วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกฯปล่อยม็อบเคลื่อนไหวเต็มที่

หมวดข่าว : การเมือง
โดยทีมข่าว : รัฐสภา
นายกรัฐมนตรี ประกาศเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลางสภา ลั่นปล่อยทุกกลุ่มเคลื่อนไหวเต็มที่ แต่ขอ 2 ข้อ ปกป้องสถาบันฯ -หยุดการใช้ความรุนแรง ให้เวลา 2 สัปดาห์ให้ 3 ฝ่าย "รบ.-ค้าน-ส.ว." ระดมแก้รธน.หวังสร้างกติกาใหม่ เผยพร้อมยุบสภาทันที
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 01.00 น. วันนี้ 24 เม.ย.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปิดการอภิปรายในการประชุมร่วมรัฐสภา ว่า ตลอด 2 วันที่ผ่านมาข้อมูลจากสมาชิกมีข้อมูลอาจจะทำให้ขัดเเย้ง เเต่ถือว่าเป็นการสะท้อนปัญหาเเละความรู้สึกส่วนหนึ่งของสังคม หากไม่ฟังจะเเก้ไขปัญหาได้ยาก เขาพร้อมจะรวบรวมความเห็นเเละเสียงสะท้อน เเละขอใช้เวลาอธิบายจุดยืน เเละการตัดสินใจของรัฐบาลในการทำงานว่าปัญหาที่เกิดขึ้นหากย้อนไปในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้ส.ส.อันดับที่สอง หากพรรคอันดับหนึ่งจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ก็ต้องใช้หลักสากลทั่วไป ประชาชนลงคะเเนน 30 ล้านคะเเนน ให้พรรคพลังประชาชน กับพรรคประชาธิปัตย์ 1 เเสนกว่าคะเเนน เเต่พรรคการเมืองที่เคยประกาศทำงานร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ เเต่ไปร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน นั้น ซึ่งเขาไม่ติดใจเเละก็ทำหน้าที่ฝ่ายค้าน
เเต่ความขัดเเย้งเกิดจากการเสนอเเก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ทำเพื่อตัวเองจนเกิดการชุมนุมประท้วง หากชุมนุมโดยสงบ อยู่ในกรอบกฎหมายก็เป็นสิทธิ เเต่สิ่งที่ผิดกฎหมายการล้อมสนามบินภาคใต้ หรือล้อมครม.ในการลงพื้นที่นั้น เขาเเสดงความไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด รวมทั้งเมื่อมีการบุกทำเนียบฯ เขาก็เเสดงความไม่เห็นด้วยไปเเล้ว
"การทำงานของรัฐบาลนำไปสู่ความขัดเเย้งเมื่อมีการประกาศ ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพราะคน 2 กลุ่มปะทะกันก่อนถึงทำเนียบฯ เเละหลายจังหวัดก็ปะทะกัน ผมบอกว่าหากจุดหนึ่งที่รัฐบาลบริหารราชการไม่ได้ เเละมีคนต่อต้าน การยุบสภาเป็นทางที่ดี เเละพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะเสียเปรียบ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินคดีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ ในเรื่องขัดเเย้งของผลประโยชน์ไม่ใช่การทำกับข้าว สภาก็เลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ เเต่ยังมีความวุ่นวายเกิดขึ้นเเละชุมนุมที่สนามบินจนมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อมาประธานรัฐสภา เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมาเจรจา เขาก็พร้อมเป็นคนกลาง นายสมชาย ขอบคุณผม เเต่รัฐบาลจะขอเเก้ปัญหาเอง...
...ช่วงนั้นผมหลีกเลี่ยงการเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก เพราะจะโดนกล่าวหาว่าเรียกร้องเพื่อตัวเอง เมื่อนายสมชาย พ้นตำเเหน่ง จากการยุบพรรคการเมืองมีการเปลี่ยนเเปลง สภาจะพิจารณาเลือกนายกฯ คนใหม่ ในต่างประเทศนั้น เมื่อพรรคอันดับหนึ่งทำงานไม่ได้ก็ต้องให้สมาชิกในสภาเลือกนายกฯ คนใหม่ ถามว่าผมมีความสุขในสภาวะเเบบนั้นหรือไม่ ผมไม่อยากให้มันเกิด เเต่มีมติสภาออกมาเเล้ว ผมก็ตั้งใจพิสูจน์ว่าจะทำงานให้ทุกคน ข้อกล่าวหารัฐบาลที่ว่าจะรักษาประโยชน์ให้บางกลุ่ม เเต่ 3 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลเลือกปฎิบัติอย่างไรบ้าง ก็ไม่มี มีการสร้างกระเเสต่างๆ มากมาย เร่งเเก้ปัญหาให้คนจน เเละด้อยโอกาส ก่อนรับมือวิกฤติเศรษฐกิจ กล่าวหาว่ารัฐบาลเกรงใจกองทัพ เเต่มันก็ไม่มี มันก็ช่วยให้การไม่ยอมรับลดลงไปบ้าง"
นายกฯ กล่าวอีกว่า เขาไม่ปฎิเสธว่าคนจำนวนมากรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในการจากรัฐประหาร เเละคนในสังคมจำนวนมากคลางเเคลงใจการทำงาน ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เเละจะตัดตอนจุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ เว้นเเต่จะยอมรับตรงกัน การชุมนุมต้านเขาภายใต้กฎหมาย เขาเปิดโอกาสเต็มที่ เเละหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เขาเคารพการใช้สิทธิ ก่อนการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มันมีการเปลี่ยนเเปลง การลุกลามบานปลายที่พัทยา นั้น เชื่อว่าประชาชนจำนวนมากที่ทำเนียบฯ ไม่เห็นด้วย เเต่เเเกนนำบางคนบอกจะไปล้อม เเละขัดขวางการประชุม และอาสาไปจับตนด้วย เเละต้องการให้เกิดเหตุเช่นนั้น เมื่อรัฐบาลเลื่อนประชุมเเต่ผู้ชุมนุมบุกโรงเเรมไปค้นหาเขา ก่อนหน้านั้นปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เเละอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
"ผมบอกไปหลายครั้งว่าพยายามไม่ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เเต่ปีที่เเล้วมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินไป 2 ครั้ง เเละนายกฯ มีสิทธิประกาศเเละให้ครม.เห็นชอบภายใน 3 วัน ฉะนั้น มันจึงมีความชอบในการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้เเต่บทบาทฝ่ายต่างๆ ไม่เหมือนกัน เเละใช้ไม่ได้ผลหลังการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้นั้น นายสมัครเเต่งตั้งผบ.ทบ.เป็นผู้ดูเเล ผบ.ทบ.บอกว่าป้องกันไม่ให้ประชาชนปะทะกันได้เเล้ว เเละไม่มีหน้าที่ตัดสินใจ เเละเมื่อนายสมชาย ประกาศใช้ โดยมอบรมว.มหาดไทย ตำรวจบอกว่าการเข้าไปทำหน้าที่ในสนามบินนั้นมีความเสี่ยง เเละหลัง 7 ต.ค.2551 ตำรวจไม่เเน่ใจตัวบทกฎหมาย...
...เมื่อผมประกาศใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ก็มอบให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ดูเเล เมื่อมีทหารมาดูเเลก็มีความเสี่ยง ผมประชุมหลายครั้ง เเละกำชับความเข้าใจว่า ผมมีหน้าที่รักษากฎหมายเจ้าหน้าที่รัฐต้องหยุดสภาวะจลาจล เเละผู้ที่ทำผิดกฎหมายเท่านั้น เเละผมจะไม่ใช้กฎหมายนี้ เเละความเสี่ยงในการเสียชีวิต เเละไม่เหมาะสมจะย้อนมาที่ผม โดยผมย้ำไปหลายครั้งเเล้ว ทุกคืนผมจะได้รับรายงานการชุมนุมว่ามีประชาชนมาเท่าใด เเละตัดสินใจว่าไม่สลายการชุมนุม เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในการไล่ล่า ทหารบอกว่ามีการยิงกันเเล้วจะยิงตอบโต้ได้ไหม ผมบอกว่า ไม่ได้ เเละขอให้อดทน ฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ ผมจะสั่งฆ่าประชาชน การปฎิบัติการก็ต้องมีสื่ออยู่ด้วยทุกครั้ง เกิดอะไรขึ้นต้องตรวจสอบเเละสอบสวนทุกคดี เเม้กระทั่งผู้ทำผิดกฎหมาย ผมย้ำว่าทุกกรณีต้องทำตามกฎหมายเท่านั้น"
นายกฯ กล่าวต่อว่า เขาขอเสนอว่า 1. รัฐสภาตั้งกรรมการขึ้นมาโดยนำข้อมูลที่เเคลงใจมาพิสูจน์ให้ความจริงออกมา มันจะพิสูจน์ความจริง เเละเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ขอรบกวนวิปสามฝ่ายนำไปหารือด้วย โดยรัฐบาลพร้อมสนับสนุน เขาเสียใจเล็กน้อยกับบางอย่างที่เกิดขึ้นเช่นกระทรวงมหาดไทย นั้น เสียงปืนดังหลังเขาโดนล้อม 20 - 30 นาที ขับรถชนรั้วจึงรอดออกมาได้ เขาไม่เคยคิดทำร้ายใคร เเต่ภาพที่เกิดขึ้นนั้นเขาไม่สบายใจ
2.ข้อกล่าวหาต่างๆ อาทิเช่น สองมาตรฐานนั้น มันมีหลายเรื่องเเต่ไม่เกิดในรัฐบาลเขา เเต่กลับมารวมเข้าในรัฐบาลของเขา ตัวเขาจึงหนักใจเรื่องความพอดี คือ คดีความของการชุมนุมที่ต่างๆ หลายคนที่คิดว่าคดีช้าคือทำเนียบและสนามบิน เเต่มันก็เร็วกว่าที่หลายฝ่ายมองไว้ ยืนยันว่ารัฐบาลเดินหน้าเร่งรัดเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมต่อไป แต่จะแก้ด้วยการยุบสภาหรือลาออกโดยยังมีปัญหาทางกฎหมายเเบบนี้ มันก็ไม่จบ เเละความอยุติธรรมหลายเรื่องไม่ได้เกิดสมัยเขา ส่วนจะลาออกหรือยุบสภาเพื่อรับผิดชอบ เขาก็พร้อมให้สภาตรวจสอบเมื่อมีข้อสรุปที่ชัดเจนก็รู้ว่าจะต้องตัดสินใจอย่างไร
ส่วนที่อ้างว่าการเลือกตั้งแล้วจะแก้ไขได้ ก็ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะถ้ายุบสภาวันนี้เราจะใช้กติกาอะไร ก็ใช้กติกาซึ่งหลายคนบอกไม่ยอมรับ หากยุบพรรคกันอีก ก็ยิ่งซ้ำเติมวงจรที่เป็นปัญหาขณะนี้ ทั้งนี้การเลือกตั้งจะเป็นทางออกได้ก็เมื่อบรรยากาศเอื้อที่จะหาเสียงได้โดยปราศจากความรุนแรง และการข่มขู่ การดูว่าประเทศประชาธิปไตย หรือไม่ก็ดูจากการเลือกตั้ง ถ้ามีเลือดมีตีกันไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
"พวกเรามีภาระปรับสภาพการเมืองให้หลุดจากสภาพการเมืองตรงนี้ก่อนไปเลือกตั้ง ผมได้ขอให้ทุกพรรคการเมือง รวมทั้งส.ว.ร่วมกันสรุปประเด็นในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่คิดว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เอามาวางตรงหน้าให้เห็นได้หรือไม่ ภายใน 2 สัปดาห์ แล้วให้ประธานสภาและวิป 3 ฝ่าย เอาข้อเสนอมาดูว่าจะให้ใครเป็นเจ้าภาพ จะเป็นกรรมการกลาง หรือการทำประชาพิจารณ์ ผมรับได้ทั้งสิ้น แล้วให้กลไกนี้ทำงานไป เมื่อแก้ไขกติกาเพื่อลดคามรุนแรง ถ้ามีกติกาใหมี่แล้วยุบสภา ผมก็ยินดี ไม่มีปัญหา เป็นทางออกเพื่อที่จะทำให้เราเดินไปข้างหน้า"
นายกฯ กล่าวต่อว่า ขอประกาศยกเลิกการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน วันนี้ ขอยืนยันว่าผู้ที่ชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ไม่มีการดำเนินการว่าฝ่าฝืน พ.ร.ก.แต่ถ้ามีผู้ใดยุยงให้ไปเผา ไปฆ่า ใช้ความรุนแรง ต้องว่าไปตามความผิดอาญา และเมื่อยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน สภาพการควบคุมตัวตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องสิ้นสุดลงด้วย ยืนยันว่าเขาตั้งใจว่าไม่เอาเรื่องนี้เอาชนะคะคานกวาดล้างหรือไล่ล่าทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น
"ผมอยากขอร้องใน 2 เรื่อง คือ 1. การปกป้องสถาบันฯ ไม่ว่าจะเป็นการจาบจ้วง หรือแอบอ้างต้องยุติด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย และต้องไม่สนับสนุน ล่าสุดอดีตนายกฯ ก็ยังให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ พาดพิงสถาบันฯ ซึ่งผมได้ตรวจสอบแล้วกับผู้ที่เกี่ยวข้องยืนยันว่าสิ่งที่อดีตนายกฯ พูดไม่เป็นความจริง รวมทั้งผมได้กำชับกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องว่าการปกป้องสถาบันฯ ต้องไม่ใช้เสื้อน้ำเงิน เพราะทุกสีต้องปกป้องสถาบันฯ ด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้ในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ต้องทำให้ชัดเจนในขอบเขตและแนวทางปฎิบัติเพื่อมิให้มีการดึงสถาบันฯ นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง"
เรื่องที่ 2. คือความรุนแรง ล่าสุดนายจักรภพ เพ็ญแข ได้ให้สัมภาษณ์บีบีซี ว่าต่อไปการเคลื่อนไหวอาจใช้อาวุธ ขอความกรุณาว่าถ้าหันหน้าเข้าหากันทุกคนทุกพรรคต้องไม่ยอมรับแนวทางนี้ ซึ่งถ้าตกลงได้ในเงื่อนไขนี้การชุมนุมแสดงออกได้อย่างเต็มที่เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย
"ผมติดตามการเตลื่อนไหวมาตลอด ไม่อยากให้คนจำนวนมากด้วยใจบริสุทธิ์มาต่อต้านความเป็นธรรม ถูกชี้นำไปโดยคนจำนวนเล็กๆ ที่พร้อมใช้ความรุนแรง มีการประกาศเป็นแผนคือทำให้เกิดความไร้ระเบียบ เพื่อให้รัฐบาลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจัดการได้ หรือยั่วยุให้รัฐบาลใช้ความรุนแรงตอบโต้เพื่อให้รัฐบาลเกิดปัญหา ผมเห็นแผนชัดเจน เพราะขนาดหมอดูยังฟันธงว่าผมวาสนาหมดแล้ว ถ้าเราออกจากกรอบไปได้ผมว่าเราเดินหน้าต่อไปได้ และขอโอกาสให้กับประเทศแก้ตัวจัดอาเซียนให้สำเร็จในเดือนมิ.ย. เพื่อกอบกู้ชื่อเสียงประเทศแล้ว"
นายกฯ ได้เรียกร้องให้เวลากอบกู้เศรษฐกิจถ้าเราทำได้ สิ่งที่นายจตุพร พรหมพันธ์ บอกว่าอยากให้นักการเมืองได้ทำหน้าที่จริงๆ ก็จะเป็นไปได้ ถ้าทำได้เขาจะถือว่าเราได้ใช้ก้าวสำคัญผ่านกระบวนการสภานำความสงบสุขกลับคืนมา เขาเข้ามาทำงานการเมือง มีเป้าหมายเพื่อรับใช้ประชาชน แต่สุขไม่ได้ ไม่เคยให้ความสำคัญจะอยู่ในตำแหน่งนานแค่ไหนอย่างไร เพราะยึดถือตลอดว่าเมืองไทยมีคนเก่ง คนดีเยอะ เราต้องไม่สำคัญตนว่าต้องเราเท่านั้นจึงจะทำได้ เมื่อเขามีความรับผิดชอบใดจะทำสิ่งเหล่านั้นให้ดีที่สุด

