือง แต่ก็ชักใยพรรคการเมืองใหม่ และเตรียมสร้างภาพพจน์ล้างมลทินตัวเองอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งคนกลุ่มตะแบงชะเวตี้ นี้จะทำให้เสียบ้านเสียเมืองในที่สุด
3. กลไกแก้ไขปัญหาทางสังคมคือการใช้เหตุผล โดยสื่อมวลชน นักวิชาการ ผู้นำทางความคิดใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน เพราะความหลากหลายมีมาก และการแบ่งขั้ว ดึงดันเอาชนะกันสูงมากเกินไป เมื่อคนไม่เชื่อเหตุและผลก็จะหันไปหาความรุนแรงได้ง่าย
4. พรรคการเมืองแตกขั้ว คนไม่ศรัทธาในกระบวนการแก้ปัญหาของรัฐสภาที่ปกป้องคนโกง โดยเฉพาะนับตั้งแต่กรณีคอร์รัปชัน CTX 9000 เป็นต้นมา
5. กลไกข้าราชการมีส่วนซ้ำเติมปัญหาให้เป็นวิกฤติรุนแรงขึ้น เพราะเกิดโลภคติในผลประโยชน์ เกิดภยาคติกลัวสูญเสียตำแหน่ง ไม่ยอมทำหน้าที่ของตัวเอง
6. โดยปัจจัยทางสังคมจิตวิทยา ในภาวะสับสนขาดความชัดเจนในโครงสร้างอำนาจ และข้อมูลข่าวสารที่เรียกว่าการไม่ลงรอยในการรับรู้ เช่น ครม. ควรจะมีอำนาจ แต่คนรับรู้ว่ายังมีผู้มีอำนาจจริงอยู่อีกชุดหนึ่ง หรือพลเอกเปรม (ติณสูลานนท์) ที่เกษียณอายุไปนานแล้ว แต่ยังมีความเชื่อว่ายังคุมอำนาจในกองทัพอยู่ สภาพเช่นนี้จะเกิดคำนินทาว่าร้าย ข่าวลือได้ง่าย เกิดจิตวิทยามวลชน เชื่อกันไปปากต่อปาก พัฒนาเป็นความเชื่อว่าแต่ละฝ่ายคิดการร้าย หรือมีแผนการที่ชั่วร้ายอยู่ นำไปสู่ความเกลียดชังและพัฒนาเป็นความรุนแรงในที่สุด
7. คนไทยอยู่ในความตึงเครียดมานาน เบื่อหน่ายกับการเมือง ส่งผลให้ขีดความอดทนลดต่ำลง เกิดความรุนแรงได้ง่าย ดังจะเห็นได้จากกรณีตีหัวทนายความ กระโดดถีบในสภา ขว้างปาอิฐหินใส่ผู้ชุมนุม โชว์ของลับ ฯลฯ
8. ภาวะดังกล่าวทำให้คนไทยอ่อนไหวต่อสิ่งที่มากระทบต่อความเชื่อร่วม (collective belief) อาทิเช่น อุดมการณ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จากเรื่องเล็กพัฒนาเป็นเรื่องใหญ่ได้ ต้องมองปัญหาอย่างมีสติ อดกลั้น ปัญหาเหล่านี้เคยเกิดมาในหลายประเทศ ถ้าเป็นคดีความศาลมักต้องชั่งน้ำหนักสัดส่วนระหว่างสิทธิเสรีภาพบุคคล ซึ่งกำลังขยายตัว กับสิทธิความเชื่อของกลุ่ม
9. ระวังกระบวนการสร้างคนไทยด้วยกันเป็น “พวกอื่น” กระบวนการนี้ทางปรัชญามองว่าเกิดจากการจินตนาการภาพขึ้นจากสิ่งชั่วร้ายในจิตใจ ที่เราคิดขึ้นเองไปให้กับคนที่ต่างไปจากเราในภาวะสับสน ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นคนไทยด้วยกันเองจะถูกมองเป็นคนอื่น พวกอื่น ดังเช่นสมัย 6 ตุลาคม 2519 นักศึกษาโดนสร้างภาพเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นปีศาจ เป็นยักษ์มาร เป็นต้น
10. ความต่างเชิงวัฒนธรรมระหว่างประชากรภาคต่าง ๆ อาจโดนวิกฤติครั้งนี้นำไปสู่ความขัดแย้งร้าวลึกได้
รัฐบาลต้องหาทางแก้ไขทั้ง 10 ปัจจัยความรุนแรงดังกล่าว ที่สำคัญเฉพาะหน้าคือต้องแยกม็อบระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายรักทักษิณออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันความรุนแรงที่พร้อมจะขยายตัวดังกล่าวมาแล้ว

