วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

การสังหารหมู่ที่ "หมู่บ้านไมไล" เปรียบเทียบคดีฆ่าประชาชน 7 ตุลาทมิฬ

หมวดข่าว : วิเคราะห์
โดย : กองบรรณาธิการTheCityJournal
ความเห็นหรือมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อเหตุการณ์ 7 ตุลาทมิฬ ทำให้กองบรรณาธิการ TheCityJournal ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์การสังหารหมู่ชาวบ้านที่หมู่บ้านไมไล (MY LAI) หรือที่ภาษาเวียตนามเรียกว่า "ตำแซด ไมไล" อยู่ที่เวียตนามใต้ เมื่อเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 1968 โดยคนที่ถูกฆ่าเป็นชาวบ้านที่ไม่มีอาวุธ ทั้งหมดเป็นพลเรือน ในจำนวนที่ถูกฆ่ามีทั้งผู้หญิง เด็ก มียอดคนตายอยู่ระหว่าง 347-504 คน ในจำนวนที่ถูกฆ่าตาย สำหรับผู้หญิงนั้นมีการล่วงเกินทางเพศ ถูกทุบตี ทรมาน หรือไม่ก็ตัดแขนตัดขา ทำให้ผู้ที่ไปพบหลังเกิดเหตุ สุดที่จะรับได้เมื่อเห็นร่างกายผู้เสียชีวิตนอนกองทับถมกันไว้
สำหรับผู้ลงมือก่อเหตุครั้งนี้ คือ ทหารกองทัพบก สหรัฐฯ
ทั้งนี้ ทหารสหรัฐฯ 26 คนโดนฟ้อง แต่ศาลทหารสหรัฐฯ ลงโทษได้เพียงคนเดียว คือ WILLIAM CALLEY โดนตัดสินโทษจำคุกตลอดชีวิต
กว่าการสังหารหมู่ชาวบ้านที่หมู่บ้านไมไล (MY LAI) จะเป็นที่รับรู้ของสาธารณชน ก็ผ่านเหตุร้ายไปแล้ว 1 ปี คือปีค.ศ. 1969
ผลของการสังหารหมู่ที่หมู่บ้านไมไล ทำให้คนอเมิรกัน ไม่สนับสนุนรัฐบาลประธานาธิบดีนิกสัน ทำสงครามเวียตนาม
และขณะเกิดเหตุสังหารหมู่ ที่หมู่บ้านไมไล มีทหารอเมริกัน 3 นายพยายามปกป้องไม้ให้มีการฆ่าชาวบ้าน แต่กลับโดนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอเมริกัน ประณาม และมีคนส่งจดหมายข่มขู่ อาฆาต หลังจากนั้น 30 ปี ทหารทั้ง 3 คนจึงได้รับการชมเชย
การสังหารหมู่ ถ้าเป็นภาษาเวียตนาม จะเรียกว่า การสังหารหมู่ที่ "ซอนไม"
แต่ถ้าตามภาษาโค๊ตกองทัพบกสหรัฐฯ เรียกว่า PINKVILLE (หมู่บ้านสีชมพู)
ทั้งนี้ ที่มาของเรื่อง เกิดขึ้นเมื่อทหารลาดตระเวนที่เรียกว่า CHARLIE ของกองพันที่ 1 กองพลที่ 20 ทหารราบ และกองทัพที่ 11 ของกองพันทหารราบที่ 23 หน่วยรบอเมริกัน เดินทางมาถึงเวียตนาม ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1967 เมื่อมีการตั้งค่ายทัพเรียบร้อย ไม่ปรากฎว่ามีศัตรูต่อต้านโดยตรง กระทั่งกลางเดือนมีนาคม 1968 หน่วยกำลังรบ จึงโดนโจมตีด้วยทุ่นระเบิด 28 ครั้ง ทำให้มีทหารอเมริกัน ได้รับบาดเจ็บหลายคน เสียชีวิตไป 5 นาย ทำให้ทหารอเมริกันเริ่มการรบรุกที่เรียกว่า TET ในเดือนมีนาคม 1968
ทหารลาดตระเวน หรือที่เรียกว่า CHARLIE ได้เข้าโจมตีที่ "กวงงาย" โดยเป็นการโจมตีหน่วยรบ 48 ของหน่วยรบเวียตกง จนแตกพ่าย และจากการสืบทราบข่าวของหน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ ได้รับแจ้งว่า หน่วยรบที่ 48 ของเวียตกง ได้ล่าถอย และไปหลบซ่อนตัวที่หมู่บ้าน "ซอนไม" หรือ "ไมไล" ทำให้ชาวบ้านโดนสงสัยว่าให้ที่หลบซ่อนทหารเวียตกง เพราะฉะนั้น อเมิรกันจึงวางแผนโจมตีหมู่บ้านแห่งนี้ โดยมี พ.อ. โอรัน เค เฮนเดอร์สัน (ORAN K. HENDERSON) ปลุกเร้าทหารของตนเองอย่างกร้าวร้าวเพื่อกวาดล้างทหารเวียตกง