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

เย้ยพ.ร.ก.ฉุกเฉินยิงถล่ม"สนธิ"เจ็บ

หมวดข่าว : อาชญากรรม

โดย ทีมข่าว : อาชญากรรม

เย้ยกฏหมายพ.ร.ก.ฉุก มือปืนขับวีโก้ขนอาวุธสงคราม ทั้งอาก้า-เอ็ม 16 ยิงถล่ม "สนธิ ลิ้มทองกุล"แยกบางขุมพรหม กว่า 100 นัด เจ็บ 3 "สนธิ" รอดปาฏิหารย์ คมกระสุนพุ่งเข้าไหล่-เฉียดคิ้ว ตำรวจฟันธงมุ่งเอาชีวิต
บางขุนพรหม วันนี้ 17 เมษายน เวลา 05.30 น.ร.ต.อ.ประกอบ เย็นหลักร้อย พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม รับแจ้งเกิดเหตุคนร้ายยิงรถนายสนธิ ลิ้มทอง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ บริเวณหน้าวัดเอี่ยมวรนุช แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม.รุดไปตรวจสอบ โดยมีพล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 พ.ต.อ.ขิง แขวงวิเศษชัยชาญ ผกก.สน.ชนะสงคราม ที่เกิดเหตุ พบรถยนต์โตโยต้าอัลพาต สีดำ ทะเบียน วร 89 กทม.จอดนิ่งอยู่หน้าวัดเอี่ยมวรนุช สภาพด้านหน้ารถถูกยิงเป็นรูพรุน ฝากระโปรงหน้ารถมีรอยกระสุนกว่า 60 นัด กระจกด้านซ้ายและหลังแตกละเอียดทั้งบาน ยางทั้ง 4 ล้อแตกแฟบ พื้นถนนมีคราบน้ำมันไหลเจิ่งนอง ภายในรถพบคราบเลือดจำนวนมาก ส่วนผู้บาดเจ็บทราบชื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล ถูกนำส่ง รพ.วชิรพยาบาล และนายอดุลย์ แดงประดับ อายุ 28 ปี คนขับรถ และนายวายุภักดิ์ มัสธสินธุ์ อายุ 40 ปี ทั้งสองถูกนำส่ง รพ.มิชชั่น ตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืนสงครามทั้งอาก้าและเอ็ม 16 กว่า 100 นัด
สอบสวนพยานผู้เห็นเหตุการณ์ให้การว่า ขณะรถของนายสนธิขับมาตามถนนสามเสนมุ่งมาทางบางลำภู ได้มีรถของคนร้ายขับตามประกบ เป็นรถปิกอัพ โตโยต้าวีโก้ 2 ประตู สีบรอนซ์ทอง ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เมื่อมาถึงบริเวณใกล้กับปั๊มคาลเท็กซ์ สี่แยกบางขุนพรหม แล้ววิ่งแซงซ้ายไปจอดห่างจากรถของนายสนธิประมาณ 15 เมตร จากนั้นคนร้าย 2 คนที่หลบอยู่ด้านหลังรถกระบะได้นั่งประทับยิงใส่ล้อรถนายสนธิจำนวน 7 นัดเพื่อให้ยางแตกก่อนที่จะระดมยิงเข้าใส่รถของนายสนธิกว่า 100 นัด จากนั้นก็ขับรถหลบหนี โดยใช้เส้นทางมุ่งหน้าบางลำภู และพยานยังระบุว่าคนร้ายสวมเสื้อสีขาว กางเกงลายพราง อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุการณ์นายสนธิซึ่งนั่งอยู่เบาะกลางของรถคันเกิดเหตุลงมายืนดูก่อนที่จะมีรถเก๋งที่วิ่งตามมานำ ส่ง รพ.เบื้องต้นสันนิษฐานว่ามือปืนน่าจะเป็นมืออาชีพ และมุ่งหวังจะเอาชีวิตเป้าหมาย
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนเกิดเหตุนายสนธิเดินทางออกจากบ้านพักย่านสุโขทัยเพื่อไปบันทึกรายการ"มอนิ่งทอล์ก"เอเอสทีวี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เดินทางมาที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.45 น. ด้วยสีหน้าอิดโรยเล็กน้อย และตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงเหตุการณ์ลอบยิงนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า ได้รับรายงานแล้ว และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยที่โรงพยาบาลแล้ว

ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวเพียงสั้น ๆ ในเรื่องเดียวกันว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะแถลงเอง

เมื่อถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นเหตุทำให้รัฐบาลยังต้องคงประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวเลี่ยงว่า เดี๋ยวจะมีผู้ที่เกี่ยวข้องเขาออกมาแถลงข่าวเอง ถ้าพูดกันหลายคนจะสับสน

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า เหตุลอบยิงนายสนธิ จะมีผลกระทบต่อการพิจารณายกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่แต่เดิมจะมีการพิจารณาในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษที่จะมีขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 09.00 น.วันนี้ แน่นอน