ทางออกการเมืองไทยสร้างประชาธิปไตยสมดุล
ทางออกของการเมืองไทย ที่ขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงอีก ทางออก ในเชิงปฏิบัติ คือ พปช. ต้องทำตามหน้าที่ของตัวเองที่ได้รับจากการเลือกตั้ง คือการบริหารประเทศให้ได้ดี เพราะมีฐานเสียงที่หนักแน่น มีโอกาสเป็นรัฐบาลต่อเนื่องหลายสมัยอยู่แล้ว ไม่ควรรีบร้อนแก้รัฐธรรมนูญ แล้วบ้านเมืองก็หมดปัญหา ส่วนคตส.และป.ป.ช. ก็เร่งทำคดีอย่างเต็มที่ และถ้าศาลได้พิจารณาคดีความต่าง ๆ อย่างเที่ยงตรงยุติธรรมและรวดเร็วทันกาล ก็จะคลี่คลายปัญหาลงไปได้
ส่วนเชิงโครงสร้างวิกฤติที่ยังดำรงอยู่ เป็นปัญหาระหว่างกลุ่มทุนเลือกตั้งผนวกกับชาวบ้าน ภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตยเลือกตั้ง ขัดแย้งกับกลุ่มชนชั้นกลาง เทคโนแครต ชนชั้นนำไทย ภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตยที่มีการถ่วงดุล ตรวจสอบ ประเทศไทยได้พัฒนามาถึงขั้นที่ทั้งสองฝ่ายมีพลังทัดเทียมกัน จึงจะไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะได้เด็ดขาด ประเทศไทยดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยเลือกตั้งขยายอำนาจของตนตามอำเภอใจอย่างไม่มีขอบเขต และก็อยู่ไม่ได้เช่นกันถ้าจะหวนกลับไปสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือยุคอำมาตยาธิปไตย
ดังนั้น ทางออกเชิงโครงสร้างคือการอยู่อย่างสมดุล มีประชาธิปไตยสมดุล มีทั้งประชาธิปไตยเลือกตั้งซึ่งประชาชนยอมรับ และอำนาจตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญที่มีที่มาอิสระทำงานอย่างได้ผล ปราศจากอคติ และการเกรงกลัวภัยจากนักการเมือง ภาคสังคมและประชาชนเข้มแข็งในการตรวจสอบวิจารณ์รัฐบาลมากขึ้น

แก้ไขรธน.ต้องไม่ทำลายหลักปกครอง
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ทำได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม บนหลักการ 3 ข้อ คือ
1. สปิริตของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 คือจำกัดอำนาจบริหารไม่ให้ล้นเกิน และป้องกันการคอร์รัปชัน ซื้อเสียง แต่การจัดความสัมพันธ์อำนาจต่าง ๆ มีปัญหาอยู่บ้าง
2. รัฐธรรมนูญประเทศไทยปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 อำนาจคือ อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ และอำนาจตรวจสอบ ต้องเคารพลักษณะหน้าที่ขอบเขตของแต่ละอำนาจ จัดวางความสัมพันธ์แต่ละอำนาจให้ถูกต้อง จำแนกแยะที่มาของอำนาจต่างๆ ให้ชัดเจนเหมาะสม
3. รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ซึ่งลงโทษยุบพรรคเมื่อกรรมการบริหารทำผิด ควรได้รับการถกเถียงอย่างกว้างขวางในนักวิชาการสายนิติศาสตร์ เพราะกฎหมายนี้ได้มีบทบัญญัติลงโทษกลุ่ม (collective) เมื่อบุคคลทำผิด จะเป็นการย้อนยุคหรือไม่ และจะบรรลุวัตถุประสงค์ป้องกันการซื้อเสียงหรือไม่ แต่การรีบร้อนแก้ไขของ พปช. เพื่อให้ตัวเองพ้นผิดก็ไม่ควรทำ เพราะเป็นการทำลายหลักการการปกครองโดยกฎหมาย (rule of law) เช่นกัน
