วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

เปิดโมเดลการเมืองใหม่ สภาประชาภิวัฒน์


(3)
สภาประชาภิวัฒน์
เป็นสภาประชาชน ด้วยการเปิดทางให้ประชาชนเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะการซื้อสิทธิ์ขายเสียง โกงการเลือกตั้ง จะไม่มีวันหมดไปจากสังคมการเมืองไทย ตราบใดที่โกงแล้วมีโอกาสได้ “ถอนทุน” คืน
นักการเมืองยิ่งไม่กลัวการตรวจสอบเพราะการเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก นั้น ยิ่งไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน
อย่างไรก็ตาม หากประชาชน มีสภาประชาภิวัฒน์ เป็นตัวแทนคอยควบคุมความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างใกล้ชิด ให้อยู่ในลู่ทางถูกต้อง ตัดเส้นทางโกงกิน ขายชาติ ของนักการเมืองชั่ว และนายทุนสามานย์ ก็จะไม่สามารถผูกขาดถอนทุนคืน การโกงเลือกตั้ง ก็จะเลิกซื้อเสียงไปเอง
ขณะเดียวกันสภาประชาชน ก็จะต้องเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนทั้งประเทศในสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สภาประชาภิวัฒน์ จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพราะติดวังวนการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ไม่จบสิ้น และถ้าเป็นผู้ที่มาจากการแต่งตั้งลอย ๆ ก็อาจจะเป็นการเปิดช่องให้แต่งตั้งพวกพ้องของตนเองเข้ามาโดยไม่มีความยุติธรรม ทำให้ขาดความสมดุลในโครงสร้างของตัวแทนประชาชน
ดังนั้น ที่มาของสภาประชาภิวัฒน์ จึงต้องมาจากการสอบคัดเลือกเข้ามา ด้วยการสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า (เหมือนการสอบในโรงเรียนของประเทศออสเตรีย)โดยกำหนดสัดส่วนจังหวัดละ 5 คน (375 คน) ส่วนกรุงเทพ ถือเป็นเมืองใหญ่ อยู่ใกล้ศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ ใกล้แหล่งข้อมูลข่าวสาร ให้มีตัวแทน 25 คน รวมแล้ว 400 คน
นอกจากนั้น สภาประชาภิวัฒน์ จะมาจากการสอบข้อเขียน และสอบปากเปล่า เพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวแทนวิชาชีพต่าง ๆ อีก 200 คน
เพื่อให้สภาประชาภิวัฒน์ มีความหลายหลาย จำเป็นต้องมีตัวแทนจากเด็กและเยาวชน (เหมือนฝรั่งเศส) จำนวน 150 คน ซึ่งจะต้องพิจารณาจากจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้สอบคัดเลือก และสอบปากเปล่า (สัมภาษณ์)
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน และราชวงศ์ และจำเป็นต้องกำหนดคุณลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับการพิจารณา นี้ ให้เป็นคุณสมบัติของข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุกประเภทด้วย
นอกจากนั้น คุณสมบัติของสมาชิกสภาประชาภิวัฒน์ ต้องไม่มีประวัติทำร้ายประชาชน ต้องไม่มีประวัติทุจริตคอร์รัปชัน โกงบ้าน กินเมือง

หน้าที่ของสภาประชาภิวัฒน์
1. เข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิ “วีโต้” มติสภาผู้แทนราษฎร ได้
2. เผยแพร่จัดอบรม สัมมนาทางสื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อความเข้าใจในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. ตรวจสอบการทำงานของข้าราชการประจำ และข้าราชการการเมือง ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน
4. ดำเนินการเรียกร้องความเป็นธรรมแทนประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ
5. ดูแลส่งเสริมจริยธรรม และวัฒนธรรมไทย

งบประมาณการจัดตั้งสภาประชาภิวัฒน์
ให้ใช้งบกลางของรัฐบาล ที่นายกรัฐมนตรี สามารถอนุมัติได้ ทันที
สมาชิกสภาประชาภิวัฒน์ มีวาระ 2 ปี ไม่มีเงินเดือนประจำ แต่มีเบี้ยประชุม สามารถเบิกค่าที่พัก ค่ายานพาหนะได้
ทั้งนี้ สมาชิกสภาประชาภิวัฒน์ สามารถประกอบสัมมาชีพ ได้ตามปกติ ไม่ต้องยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สิน
สมาชิกสภาประชาภิวัฒน์ ยังสามารรถช่วยเหลือก้องกัน เวลาที่ประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ สามารถใช้ความรู้ ส่งเสริมการเกษตรตามแนวพระราชดำหริ หรือโครงการหลวง ประสานให้ความรู้เหล่านี้ไปถึงประชาชนตามลักษณะของท้องถิ่น