ด้านเจ้าหน้าที่จากกองพิสูจน์หลักฐาน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุคนร้ายขับรถกระบะ โตโยต้า วีโก้ สีบรอนซ์ทอง ไม่ทราบทะเบียน ลอบยิงนายสนธิ ขณะนั่งอยู่ในรถตู้โตโยต้า แอลพาร์ด สีดำ ทะเบียน วล 89 กรุงเทพมหานคร ระหว่างเดินทางไปจัดรายการ Good Morning Thailand เมื่อช่วงเวลา 05.30 น. จนได้รับบาดเจ็บ พร้อมคนติดตามและคนขับรถที่มีอาการสาหัส โดยนายสนธิ ได้รับการส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลแล้ว เจ้าหน้าที่ได้เก็บหลักฐานเป็นปลอกกระสุนปืน ชนิดอาก้า และเอ็ม-16 ซึ่งตกอยู่ในที่เกิดเหตุจำนวนมาก ขณะที่ตำรวจเชื่อว่าเหตุลอบยิงในครั้งนี้คนร้ายมีเป้าหมายต่อชีวิตของนายสนธิ

ทั้งนี้ จากการสอบถามพยานที่เห็นเหตุการณ์ เป็นคนขับรถประจำทาง สาย 53 ระบุว่า เห็นคนร้ายยิงเข้าที่บริเวณกระจกหน้ารถจำนวน 2 นัด ก่อนหลบหนีไป ล่าสุด พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลวชิรพยาบาลแล้ว

นอกจากนี้พยานผู้เห็นเหตุการณ์ให้การว่า ขณะรถของนายสนธิ ขับมาตามถนนสามเสน มุ่งมาทางบางลำภู ได้มีรถของคนร้ายขับตามประกบ เป็นรถปิกอัพ โตโยต้าวีโก้ 2 ประตู สีบรอนซ์ทอง ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เมื่อมาถึงบริเวณใกล้กับปั๊มคาลเท็กซ์ สี่แยกบางขุนพรหม แล้ววิ่งแซงซ้ายไปจอดห่างจากรถของนายสนธิประมาณ 15 เมตร จากนั้นคนร้าย 2 คนที่หลบอยู่ด้านหลังรถกระบะได้นั่งประทับยิงใส่ล้อรถนายสนธิจำนวน 7 นัดเพื่อให้ยางแตกก่อนที่จะระดมยิงเข้าใส่รถของนายสนธิกว่า 100 นัด จากนั้นก็ขับรถหลบหนี โดยใช้เส้นทางมุ่งหน้าบางลำภู และพยานยังระบุว่าคนร้ายสวมเสื้อสีขาว กางเกงลายพราง

"บรรณวิทย์" แนะรัฐสรุปบทเรียนป้องกันจลาจลซ้ำ

พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เปิดเผยว่าขณะนี้แม้ว่าเหตุการณ์จลาจลจะได้ยุติลงแล้ว แต่อย่าเพิ่งคลายใจ เพราะยังมีการชุมนุมอยู่ที่สนามหลวง และพร้อมจะกลายเป็นการจลาจลได้อีก รัฐควรสรุปบทเรียนป้องกันเหตุร้ายก่อน ดีกว่าที่จะตามไปแก้ไขทีหลัง
พลเรือเอก บรรณวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีประกาศกฎหมายบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ แต่ม็อบทักษิณก็ยังคงฝ่าฝืนและยังคงชุมนุมกลุ่มย่อยอยู่ที่สนามหลวง มีการใช้วิทยุชุมชนปลุกระดมอยู่ตลอดเวลา โดยที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และรัฐบาลไม่จัดการใด ๆ จึงอาจกลายเป็นการชุมนุมใหญ่เมื่อใดก็ได้ และเหตุร้ายแรงก็จะเกิดขึ้นซ้ำรอยอีก เชื่อว่าจะเกิดขึ้นในทันทีที่เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งประชาชนมีความวิตกกังวลมาก เพราะห่วงว่ารัฐบาลไม่ยอมสรุปบทเรียนก่อนหน้านี้ ที่ปล่อยให้มีการชุมนุมและปลุกระดม ซึ่งแสดงเจตนาชัดเจนว่าต้องการล้มล้างการปกครอง มีการยัดเยียดข้อมูลที่ผิด ๆ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อเข้าร่วมจำนวนมาก
ขณะนี้ประเทศก็พังพินาศมากพอแล้ว หากรัฐบาลไม่สรุปบทเรียนและไม่คิดอ่านป้องกันแก้ไข คนไทยคงต้องเตรียมกองกำลังติดอาวุธไว้ป้องกันตัว เพราะบทเรียนที่ผ่านมาพิสูจน์ว่าตำรวจดูแลความปลอดภัยประชาชนไม่ได้ บ้านเรือนประชาชนมีความเสี่ยงที่จะถูกเผาทุกเมื่อ และประชาชนเสี่ยงที่จะถูกทำร้ายได้ทุกเมื่อ ร้านค้าต่าง ๆ ก็พากันเดือดร้อน ที่ผ่านมาเกิดเหตุร้ายแรงขนาดใหญ่จนชาติย่อยยับเพราะรัฐบาลประเมินสถานการณ์ผิด คราวหน้าอาจจะรุนแรงกว่านี้อีก จะรอให้เกิดเหตุอย่างนั้นขึ้นมาหรือจะป้องกันแก้ไขก่อนเป็นเรื่องที่ต้องสังวรให้มาก
พลเรือเอก บรรณวิทย์ เตือนประชาชนคนไทยทั่วประเทศว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นเพราะระบอบทักษิณที่เปิดศึกหลายด้าน ในสภาก็ใช้พรรคการเมือง ในวงราชการก็ใช้ข้าราชการที่มีผลประโยชน์ร่วม ใช้กลไกแท็กซี่และมอเตอร์ไซต์รับจ้าง โดยผ่านตำรวจบางคนจัดการให้ และยังมีเครือข่ายสื่อรับจ้างทั้งในประเทศและนอกประเทศช่วยกันให้ข้อมูลผิด ๆ ทำให้คนไทยแตกความคิด แตกสามัคคีแล้วฆ่ากันเอง ทราบว่ามีการตั้งกองกำลังติดอาวุธไว้แล้ว และยังมีกองกำลังสมทบจากนักรบรับจ้างต่างชาติที่พร้อมจะแทรกตัวเข้ามาทันทีที่มีเหตุการณ์ไม่สงบ
สถานการณ์น่าห่วงมาก แต่รัฐบาลกลับแสดงความเป็นประชาธิปไตยจ๋า โดยใช้ประเทศไปเสี่ยงและใช้ชีวิต ทรัพย์สินของประชาชนเป็นเดิมพัน อยากวิงวอนให้รัฐบาลเร่งรีบจัดการป้องกันแก้ไขโดยด่วน ก่อนที่จะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ฟ้องมุสลิมโลก"แม้ว"ศัตรูอิสลาม

คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครทำหนังสือถึงเอกอัครราชทูตประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อรายงานต่อเจ้าผู้ครองนครดูไบว่า ทักษิณคือศัตรูของเอกองค์
หนังสือของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครระบุว่า "คนเสื้อแดงได้ก่อวินาศกรรมทำลายทรัพย์สินของประชาชน และเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2009 ลูกน้องของ พ.ต.ท.ทักษิณ คนเสื้อแดงได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่มัสยิดดารุ้ลอะมาน ถนนเพชรบุรี ซอย 7 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ในเวลาอัศรี โดยใช้กำลังประมาณ 100 กว่าคนเข้าทำลายทรัพย์สินของพี่น้องมุสลิม ทั้งบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย รถยนต์ สุดท้ายได้ประกาศจะเผามัสยิด แต่พี่น้องมุสลิมได้รวมพลังกันต่อสู้คณะลูกน้องของ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างสุดความสามารถ ในที่สุดคนดังกล่าวได้ล่าถอย
จากพฤติกรรมทั้งหมดของ พ.ต.ท.ทักษิณ พวกเราชาวมุสลิมในประเทศไทยขอเรียกร้องด้วยพระนามของอัลเลาะห์ผู้ทรงเมตตากรุณายิ่งมาถึงเจ้าผู้ครองนครรัฐแห่งดูไบได้โปรดพิจารณายุติการให้ความช่วยเหลือหรือการให้ที่พักพิงหรือการอนุญาตให้บุคคลผู้ก่อกรรมทำเข็ญกับพี่น้องมุสลิมและเป็นผู้ทำลายมัสยิดของอัลเลาะห์เข้าประเทศของท่านตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ..." และยังมีข้อความที่กล่าวหาอย่างรุนแรง โดยได้ลำดับเหตุการณ์ที่เข่นฆ่าสังหารชาวมุสลิมหลายวาระ และการระดมยิงใส่มัสยิดถึง 2 ครั้ง ซึ่งไม่อาจนำรายละเอียดลงในที่นี้ได้ ท่านผู้สนใจสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทย
จากกรณีการยกขบวนเข้าไปยิงมัสยิดที่ถนนเพชรบุรี ซอย 7 ตลอดจนการทำลายทรัพย์สินของชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก ได้ทำให้ชาวมุสลิมทั่วทั้งกรุงเทพฯ และทั่วประเทศตื่นตัวลุกฮือประณามและต่อต้านคนเสื้อแดงอย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งซึ่งอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ครั้นทราบเหตุการณ์แล้วก็พากันถอนตัวออกจากขบวนเสื้อแดงเป็นจำนวนมาก
ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พำนักอยู่ในกรุงดูไบ และถูกถอนพาสปอร์ตไทยเรียบร้อยแล้ว แต่อาจใช้พาสปอร์ตของชาติอื่นแทน การเคลื่อนไหวของชาวไทยมุสลิมครั้งนี้อาจเป็นแรงกดดันครั้งใหญ่ที่สุดที่ทำให้ไม่สามารถพำนักอยู่ในตะวันออกกลางได้ต่อไปอีก เพราะสำหรับชาวมุสลิมนั้นการยิงมัสยิดถือเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะมัสยิดถือว่าเป็นบ้านของพระเจ้า ซึ่งมุสลิมทั่วโลกให้ความเคารพและละเมิดมิได้
แหล่งข่าวด้านความมั่นคงได้เปิดเผยว่า ให้จับตาดูให้ดี ในไม่กี่วันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาจถูกจับตัวโดยตำรวจสากลเพื่อนำตัวส่งกลับมาลงโทษในประเทศไทยก็ได้

เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินชาวบ้านจะอยู่อย่างไร

ข่าวรัฐบาลเตรียมจะยกเลิกกฎหมายฉุกเฉิน ทหารก็ต้องกลับกรม กอง ไม่อาจมาดูแลความปลอดภัยให้ประชาชนได้อีก จึงมีความเป็นห่วงในความปลอดภัย เพราะขนาดมีประกาศฉุกเฉิน นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ยังถูกลอบยิง แล้วประชาชนจะอยู่กันอย่างไร?