การแก้รัฐธรรมนูญ ก็ควรสร้างบรรทัดฐานที่ดีในการแก้รัฐธรรมนูญ ให้ถูกต้อง อย่าให้เกิดประเพณีว่าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากสามารถแก้รัฐธรรมนูญได้ตามอำเภอใจ เพื่อประโยชน์ตัวเอง ควรให้ภาคสังคม ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ให้มีประชาพิจารณ์หรือมีประชามติ ให้มีกรรมการร่วมพรรคฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาลพิจารณาร่วมกัน ให้มี ส.ส.ร. 3 เป็นต้น

ดื้อ แก้ รธน.จุดชนวนความรุนแรงรอบสอง
กรณีที่รัฐบาลมีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้ เกรงว่าประเทศจะเข้าสู่วิกฤติรอบ 2 โดยกลุ่มที่เคยเข้ามาแก้ปัญหาการใช้อำนาจผิดพลาดโดยใช้รัฐธรรมนูญ คมช.จะมาประท้วงร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ จะเกิดความขัดแย้งแม้ไม่เข้มข้น แต่จะยืดเยื้อ ทวีความรุนแรง แม้เป็นเอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ส.ส. แต่ก็ต้องเป็นไปด้วยความถูกต้องชอบธรรม
ผมเป็นห่วงปัญหาการชุมนุมประท้วงที่ยืดเยื้อมีความรุนแรง จะเกิดการรัฐประหารย่อย ๆ หรือ “มินิคูเดอร์ต้า” ที่เป็นการขัดแย้งกันเองในหมู่ทหารที่เคยเกิดขึ้นในประเทศมีสิทธิจะเกิดขึ้นได้อีกในประเทศไทย เพราะประเทศที่มีการใช้นโยบายประชานิยม ก็เกิดการรัฐประหารบ่อย ๆ มีความรุนแรงระดับมวลชนเช่นกัน
ส่วนที่ผบ.ทบ.ออกมาประกาศยืนยันว่าจะไม่มีการปฏิวัติและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองนั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะประเทศชาติ บอบช้ำจากการปฏิวัติมามาก ดังนั้น การยืนยันจากผู้นำกองทัพ จึงสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน
อย่างไรก็ตามผมมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด จะเป็นชนวนเหตุให้ปัญหาลุกลาม ถ้ารัฐบาลยังดึงดัน ก็จะนำมาซึ่งความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ และเป็นจุดเริ่มต้นให้กองทัพอาจอ้างสถานการณ์ และเข้ามาแทรกแซงมายึดอำนาจอีกได้ แต่มองว่ายังเป็นเรื่องที่ไกล อีกหลายปีข้างหน้าจึงจะเกิดขึ้น
ต่อกรณีที่เคยมองว่าสังคมไทยเกิดความเสื่อมจากการที่ไม่ฟังผู้ใหญ่ ในบ้านเมือง แต่ พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร. ระบุว่า ขณะนี้ผู้ใหญ่กำลังพยายามแก้ไขวิกฤต นั้น ผมยังยืนยันว่าบ้านเมืองเราประสบภาวะความเสื่อมโดยให้ความสำคัญกับบทบาทผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส เป็นระดับชั้นนำเทคโนแครต น้อยลง แต่กระจายบทบาทไปสู่ทุกระดับชนชั้น ชาวบ้านพอใจกับ ส.ส.รากหญ้าที่มาจากการเลือกตั้งที่มาเป็นรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณวุฒิ วัยวุฒิน้อยลง จนไม่เกิดปรากฏการณ์เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ที่ออกมาพูดแล้วคนเกรงใจอีกแล้ว