บ้านเมืองมีพระสยามเทวาธิราชคอยปกป้องดูแล คนไทยทั้งประเทศล้วนตั้งความหวังว่าบ้านเมืองของเราจะกลับสู่ความสงบสุขได้

แต่ความหวังจะเป็นจริงได้ก็ต้องอาศัยความพร้อมใจของทุก ๆ ฝ่าย มิฉะนั้นแล้วเหตุรุนแรงก็จะเกิดขึ้นอีก การลอบยิงนายสนธิ เป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญของประชาชนอย่างกว้างขวาง ซ้ำเติมความรู้สึกว่าไม่มีความปลอดภัยในบ้านเมือง ซึ่งเป็นอันตรายมาก เพราะเมื่อความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วคงไม่เกิดเฉพาะในประเทศ คงเกิดกับนักลงทุนต่างประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างประเทศด้วย จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ

การใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้น เมื่อสถานการณ์ปกติแล้วก็ต้องเลิกอยู่ดี โดยเป็นอำนาจของรัฐบาลที่จะต้องพิจารณาว่าสถานการณ์ปกติแล้วหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาจากความเป็นจริงเป็นหลัก ไม่ใช่พิจารณาจากแรงกดดันของนักธุรกิจหรือนักวิชาการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเฉพาะหน้า โดยไม่คำนึงถึงระยะยาวว่าถ้าความไม่สงบยังดำรงอยู่ ยิ่งทำการค้าขายก็ยิ่งเสียหายหมด จึงต้องตระหนักให้เพียงพอ ถ้ารัฐบาลมีความเข้าใจในการบริหารอำนาจและคำนึงถึงความปลอดภัยอย่างถ่องแท้ ก็ต้องเตรียมการรองรับการเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้ อาทิเช่น อาจตั้งหน่วยงานในรูปคณะกรรมการเฝ้าระวังหรือติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ไม่ใช่รอจนเหตุการณ์บานปลายแล้วค่อยเข้าแก้ไขเหมือนเหตุการณ์ที่ผ่านมา ก็จะเกิดความเสียหายมาก

แต่จะคิดอ่านทำกันอย่างไรเป็นเรื่องในหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาล เราเป็นชาวบ้านก็ได้แต่ออกความคิดความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ไปตามประสา ท่านจะฟังหรือไม่ก็ไม่รู้ ซึ่งต้องดูกันต่อไปว่าถ้าจะเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วรัฐบาลจะเตรียมการอย่างไรเพื่อป้องกันเหตุร้ายและทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพ มีความสงบสุข

สำหรับประชาชน ยังคงอยู่ในอาการอกสั่นขวัญหาย ก็ต้องระมัดระวังตัวกันเอง และไม่มีทางไหนดีเท่ากับรวมตัวกันช่วยกันดูแลชุมชนหรือท้องถิ่นของตน ช่วยกันทำให้ทุกชุมชนทุกท้องถิ่นมีความสงบ มีความสุข มีความปลอดภัย หากทำกันได้ทั่วทั้งประเทศก็จะช่วยให้บ้านเมืองสงบสุขได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552

ทนายเตรียมหลักทรัพย์ ยื่นประกัน 3แกนนำนปช.

หมวดข่าว : การเมือง

โดยทีมข่าว : ศาลยุติธรรม

พนักงานสอบสวนคุม 3 แกนนำนปช.ฝากขังผลัดแรก ท่ามกลางกำลังตำรวจ-ทหาร คุมเข้มรอบศาล ขณะที่ ชาวบ้านบางส่วนไม่กล้าใส่เสื้อแดง ทยอยมาให้กำลังใจเป็นระยะ ด้าน"การุณ-มานิตย์-ทนุศักดิ์"เตรียมใช้ตำแหน่งส.ส.ประกันตัว "กอบแก้ว" ย้ำสู้บนดินไม่ได้เดินใต้ดินอาจแรงขึ้น โบ้ยสื่อ ถูกรัฐสั่งบิดเบือนข้อมูล
ศาลอาญารัชดา --- เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ 16 เมษายน พนักงานสอบสวน ได้ควบคุมตัว นายวีระ มุสิกพงษ์,นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ และน.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. มาขออำนาจฝากขังที่ศาลอาญารัชดา เป็นผลัดแรก ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.พหลโยธิน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 (บก.น.2) และ ตำรวจปราบปรามจราจร พร้อมโล่ จำนวน 3 กองร้อย กระจายกำลังดูแลความปลอดภัยทั้งภายในและโดยรอบศาลอาญารัชดา นอกจากนี้ยังมีกำลังของเจ้าหน้าที่ทหารประมาณ 3 กองร้อย พร้อมโล่ และกระบอง ตรึงกำลังดูแลความปลอดภัยอยู่ด้านหลังศาลอาญา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อแกนนำทั้ง 3 คน มาถึงศาลอาญารัชดา พนักงานสอบสวนได้นำทั้งหมดขึ้นไปในห้องพิจารณาทันที เพื่อรอคณะผู้พิพากษาออกนั่งบัลลังค์ พิจารณาว่าจะมีการให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 คน หรือไม่ ในส่วนของกลุ่มเสื้อแดง ที่เดินทางมาให้กำลังใจผู้ต้องหานั้น ได้มีการทยอยเดินทางมาเป็นระยะๆแต่ไม่ค่อยมีบุคคลใดสวมใส่เสื้อแดง ซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลได้มีการอนุญาต ให้เข้าไปภายในอาคารของศาล เป็นบางส่วน พร้อมทั้งกำชับว่าห้ามส่งเสียงดังหรือโห่ร้องแต่อย่างใด
สำหรับการยื่นประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 คนนั้น ได้มีทนายความเตรียมหลักทรัพย์ทั้งเงินสด และสมุดบัญชีเงินฝาก จำนวน 500,000 บาท มาเพื่อใช้ในการประกันตัว นอกจากนี้ยังมี นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคเพื่อไทย และ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย เดินทางมาศาลอาญา เพื่อที่จะใช้ตำแหน่งส.ส. ประกันตัวทั้ง 3 คนเช่นกัน
นายกอบแก้ว พิกุลทอง หนึ่งในแกนนำ นปช. ที่เดินทางให้กำลังใจพร้อมทั้งกล่าวว่า ตนทราบว่าขณะนี้ตำรวจพิจารณาหมายจับแกนนำนปช. อีกประมาณ 40 กว่าคน แต่แกนนำหลายคนไม่ได้หายไหนเพียงรู้สึกว่าไม่มีความมั่นใจแต่ก็ยังแสดงตัวว่ายังอยู่ไม่หายไปไหน ส่วนนายจักรภพ เพ็ญแข ที่ถูกออกหมายจับ ตอนนี้ไม่ได้มีการติดต่อกันเลย แต่คิดว่าคนที่ถูกออกหมายจับเขาคงไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัย แต่ไมได้กลัวถูกดำเนินคดี ซึ่งคิดว่าส่วนใหญี่อยู่ในไทย แต่อยู่ตรงไหนตนไม่ทราบ หรืออาจจะอยู่ใกล้บ้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ได้
นายกอบแก้ว กล่าวอีกว่า ตอนนี้ที่เป็นห่วงคือกลัวว่าแกนนำที่ถูกจับไม่ได้รับการประกันตัว แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ตนอยากจะบอกว่าคนเสื้อแดง เป็นเพียงพลเมืองชั้นสอง ส่วนกลุ่มเสื้อเหลืองปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เวลาผ่านมา 4 เดือนแล้วยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินคดีเลย
"ส่วนการเคลื่อนไหวต่อไปนั้นตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรอีก เพราะตอนนี้บ้านเมืองเสียหายมาก อยากให้กลับเข้าสู่ความสงบก่อน แล้วมาคิดหาทางออก รัฐบาลต้องตระหนักและแก้ปัญหาที่สาเหตุไม่เช่นนั้นก็จะแก้ปัญหาใดไม่ได้ ที่ผ่านมาเสื้อแดงต่อสู้อย่างเปิดเผย เมื่อสู้ไม่ได้ก็ต้องสู้ใต้ดินแล้วจะควบคุมได้ลำบาก ถึงแม้แกนนำจะถูกจับ คนอื่นก็พร้อมลุกขึ้นสู้จึงอยากเรียกร้องว่าให้ทุกฝ่ายออกมาพูดความจริง โดยเฉพาะกรณีที่เกิดขึ้นไม่กี่วันที่ผ่านมา ส่วนที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่าการเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้น นั้นเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก ผมไม่อยากให้เกิดเหตุร้ายใด เพราะสุดท้ายชาติเสียหายถึงจุดนี้อยากให้ทุกฝ่ายทั้งนอก และในสภา มาร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหา"นายกอบแก้ว กล่าว
นายกอบแก้ว กล่าวอีกว่า ต่อจากนี้ไปจะมีการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นออกมาตีแผ่ อย่างที่มีข่าวลือว่ามีการเก็บศพผู้เสียชีวิตไว้ที่จ.สระบุรี และมีการนำไปเผาที่วัดในกทม. แต่ยังไม่มีหลักฐาน หากใครมีภาพถ่ายหรือหลักฐานก็นำออกมาเผยแพร่ หรือดำเนินการในสภาเป็เรื่องดีเช่นกัน สังคมอยากรู้ ส่วนสื่อมวลชนยอมรับว่า 3-4 วันที่ผ่านสื่อถูกสั่งให้บิดเบือนข่าวสารใครพูดอะไรก็ได้ ไม่สามารถปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ ที่ตนไม่ถูกดำเนินคดีนั้นเพราะช่วงวันที่ 9-15 เมษายน ตนเดินทางไปญี่ปุ่น
"ทางออกของความสงบคือต้องกลับมาร่วมกันทุกฝ่ายหันหน้าคุยกันเพื่อกำหนดเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันตรงนี้ขึ้นอยู่กับข้อเรียกร้องของแต่ละฝ่ายต้องดูสังคมส่วนใหญ่ของประเทศด้วยบอกไม่ได้ว่าข้อเรียกร้องจุดสุดท้ายมีการคุยจริงเป็นอย่างไร ตอนนี้คนจำนวนมากรู้สึกไม่มีความสุข ทนไม่ไหว พร้อมที่จะก่อเหตุอะไรก็ได้แม้ไม่แกนนำ

ท้าหัวขวดแน่จริงอย่าใช้อำสิทธิ์ส.ส.

หมวดข่าว : การเมือง

โดย : ทีมข่าวรัฐสภา

ปชป เย้ย จตุพร หัวขวด แน่จริงอย่าใช้เอกสิทธิ์ส.ส. เชื่อในที่สุดก็ต้องถูกตร.ลากตัวมาดำเนินคดีแน่
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย หนึ่งในแกนนำนปช. จะขอให้เอกสิทธิ์ความเป็นส.ส. ว่า แสดงให้เห็นถึงความหน้าด้านของนายจตุพร อย่างเห็นได้ชัด เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญให้เอกสิทธิ์ส.ส. เพื่อใช้ในการรับใช้ประชาชน ไม่ใช่ออกไปรับใช้ผู้ต้องหาหลบหนีคดีอาญา แล้วยังคิดจะทำลายประเทศชาติบ้านเมือง เข้าข่ายกบฏแผ่นดิน เหมือนที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำอยู่

"พอโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมก็อ้างเอกสิทธิ์เพื่อหวังเอาตัวรอด"

ส.ส.ตรัง กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้นายจตุพร เคยกล่าวหานายสมเกียรติ์ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ว่า เก่งจริงอย่าใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง แต่พอถึงคราวตัวเองก็วิ่งหลบอยู่หลังเอกสิทธิ์ ทั้งที่พฤติกรรมที่นายจตุพร ที่กระทำนั้นคนละอย่างกับนายสมเกียรติ์ อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าที่สุดแล้ว สภาก็คงจะให้นายจตุพร ได้ใช้เอกสิทธิ์ตามประเพณีปฏิบัติ แต่ก็คงหนีได้ไม่ได้นานเพราะใกล้จะปิดสมัยประชุมแล้ว ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องนำตัวนายจตุพร ไปดำเนินคดีตามกระบวนการของกฎหมายต่อ

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

แฉแผน ทักษิณ ใช้คนเสื้อแดง บังคับในหลวง นิรโทษกรรม


หมวดข่าว วิเคราะห์
โดย กองบรรณาธิการ
มีคำถามมากมายบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ทักษิณ ชินวัตร สู้กับใคร? และ สู้เพื่อใคร?ใครได้ประโยชน์บนการต่อสู้ของทักษิณ ?ประชาชน ได้อะไร และ ประเทศชาติ ได้อะไร ?
การด่ากราด กล่าวหาองคมนตรี เป็นคณะเผด็จการ ทำลายประเทศ ทำร้ายประชาชน โค่นล้มประชาธิปไตย เป็นการตีวัวกระทบคราด ใช่หรือไม่ ?หาก องคมนตรี คือ วัว แล้ว ใคร คือ คราด ?พระเจ้าอยู่หัว คือ คราด ที่ ทักษิณ ต้องการให้ได้รับผลกระทบใช่หรือไม่ ?ทักษิณ ยังจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จริงหรือ ?เรื่องราวที่ทักษิณ เปิดเผยกับประชาชน บนเวทีคนเสื้อแดง เป็นเรื่องเก่าที่เกิดขึ้นมานาน 3 ปี แล้ว และ ทักษิณ รู้เหตุการณ์เหล่านี้ทั้งหมดมาแต่ต้น แต่ไม่เคยนำมาพูด ไม่เคยบอกให้ประชาชนฟังเพราะอะไร ทำไมทักษิณ จึงเก็บเงียบมานานถึง 3 ปี ทำไมจึงเพิ่งจะมาแฉความเลวร้ายขององคมนตรี ในสายตาทักษิณ และคนเสื้อแดง ในวันนี้เพราะ การเจรจาต่อรองกับ ป๋าเปรม ไม่สำเร็จ นั่นเองทักษิณ ส่ง พจมาน ชินวัตร มาขอโทษป๋าเปรม และ ขอให้ป๋าเปรม ช่วยเจรจาคมช. ให้ได้กลับเมืองไทย

ทักษิณ ยกมือไหว้ขอโทษป๋าเปรม ในงานศพแม่ อนุพงษ์ เผ่าจินดาทักษิณ ไปพบ ปีย์ มาลากุล 1 ครั้ง และส่ง พจมาน ไปพบอีก 2 ครั้ง ที่บ้านสุขุมวิท ซึ่งเป็นบ้านหลังเดียวกันกับที่ทักษิณ อ้างว่าเป็นสถานที่วางแผนก่อรัฐประหาร 19 กันยายน 2549ทักษิณ โทรศัพท์เคลียร์กับ สนธิ บุญยรัตกลิน ปรับความเข้าใจ เป็นพี่น้องกัน หลังยึดอำนาจคนทั้งหมดที่ ทักษิณ ไปพบและเจรจา เพื่อยุติปัญหา และความผิด เป็นคนกลุ่มเดียวกับที่ทักษิณ อ้างว่าเป็นผู้ก่อการยึดอำนาจ ทำลายประชาธิปไตย นี่หรือคือพฤติกรรมของนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยการแอบเจรจา คบหาสมาคมกับผู้ก่อการรัฐประหาร ย่อมไม่ใช่วิสัยของผู้รักประชาธิปไตย อย่างแน่นอน จริงหรือไม่?ที่ผ่านมา ทักษิณ ไม่พูดเรื่องเหล่านี้ เพราะเจรจากันอยู่ แต่ไม่มีใครกล้าฝ่าฝืนกฎหมาย ช่วยแก้ไขความผิด ให้ถูกต้องได้ทักษิณ จึงโกรธแค้น และ ออกมา ฉะ แฉ ฉาว ทุกคน ที่ไม่ทำตามในสิ่งที่เขาร้องขอ และ ข่มขู่เหมือนกับจะรู้ชะตากรรมล่วงหน้า แต่แท้จริงแล้ว เป็นเพราะทักษิณ รู้ดีว่าบทลงโทษของการกระทำในอดีตที่ผ่านมา คืออะไรทักษิณ จึงอาศัยจังหวะที่ศาลอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศ ไปร่วมชมพิธีเปิดโอลิมปิกส์ ที่ประเทศจีน แล้วก็ไม่เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกเลย จึงกลายเป็นผู้ต้องหาหนีหมายศาลเมื่อศาลตัดสินว่ามีความผิด ทักษิณ จึงมีสภาพเป็นนักโทษหนีคุกทันทีหลังจากถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี ทักษิณ กลับบอกว่าศาลไม่เป็นธรรม ไม่ให้โอกาสสู้คดี ทั้งๆ ที่หนีไปเองเมื่อตกอยู่ในสถานะนักโทศหนีคุก ทักษิณ บอกว่าเขาจะกลับประเทศไทย เพื่อมาต่อสู้ และเรียกร้องความเป็นธรรม ร่วมกับประชาชนการโฟนอิน เมื่อครั้งคนเสื้อแดงชุมนุมที่สนามกีฬารัชมังคลาภิเษก ทักษิณ บอกว่าเขาจะกลับประเทศไทยได้ ด้วย 2 วิธี คือ 1.ได้รับพระราชทานอภัยโทษ และ 2. คนเสื้อแดงพากลับทักษิณ บอกว่าต้องการได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่เขาไม่เคยขออภัยโทษ และประกาศว่าไม่มีวันที่จะขออภัยโทษด้วยชัดไหมว่า ทักษิณ ไม่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ในสายตา และ ไม่ได้เคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทักษิณ เชื่อว่าเขาจะปลุกระดมมวลชน ให้มีจำนวนมากพอที่จะมายืนล้อมตัว และเป็นโล่ห์มนุษย์ ป้องกันเขาจากการถูกจับกุมของเจ้าหน้าที่รัฐได้ทักษิณ แสดงให้เห็นว่าสุดท้ายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะต้องพระราชทานอภัยโทษ ให้เขา ตามแรงกดดันของมวลชนคนเสื้อแดง ที่เขาปลุกระดมขึ้นมาทักษิณ กำลังใช้กฎหมู่มาทำลายกฎหมายทักษิณ กำลังเอามวลชนมาบีบพระเจ้าอยู่หัว ให้อภัยโทษ โดยที่เขาไม่ต้องร้องขอ เหมือนผู้ต้องคำพิพากษาของศาลรายอื่นๆ และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหากทำสำเร็จ ก็เท่ากับว่าทักษิณ มีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์หาก ทักษิณ สามารถบังคับให้พระมหากษัตริย์ ทำตามที่ตนต้องการได้ทุกอย่าง แล้วประชาชน จะอยู่ได้อย่างไร ?คนไทยจะยอมได้หรือ หากว่าพระมหากษัตริย์ที่เราเคารพรักและเทิดทูนอยู่เหนือสิ่งอื่นใด จะต้องทำตามคำสั่งของทักษิณเมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ท่านจะตกเป็นเหยื่อ เป็นเครื่องมือของทักษิณ เพื่อลบล้างความผิดของตนเอง ล้มล้าง และทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกหรือไม่
ถอยออกมาให้ห่างจากคนเสื้อแดง หลีกเลี่ยงการตกเป็นเครื่องมือของทักษิณเพื่อปกป้องรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ของคนไทยทุกคน