แต่ผมมองว่าส่วนของสถาบันกองทัพ อาจยังมีความเกรงใจกันอยู่ โดยยังยึดเรื่องอาวุโสที่สูงกว่า และการเคารพตามสายบังคับบัญชา

ผลคดี“ทักษิณ”ทุจริตจะมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ส่วนความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน กลับมาทำงานการเมือง พร้อมชู พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นนายกฯ อีกครั้ง ก็เป็นอีกปัญหาที่คนมองว่า คดีในอดีตของรัฐบาลที่แล้วจะจบไป รวมทั้งมีการล้มและครอบงำองค์กรอิสระ หากจะแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นที่ดี คนก็อาจรับฟัง
อย่างไรก็ตาม คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตัดสินออกมาอย่างไร ย่อมมีคนบางกลุ่มไม่พอใจ แต่สังคมก็พยายามแก้วิกฤตทุกวิธีแล้ว ต้องถือว่า องค์กรอิสระที่ตั้งขึ้น คือ คตส. และ ป.ป.ช. ได้ค้นหาความจริงแล้ว ดังนั้น หากศาลตัดสินออกมาอย่างไร ทุกฝ่ายควรรับฟัง และหมดข้อยุติ ถ้าหากไม่จบ ก็ไม่มีกลไกสถาบันใดคลี่คลายได้
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ แม้จะมีทีมาจาก คมช.แต่ก็ผ่านกระบวนการลงประชามติ ถือว่าชอบธรรม แต่ก็มีข้อบกพร่อง สังคมควรใช้โอกาสนี้พูดคุยเพื่อว่าจะแก้ไขอย่างไร โดยใช้ความรู้ไม่ใช่ใช้อำนาจมาแก้ไข เพราะผิดวัตถุประสงค์คนจะไม่พอใจและไม่ใช่บรรทัดฐานที่ดี โดยข้อบกพร่องรัฐธรรมนูญคงเป็นในส่วนที่มาขององค์กรอิสระและวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มุ่งให้นักวิชาการเข้ามาเป็นองค์กรอิสระเหมือนกัน แต่รัฐธรรมนูญ 2550 เพิ่มให้ศาลเข้ามาก็ทำได้ แต่ต้องเป็นอำนาจตรวจสอบถ่วงดุล ไม่ใช่การใช้อำนาจบริหารเสียเอง มีการก้าวล่วงอำนาจกันอยู่เป็นข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข
ขณะที่กรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี งดให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ก็เป็นเรื่องดี เชื่อว่าจะช่วยคลี่คลายบรรยากาศทางการเมืองให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น เพราะถือว่าการที่นายสมัคร พูดเยอะนั้นเป็นไปตามฉายาที่ตั้งไว้ เป็นลักษณะทางบุคคลที่แก้ไขยาก
สำหรับกลุ่มประท้วงรัฐบาล จะมีความชอบธรรมที่จะคัดค้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ความชอบธรรมมีหลายด้าน หากรัฐบาลมีปัญหาเรื่องจริยธรรมคุณธรรม การคอร์รัปชัน ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ มีปัญหาที่วิวัฒนาการขึ้นมา หากใน 4 ปี รัฐบาลทำไม่ดีก็ชุมนุมประท้วงได้ แต่หากจะบานปลายถึงขั้นขับไล่รัฐบาลคงต้องเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ ถึงจุดนั้นประเทศก็เริ่มวิกฤตอีกครั้ง

TheCityJournal No 88 Vol 4