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

นายกฯสั่งดำเนินคดีเฉียบขาดม็อบแดงป่วนเมือง

หมวดข่าว : การเมือง

โดย : กองบรรณาธิการ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ว่า รัฐบาลได้ประเมินสถานการณ์และเตรียมการในเรื่องของการชุมนุมใหญ่ ซึ่งมีการประกาศว่าจะมีการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. วันนี้ผมอยากจะขอใช้เวลากับพี่น้องประชาชนเพื่อให้ทราบสถานการณ์ เหตุผล จุดยืนของรัฐบาล และการดำเนินการของรัฐบาลต่อไป เพื่อพี่น้องประชาชนจะได้มีความเข้าใจและมีความมั่นใจในแนวทางต่างๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่
ผมอยากจะเรียนกับพี่น้องประชาชนว่า เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้มีการจัดให้มีการชุมนุมใหญ่ทางการเมืองก็ปรากฏว่ามีพี่น้องประชาชนเข้ามาร่วมชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวนค่อนข้างมาก แม้ว่าตัวเลขที่ชัดเจนอาจจะมีการประเมินแตกต่างกันไป แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่า ค่อนข้างจะมองตรงกันว่ามีประชาชนที่เข้ามาร่วมชุมนุมประมาณ 1 แสนคน ซึ่งผมได้ย้ำมาตลอดว่า ผู้ที่มาชุมนุมสามารถใช้สิทธิเสรีภาพภายใต้ขอบเขตของรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ได้ และผมก็ถือว่าประชาชนที่มาจำนวนมากก็มีข้อเรียกร้อง หรือมีเหตุผลที่จะมาแสดงออก ซึ่งผมได้พูดตลอดเวลาว่าในเรื่องของหลักการประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่ผมสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ชุมนุมไปแล้วก็ปรากฏว่ามีการเสนอข้อเรียกร้องออกมาเบื้องต้น 3 ข้อ และมีการกำหนดเส้นตายว่าต้องได้รับการตอบสนองภายใน 4 โมงเย็นของวันนี้ (9 เม.ย.)
อยากจะเรียนว่า ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ มีความสับสนอย่างมาก และไม่ได้นำไปสู่เรื่องของการได้มาประชาธิปไตย หรือปฏิรูประบบการเมือง การปกครอง อย่างที่ควรจะเป็นอย่างที่ได้ประกาศไว้ เช่น การไปตั้งข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับท่านประธานองคมนตรีก็ดี หรือท่านองคมนตรีก็ดี เป็นอีกครั้งหนึ่งครับที่ผมย้ำว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ที่มีความพยายามที่จะขยายวงความขัดแย้งทางการเมืองไปสู่สถาบันที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไปสู่เรื่องของตัวบุคคลที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง และก็มีความพยายามที่จะขยายผลต่อไปด้วย ซึ่งจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ
ส่วนข้อเรียกร้องในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวผมเองนั้น ผมย้ำกับพี่น้องประชาชนอีกครั้งว่า การตัดสินใจของผมในเรื่องเหล่านี้จะอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ที่จริงก่อนหน้านี้นั้นก็มีข้อเรียกร้องให้ผมยุบสภา และผมก็ได้มีโอกาสชี้แจง รวมทั้งชี้แจงต่อสื่อต่างประเทศด้วยว่า การยุบสภาก็ถือเป็นการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีที่สามารถจะทำได้ในระบบรัฐสภา แต่การยุบสภาในภาวะเช่นนี้ ที่ผมย้ำว่าคงไม่เหมาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ก็คือ คงไม่นำไปสู่การเลือกตั้งที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประชาธิปไตย เพราะเห็นได้ชัดว่ายังมีกลุ่มบุคคลจำนวนมาก มีการดำเนินการเคลื่อนไหวในลักษณะของการขัดขวางไม่ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ข่มขู่ คุกคามในเรื่องของการใช้ความรุนแรงต่อพรรคการเมืองซึ่งมีความคิด ความอ่านที่ไม่ตรงกับตัวเอง
ผมอยากให้พี่น้องประชาชนนึกภาพครับว่า ถ้าเรายุบสภาภายใต้บรรยากาศและการประกาศการเคลื่อนไหวเช่นนี้ สิ่งที่ปรากฏต่อไป ต่อสายตาของชาวโลกไม่ใช่เรื่องของกระบวนการของประชาธิปไตย แต่จะนำไปสู่ภาพลักษณ์ของความวุ่นวายของความไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะการข่มขู่ คุกคาม จำกัดสิทธิของการเคลื่อนไหวของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองที่จะเคลื่อนไหวทางการเมืองขัดกับหลักประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ดีไม่ดีถ้าหากเกิดความรุนแรงขึ้นในช่วงของเลือกตั้งจะเป็นการซ้ำเติมภาพลักษณ์ในเรื่องของประชาธิปไตยของประเทศอย่างรุนแรง เพราะที่ผ่านมาเรายังไม่เคยมีกรณีของการเลือกตั้งที่ผสมผสานกับความรุนแรง และผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนนึกออกนะครับว่า เวลาที่มีการเลือกตั้งในประเทศใดและมีเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น เราก็มีความรู้สึกว่าประชาธิปไตยในประเทศนั้นมีปัญหา
ดังนั้น ผมจึงได้ย้ำมาโดยตลอดว่า ในแง่การเมือง ในแง่การพัฒนาประชาธิปไตย การยุบสภาคงไม่เหมาะสมในช่วงนี้ ผมต้องการเห็นเสถียรภาพ ความยอมรับในการใช้สิทธิเสรีภาพของทุกฝ่ายที่ไม่มีความรุนแรงใดๆ เข้าไปปะปนเสียก่อน จึงจะพิจารณาได้ว่าการยุบสภามีความเหมาะสมหรือไม่ ที่สำคัญขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการแก้ไขปัญหาที่มีความสำคัญกับพี่น้องประชาชน และการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นหน้าที่ของประเทศในฐานะประธานของอาเซียน งานในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก็ดี ซึ่งกำลังเดินหน้าไปอย่างชัดแจ้ง การจัดการประชุมสุดยอดผู้นำของอาเซียนบวกกับประเทศคู่เจรจาที่กำลังจะมีขึ้นในช่วง 3 วันข้างหน้านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นการเสริมความเชื่อมั่น ล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการสำคัญที่จะทำให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ หากมีการยุบสภาขึ้นในขณะนี้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ต้องหยุดชะงักลง
ประการถัดมา เมื่อมีการยืนยันอย่างชัดเจนอย่างนี้ ก็สังเกตได้ว่าข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมก็หมุนเปลี่ยนไป ผมก็อยากเรียนกับพี่น้องประชาชนว่า ข้อเรียกร้องมีความสับสนมาก เพราะถ้าหากผมตัดสินใจลาออกจริง สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือสภาผู้แทนราษฎรก็จะต้องมีการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ วันนี้พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลทุกพรรคยังยืนยันทำงานร่วมกันเหมือนเดิม ถ้ามีการลาออกแล้วเลือกนายกรัฐมนตรีเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง แล้วพรรคการเมืองต่างๆ เขาก็ตัดสินใจที่จะทำงานร่วมกันต่อเลือกผมกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วก็กลับเข้าสู่สถานการณ์เหมือนเดิม ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น ผมจึงอยากจะเรียนว่าข้อเรียกร้องไม่ว่าจะเกี่ยวกับองคมนตรีก็ดี หรือตัวผมเองก็ดี ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ผมฟังเสียงของพี่น้องที่มาชุมนุมกันเป็นแสน ในข้อเรียกร้องข้อที่สามเท่านั้น ก็คือความปรารถนาที่จะเห็นประชาธิปไตยมีการพัฒนาต่อไป ซึ่งขณะนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการเปิดโอกาสให้รัฐสภาเปิดกว้างให้ฝ่ายต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อปรับปรุงกติกา รัฐธรรมนูญ กฎหมายต่างๆ ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าตัดสินใจในทางการเทิองของผม เชื่อว่าพี่น้องจะเข้าใจการผสมผสานข้อเรียกร้องข้อที่สาม เป็นความพยายามสร้างความสับสน และไม่เข้าใจว่าทำไมต้องขีดเส้นตายวันนี้ วันนี้จะพบความจริงว่าผู้ชุสนุมร้อยละ 70 ได้เดินทามงกลับไแล้ว เพราะคนเหล่านั้นมีเจตนา และผุ้ชุมนุมเหลือร้อยละ 30 ได้เปลี่ยนแนวทางชัดเจน วันนี้สิ่งที่ประกาศบนเวทีกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย การปฏิเสธการมีอยู่ของรัฐบาลก็แปลก เพราะรัฐบาลนี้ก็มาโดย กลับมีการชักชวนพี่น้องประชรชนขณะนี้เข้าร่ยมกระบวนการในการผิดกฎหมาย
ผมเรียนกับพี่น้องประชาชนว่า มีพี่น้องประชาชนจำนวนมากไม่ได้เห็นด้วย เพราะนั่นเท่ากับบอกว่าบ้านเมืองของเราไม่ต้องมีกฎหมายก็ได้ ที่สำคัญได้บริหารราชการแผ่นดินด้วยจิตวิญญาณปชต.ไม่เคยใช้ความรุนแรงกับพี่น้องประชาชน การชุมนุมในช่วงบ่ายจึงสร้างความเดือดร้อน พี่น้องประชาชนประสบความเดือดร้อน ไม่มีนักปชต.สนับสนุน เป็นพฤติกรรมที่ไม่เชื่อในระบอบปชต.ที่ต้องอิงอยูกับหลักกฎหมาย รัฐบาลตอ้งขออภัยที่เกิดความไม่สะดวก หงุดหงิด โกรธเคืองกับเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น แต่ก็ทรราบว่าจุดมุ่งหมายของผุ้ชุมนุมทีเหลืออยู่หวังให้เกิดเหตุรุนแรง เป้าหมายสำคัญต้องการหยุดยั้งการประชุมอาเซียน จะเห็นได้ว่าแกนนำผุ้ชุานุมได้พยายามมาแล้วให้ผู้นำประเทศต่างๆ ไม่มาประชุมอาเซียน เพราะประเทศอาเซียน และคู่เจรจา พร้อมที่จะมาร่วมแก้ปัญหาต่อไป
ดังนั้นแนวทางที่ 1 เราจะไม่ใช้ความรุนแรง และใช้กฎหมย เพียงแต่เราไม่ผลีผลาม ด้วยเหตุนี้ผมขอยืนยันว่าการบังคับใช้กฎหมายเกิดขึ้นแน่นนอน จึงอยากเรียนพี่น้องประชาชนว่าขอให้ไตร่ตรองให้ดี และดำเนินการตัดสินใจยืนอยู่กับความถูกต้อง ละเว้นจากการกระทำเหล่านี้เสีย และกำลังดำเนินการในบางจุด และไม่นำไปสู่การเป็นเงื่อนไข ข้ออ้าง
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา บอกว่าเป้าหมายของรัฐบาลชัดเจนไม่ให้มีการบุกรุกสาถนที่ราชการ ต้องดูแลการจราจร ซึง่ก็ได้มีการเตรียมแผนการรองรับไว้ การดำเนินการของรัฐบาลจะทำให้เรื่องนี้มีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างไร
1.เราแยกแยะคนที่มาชุมนุมเรื่องปชต. คนที่อาจชักจูบงและหลงผิดให้เข้ามาโดยคิดว่าไม่ผิด เราจะแยกออกมา ลดละเลิก เราจะถือว่าคนเหล่านี้จงใจ กระทำผิดชัดเจน ซึง่จะต้องดำเนินการ ภาพเหล่านี้ได้บันทึกไว้หมดแล้ว แต่เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่สะดวกยิ่งขึน เพื่อให้พี่นองใช้ชีวิตสะดวกสบาย ผมนได้ประกาศให้วันพรุ่งนี้เป็นวันหยุดราชการ และจะทำให้ง่ายต่อการปฏฺบัติของเจ้าหน้าที่ในการแยกแยะกลุ่มคนต่างๆ ที่อยู่ในจุดที่ทำผิดกฎหมาย
2.เพื่ออำนวยความสะดวก ผมได้ขอให้สถานีโทรทัศน์ชอ่ง 11 เป้ฯาถนีที่รายงานขาวสารเพ่อประชาชนตลอดเวลา เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะมีการรายกงานอย่างตครงไปตรงมา ว่ากลุ่มบุคคลได้ดำเนินกการอย่างไบ้าง และเปิดโอกาาสให้ประชาชนเห็นว่าการปฏิบัติของเจ้าหน้รที่รักษากฎหมมายอย่างไร ขณะเดดียวักน การจราจร ข่าวสารพื้นที่ไหนที่หลีกเลี่ยงก็สามารถดำเนินการได้อย่างตอ่เนือง และขอคความร่วมมือสถานีโทรทัศน์ทมุก่องรายกงานข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ในส่วนของการประเมินสถานการณ์และติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประเมินว่าผุ้ชุมนุมบางส่วสนต้องการยกระดับความรุนแรง โดยผมได้ประชุมกับหน่วยความมั่นคงจะดูแลพื้นที่สาธารณะตางๆ ป้องกันไม่ไให้เกิดเหตุราย ส่วนราชการถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะป้องกัน
ภาคเอกชน ก็ต้องช่วยรัฐบาลในการสอดส่องดูแล และเข้มงวดความปลอดภัยยิ่งขึน และขอให้พี่น้องช่วยเป็นหูเป็นตา มาตรการเหล่านี้จะดำเนินตั้งแต่วินาทีนี้ เพราะเชื่อมั่นว่าเมื่อแยกแยะออกมาแล้ว รัฐบาลจะสามารถบังคุบใช้กฎหมายและให้เหตุการณ์กลับเข้าสู่ปกติได้ และรัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดิน จักกรประชุมอาเซียนที่พัทยาให้สำเร็จลุล่วงไป ในส่วนพัทยาก็ได้มีการเสริมมาตรการตางๆ ขอเชิญชวนพี่น้องร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดี ส่งทีรัฐบาบตัดสินใจไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์ส่วนตัวของผม มีแต่ประโยชน์สุขของประชาชนระยะยาว การตัดสินใจครั้งนี้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอยางยั่งยืน รัฐบาลนี้ไม่นิ่งเฉย ขอให้พี่น้องประชาชนใช้ความอดทน อดกลั้น มีสติ สำหรับสถาบันหลักของชาติ จะเป็นการนำไปสู่ความสงบโดยไม่มีการสูญเสีย และผมตลอดจนครม. และความมั่นคง

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

"อภิสิทธิ์"ปิดประตูตายเงื่อนไขเสื้อแดง

หมวดข่าว : การเมือง
โดย : กองบรรณาธิการ
นายกฯ อภิสิทธิ์ ปิดประตูเงื่อนไข "เสื้อแดง" งง ! ไม่รู้จะเอายังไงแน่ ท้าตอบคำถามนักประชาธิปไตยที่จะเอามาแทนคือใคร ย้อน ถ้าประชาธิปไตยจริงให้มาทำร่วมกันในสภา ยันประชุมอาเซียนพัทยาเดินหน้า ปัดผู้นำต่างประเทศอิดออด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังประชุมร่วมกับทีมวอร์รูมพรรคประชาธิปัตย์ถึงการประเมินสถานการณ์การชุมนุม ว่า ยังไม่มีอะไร เราก็ทำงานปกติ ส่วนแถลงการณ์กลุ่มเสื้อแดง ที่ระบุให้นายกฯ ลาออกแล้วให้นักประชาธิปไตยเข้ามาเพื่อปฏิรูปการเมือง ก็เป็นการยืนยันสิ่งที่เขาพูดก่อนหน้านี้ถึงความสับสน เพราะเดิมก็บอกให้ยุบสภา ตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นเรื่องให้ลาออก และไม่มีความขัดเจนว่ากระบวนการปฏิรูปจะเดินอย่างไร ฉะนั้น เรื่องการปฏิรูป ถ้าเป็นหัวใจหลักในข้อเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย รัฐบาล และกระบวนการรัฐสภา มีทางทำอยู่แล้ว ก็เข้ามาทำเท่านั้นเอง จึงมองไม่เห็นว่าตกลงจะเอาอย่างไรกันแน่
ส่วนข้อเรียกร้องที่เป็นไปไม่ได้ จะนำไปสู่เงื่อนไขที่รุนแรงมากขึ้นหรือไม่ นั้น คงไม่ เพียงแต่ทำความเข้าใจกับประชาชนว่า เป็นข้อเรียกร้องที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนำไปสู่เป้าหมายที่อ้างอยู่ในเรื่องประชาธิปไตยได้อย่างไร เขาก็ยืนยันว่าถ้าสนใจที่จะพัฒนาประชาธิปไตย ก็มาทำด้วยกัน เพราะเขาไม่ได้ปิดกั้นอยู่แล้ว รวมถึงกรณีรองผบช.น. ระบุมีมือที่ 3 จะเข้ามาสร้างสถานการณ์โดยการใช้ระเบิดเพลิง นั้น เราก็พยายามติดตามเบาะแสข่าวสารทั้งหมด เพื่อความไม่ประมาท และเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ไว้เท่านั้นเอง
ขณะที่เงื่อนไขการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มันยังไม่มีเงื่อนไข จะออกก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ ซึ่งเบื้องต้นที่เคยซักซ้อมกันยังมั่นใจว่าสามารถแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้ ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษ แต่เราไม่ประมาท จะมีการจับตาติดตามตลอดเวลา และต้องเตรียมพร้อม
ที่กลุ่มเสื้อแดงขีดเส้นตาย 24 ชั่วโมงให้ตัดสินใจตามข้อเรียกร้องในแถลงการณ์ นายกฯ อภิสิทธิ์ ย้อนถามว่า "ใครตอบ แล้ว 24 ชั่วโมงเขาตอบผมได้หรือไม่ว่า นักประชาธิปไตยของเขาคือใคร"
ต่อกระแสข่าวคนในตระกูลชินวัตร เดินทางออกนอกประเทศ เข้าใจว่าคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และลูกๆ ออกไปแล้ว รวมทั้งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ด้วย ส่วนจะเป็นการส่งสัญญานอะไรนั้นไม่ทราบ ต้องถามคนที่ตัดสินใจ ส่วนการที่ครอบครัวชินวัตรเดินทางออกนอกประเทศ ไม่ทราบว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ แต่เคยตั้งข้อสังสัยอยู่เหมือนกันว่า ทำไมต้องทำอย่างนั้น
ส่วนผู้นำประเทศต่างๆ ที่จะเดินทางมาร่วมประชุมอาเซียนที่จะถึงนี้ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์อย่างไรบ้าง นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา ตอนนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ด้านความั่นคง กำลังซักซ้อมเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมั่นใจมากยิ่งขึ้น ได้หารือกันช่วงบ่ายวันเดียวกัน ว่า ให้ไปดูให้เป็นที่รัดกุม และมั่นใจ ส่วนจำเป็นต้องใช้กำลังทหารช่วยตำรวจในการดูแลความปลอดภัยการประชุมหรือไม่นั้น ก็ตามปกติ เพราะในการประชุมที่หัวหิน ที่ผ่านมา ก็มีการดำเนินการตามปกติ เป็นเรื่องปกติมาก เพราะมาตรฐานรักษาความปลอดภัยผู้นำในการประชุมระดับนี้ กับที่ดูแลเขาอย่างกรณีที่เกิดขึ้นวันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา มันคนละเรื่องกันอยู่แล้ว เพราะการปฏิบัติหน้าที่ภายในของเขา เขาก็ไปแบบง่ายๆ แต่เวลามีการประชุม มาตรฐานจะคนละเรื่องกัน ยืนยันว่าจะไม่มีลักษณะที่เกิดขึ้นกับตนกับผู้นำประเทศอื่นเด็ดขาด และจะมีไม่ได้ ยืนยันว่าไม่มีผู้นำประเทศไหนเป็นห่วง และได้พูดคุยกันแล้ว

เสียงปืนแตกแล้วแต่ไร้คนเจ็บ

หมวดข่าว : การเมือง
โดย : กองบรรณาธิการ
การชุมนุมแตกหักของคนเสื้อแดง วันนี้ (8 เม.ย.) มีผู้ที่พยายามจะจุดชบวนให้เกิดความรุนแรง หรือเรียกว่า "วันเสียงปืนแตก" และเมื่อเวลา 18.00 น.พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.1 ได้รับรายงานว่า เกิดเหตุยิงกันบริเวณใกล้แยกยมราช จึงรุดไปตรวจสอบ
โดยที่เกิดเหตุ พบปลอกกระสุนปืนขนาด .32 ตกอยู่จำนวน 1 ปลอก ไม่พบผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
จากการสอบสวน ส.ต.อ.หญิงสุพัตรา จุลษร ผบ.หมู่ ป. สภ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ให้การว่า ขณะเธอเดินทางกลับจากการชุมนุมคนเสื้อแดง มาตามถนนสวรรคโลก ระหว่างนั้นมีรถเก๋งยี่ห้อ นิสสัน เทียน่า วิ่งผ่านมาถึงแยกบริเวณยมราช คนขับรถได้ไขกระจกลงมา สังเกตเห็นเป็นชายอายุประมาณ 30 ปี แต่งกายภูมิฐาน พร้อมกับตะโกนให้ของลับ และก็ได้โต้เถียงกัน ชายคนดังกล่าวได้หยิบอาวุธปืนจากเบาะหลังรถ และยิงใส่จำนวน 1 นัด แต่กระสุนไม่ถูกผู้ใด หลังจากนั้นคนขับก็ได้เร่งเครื่องหลบไปทางถนนหลานหลวง
พล.ต.ต.วิชัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบในเบื้องต้นทราบหมายเลขทะเบียนรถ จะได้ทำการตรวจสอบว่าเป็นรถของใคร ส่วนปลอกกระสุนปืนได้มอบให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อที่จะได้นำมาเป็นพยานหลักฐานต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552

ใครทำไม่ดีต่อสถาบัน มักมีอันเป็นไป

หมวดข่าว : สัมภาษณ์
โดย : กองบรรณาธิการ
นายอำพน เสนาณรงค์ องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อชาติและประชาชนชน” เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2552 ที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน จ.นนทบุรี ความตอนหนึ่งว่า รู้สึกเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยเฉพาะที่มีการโฟนอินอะไรต่ออะไรมา
ดังนั้นในฐานะองคมนตรีจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ การมาพูดอะไรในที่ชุมนุมชนจึงต้องมีความระมัดระวัง ทั้งการใส่เสื้อสีต่างๆ หรือการพูดในเนื้อหาอะไร ดังนั้นอะไรที่ได้ยินมาจึงไม่กล้าที่จะนำข้อมูลใหม่ๆ มาเล่าได้ เพราะไม่สมควรที่จะมาเล่าในที่ชุมนุมชน
ปัจจุบันความขัดแย้งของข้าราชการการเมืองต่อข้าราชการการเมือง ความขัดแย้งของข้าราชการประจำต่อข้าราชการประจำ และความขัดแย้งของข้าราชการการเมืองต่อข้าราชการประจำมีจำนวนมาก และความขัดแย้งส่วนใหญ่ สาเหตุที่วิเคราะห์กันเกิดขึ้นจากปัญหาการคอร์รัปชันที่เกิดมาช้านานจนกลายเป็นประเพณีไทย จะมากจะน้อยแล้วแต่ฝ่ายบริหารที่เข้ามาบริหารบ้านเมือง และมักเกิดขึ้นในกระทรวงหรือกรมที่มีอำนาจสูง มีความสำคัญทางการเมือง มีงบประมาณ มีเงินเพื่อจัดซื้อจัดจ้างจัดทำโครงการขนาดใหญ่ เมื่อมีเงินก็ต้องมีตำแหน่งสำคัญๆ โดยเฉพาะการติดต่อนายที่ส่วนมากจะเป็นนักการเมือง จนนำมาสู่การกล่าวหาทางการเมือง และเป็นการกล่าวหาที่เสื่อมเสีย
รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 259-280 และพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ในหมวด 5-11 มาตรา 28-129 ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นแนวทางให้ข้าราชการสามารถนำมาปฏิบัติ ทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจ การกระทำที่ขัดต่อประโยชน์ของชาติ รวมถึงการดำเนินคดีอาญาและจริยธรรมทั้งข้าราชการและนักการเมือง ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ข้าราชการสามารถนำมาอุทธรณ์หากพบว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนักการเมือง และสมาคมข้าราชการพลเรือนต้องช่วยกันสร้างข้าราชการให้มีคุณธรรม ให้มีวินัย เพื่อไม่ให้ข้าราชการบางคนอยู่ในสภาพพายเรือให้โจรนั่ง
"เป็นที่โชคดีที่เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับข้าราชการและประชาชน ในใจผมเชื่อเสมอว่าหากใครทำไม่ดีต่อสถาบัน คนเหล่านั้นมักจะมีอันเป็นไป เช่น เหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เป็นต้น เพราะผมเคารพบูชาพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นพระประมุข เป็นจอมทัพไทย ทรงใช้พระราชอำนาจเพื่อปวงชนชาวไทย และพระองค์ก็ไม่เคยล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญเลย”
จากนั้น นายอำพล ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือม็อบเสื้อแดง ที่มีการปราศรัยโจมตีองคมนตรี ว่า ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิด แต่ละคนคิดได้แตกต่างกัน และก็มีสิทธิ์ที่จะพูดโดยเสรี ไม่มีใครไปห้ามได้ แต่ต้องเอาข้อเท็จจริงไปศึกษาดูแล้วทุกคนจะเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบของกฎหมาย

นิยามคำว่า"นักโทษชาย"

หมวดข่าว : บทความ
โดย : วิวัฒน์ ธนวัฒน์

ข่าวที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ สิ่งพิมพ์ และโทรทัศน์ ได้เรียกคำนำหน้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า เป็น "นักโทษชาย" หรือ น.ช. นั้น หากได้ศึกษาเนื้อหา พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ปี พ.ศ. 2479 ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน จะพบว่ามีข้อพิจารณา ที่ควรได้ใช้ให้ถูกต้อง ดังนี้
1. มาตรา 4 (2) ของพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้ต้องขัง" หมายรวมตลอดถึง นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก
เพราะฉะนั้น คำว่า "ผู้ต้องขัง" จึงแยกใช้สำหรับบุคคล 3 ประเภท คือ (1) นักโทษเด็ดขาด (2) คนต้องขัง (3) คนฝาก
ส่วนคำว่า "นักโทษเด็ดขาด" หมายความว่า บุคคลซึ่งขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย
เมื่อพิจารณานิยามคำศัพท์แล้วมาพิจารณาถึงสิ่งที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นอยู่ในขณะนี้แล้วนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ แม้จะมีคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ 2 ปี แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เดินทางไปรับฟังคำพิพากษา และยังไม่สามารถตามจับกุมพ.ต.ท.ทักษิณ มาลงโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงถือว่า ยังไม่เป็น "นักโทษเด็ดขาด" ตามความหมายแห่งอนุมาตรานี้ เพราะยังไม่โดน "ขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย" แต่ประการใด และก็มิใช่บุคคลที่โดนฝากขังไว้ตามหมายขัง หรือเป็นคนฝาก ที่ถูกให้ควบคุมไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่น
ดังนั้น การที่เรียก พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็น "นักโทษชาย" จึงเป็นเหมือนกับจะหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ ไปในตัว
2. ขั้นตอนการรับตัวเป็นผู้ต้องขัง นั้น มาตรา 8 พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 กำหนดให้เจ้าพนักงานเรือนจำต้องรับตัวไว้เป็นผู้ต้องขัง จากนั้นให้เจ้าพนักงานเรือนจำรับหมายอาญา หรือเอกสารอันเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ซึ่งจะเห็นว่ากรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าว แต่อย่างใด
ขณะที่ มาตรา 10 พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 กำหนดให้ดำเนินการส่งตัวไปให้แพทย์ตรวจอนามัยของผู้ถูกรับตัวไว้ใหม่ และบันทึกเกี่ยวกับลักษณะความผิด รวมทั้งการรายงาน แสดงประวัติผู้ต้องขังแก่เจ้าพนักงานเรือนจำ ซึ่งในรายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้ดำเนินการดังที่บัญญัติในมาตรานี้
สิ่งเหล่านี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการเป็น "นักโทษเด็ดขาด" ผู้ที่เข้ากระบวนการดังกล่าวครบถ้วน จึงจะกล่าวได้ว่าเป็น "นักโทษชาย" หรือน.ช.
แล้วสถานะของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในขณะนี้เป็นอะไร จะเรียกว่าอะไร
พ.ต.ท.ทักษิณ ตอนนี้นั้นถือว่าเป็น "คนร้ายที่หลบหนีคดี" หรือ "ผู้ต้องสงสัย ที่กำลังหลบหนีที่ทางราชการไทย ต้องการตัว เพื่อมาลงโทษตามคำพิพากษา" เท่านั้น มิใช่ "นักโทษชาย" ในความหมายแห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479
3. ตามที่องค์การสหประชาชาติ ได้มี "สนธิสัญญาเกี่ยวกับการขจัดการลงโทษ อันเข้าลักษณะเป็นการทรมานโหดร้าย และการกระทำผิดมนุษย์หรือวิธีการทำให้คนลดค่าของความเป็นคนลง หรือการลงโทษ" ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวนี้เกิดจากข้อบัญญัติของสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติที่ 36/46 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 1984 และมีผลบังคับในวันที่ 26 มิถุนายน 1987 ตามบทบัญญัติที่ 27 ของสัญธิสัญญาดังกล่าว
ทั้งนี้ บทบัญญัติที่ 1 ของสนธิสัญญานี้ได้นิยามการกระทำที่เป็นการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย การกระทำที่ผิดมนุษย์ การปฏิบัติที่เป็นการลดค่าของความเป็นคนลงหรือการลงโทษ
บทบัญญัติที่ 2 บังคับแก่ฝ่ายนิติบัญญัติ แก่ฝ่ายบริหาร รวมทั้งฝ่ายตุลาการ ที่จะกระทำการใดๆ อันเป็นการที่บัญญัติระบุไว้ในบทบัญญัติที่ 1 ความในวรรค 2 ของบทบัญญัติที่ 2 นี้ให้ใช้บังคับแก่รัฐทั้งหลายโดยไม่มีข้อยกเว้น (ห้ามยกข้อต่อสู้) วรรคที่ 3 ของบทบัญญัตินี้ ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับการตามคำสั่งใดๆ จนอาจเป็นที่เสียหายแก่ความตามสนธิสัญญาฉบับนี้ไม่ได้
บทบัญญัติที่3 ห้ามไม่ให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการเนรเทศบุคคลไปยังรัฐอื่น เพื่อให้เขาตกอยู่ภัยอันตราย หรือเป็นการกระทำที่กระทำแล้วทำให้เชื่อได้ว่าจะทำให้เขาได้รับความทุกข์ทรมาน นี่คือความตามวรรคแรก ของบทบัญญัติที่ 3 ส่วนวรรคที่ 2 การพิจารณาว่า การกระทำเช่นว่านั้นจะเป็นการกระทำที่คุกคามอยู่ในขั้นร้ายแรง แพร่หลายหรือเป็นการละเมิดสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์โดยรวม
ดังนั้น การใช้คำนำหน้า "นักโทษชาย" กับพ.ต.ท.ทักษิณ หากนำมาพิจารณาตามสนธิสัญญาเกี่ยวกับการขจัดการลงโทษฯ ประเทศไทยในฐานะรัฐสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ อาจโดนฟ้องร้องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยตรงหรือรัฐคู่ภาคีแห่งสนธิสัญญานี้ (รัฐที่ 3 ที่ได้ลงนามและให้สัตยาบรรณแก่สนธิสัญญานี้) ในฐานะรัฐคู่ภาคีของสนธิสัญญานี้ ที่มีสิทธิบังคับใช้สนธิสัญญานี้แก่รัฐใดๆ ก็ได้ทั่วโลกโดยการกล่าวอ้างว่ากระทบกระเทือนสิทธิแก่รัฐของตน ตามสนธิสัญญานี้
แม้ประเทศไทย จะได้รับสนธิสัญญานี้ในที่ประชุมใหญ่ สมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาติ ในวันที่ 10 ธันวาคม 1984 ปรากฎว่าในเวลาต่อมา ประเทศไทย ยังมิได้ประกาศเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาเกี่ยวกับการขจัดการลงโทษฯ นี้ก็ตาม แต่เมื่อใดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือรัฐคู่ภาคีแห่งสนธิสัญญานี้ (รัฐที่สาม) ประสงค์จะบังคับใช้สนธิสัญญานี้ประเทศไทย ในฐานะรัฐคู่ภาคีสมาชิกของสหประชาชาติ ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ทั้งนี้ ตามความในบทบัญญัติที่ 27 ของสนธิสัญญานี้