พ.ต. ฟรานซ์ เอ บาร์เกอร์ (FRANK A. BARKER) จึงออกคำสั่งให้หน่วยรบที่ 1 เผาหมู่บ้าน รวมทั้งฆ่าวัว ควาย ทำลายอาหาร ในช่วงบ่ายของวันที่เข้าโจมตี หน่วยรบ CHARLIE มี ร.อ.เออร์เนส เมดินา (ERNEST MEDINA) แจ้งให้ทหารในหน่วยรับทราบ ขณะที่มีชาวบ้านส่วนหนึ่ง ออกจากหมู่บ้านเมื่อตอน 7 โมงเช้า ทำให้ทหารสหรัฐฯ สงสัยว่าชาวบ้านที่เหลืออยู่ในหมู่บ้านเป็นพวกเวียตกง หรือสงสารเวียตกง
ก่อนลงมือปฏิบัติการ ทหารหน่วย CHARLIE ได้ถามผู้บังคับบัญชา ว่าต้องฆ่าเด็ก และผู้หญิงด้วยหรือไม่ (ต่อมาชาวบ้านที่รอดตาย พอให้การในศาลแล้ว ตอบสับสนไปมา ไม่ทราบว่า ว่า ร.อ.เออร์เนส เมดินา สั่งการว่าอย่างไร แต่มีทหาร CHARLIE ที่ให้การว่า ร.อ.เออร์เนส เมดินา ให้ฆ่าให้หมด ทั้งผู้หญิง เด็ก และสัตว์เลี้ยง ให้เผาหมู่บ้าน ให้น้ำในบ่อเสียหาย จะได้ใช้ไม่ได้
ระหว่างนั้นเอง ทหารอเมริกา ได้ยิงปืนใหญ่เปิดทางเข้าไปในหมู่บ้าน และเฮลิคอปเตอร์ ก็บินระดมยิงเข้าไปก่อน
ในตอนเช้าของวันที่ 16 มีนาคม 1968 หน่วยลาดตระเวนสหรัฐฯ ไม่พบนักรบเวียตกง ในหมู่บ้านไมไล แต่ทหารหลายคนสงสัยว่ามีเวียตกง ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน ในบ้านพ่อ หรือภรรยาของทหารเวียตกง ทหารอเมริกัน จึงเข้าไปยิงใส่ทุกที่ ที่สงสัยว่าทหารเวียตกงซ่อนอยู่ และยิงทุกอย่างที่เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ รวมทั้งการขว้างระเบิด และยิงด้วยปืน M 79 ทำให้การสังหารหมู่จึงเพิ่มยอดผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ
ต่อมาในวันที่ 17 พฤศจิกายน 1970 กองทัพบกสหรัฐฯ ได้กล่าวหาเจ้าหน้าที่ทหาร 14 คน รวมทั้ง พล.ต. SAMUEL W. KOSTER ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกองกำลังการปฏิบัติการ ด้วยข้อหาปกปิดข้อมูลที่เกี่ยวกับการสังหารหมู่ครั้งนี้ ต่อมาข้อกล่าวหานี้โดนสั่งไม่ฟ้อง จึงเหลือเพียง พล.จัตวา โอรัน เค เฮนเดอร์สัน (ORAN K. HENDERSON) คนเดียวที่ต้องโดนฟ้อง เกี่ยวกับการปกปิดความจริง และต่อมามีการตัดสินยกฟ้องเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1971 ส่วน ร.อ. เออร์เนส เมดินา และ ร.ท.วิลเลียม แอล คอลลี่ นั้นโดนดำเนินคดีในศาล 4 เดือน และถูกศาลชั้นต้นลงโทษ ในข้อหา ฆาตรกรรมโดยไต่ตรองไว้ก่อน โดยการออกคำสั่งฆ่า ศาลพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต
หลังศาลตัดสิน 2 วัน ประธานาธิบดี นิคสัน สั่งให้ปล่อยตัว ร.ท.วิลเลียม แอล คอลลี่ ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา และมีการแก้ไขโทษ โดยให้ลงโทษจำคุก 4 ปีกับเดือนครึ่ง
ขณะเดียวกันคดีของ ร.อ. เออร์เนส เมดินา ซึ่งปฏิเสธว่าไม่ได้ออกคำสั่งให้สังหารหมู่จึงโดนปล่อยตัวทุกข้อหา
เพราะฉะนั้น จึงเท่ากับเป็นการพลิกทฤษฎีการฟ้องร้องที่ใช้ฟ้องร้องในคดี COMMAND RESPONSIBILITY กลายเป็นคดีที่เรียกว่า Medina Standard
และอีกต่อมาหลายเดือน ร.อ. เออร์เนส เมดินา ยอมรับว่าตัวเองปกปิดซ่อนเร้นพยานหลักฐาน และโกหกผู้บังคับบัญญาคือ พ.อ.โอรัน เค เฮนเดอร์สัน (ORAN K. HENDERSON) เกี่ยวกับตัวเลขผู้เสียชีวิตที่โดนสังหารหมู่
ขณะที่ทหารเกณฑ์ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ส่วนใหญ่ก็ปลดประจำการไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงได้รับยกเว้นตามกฎหมายจากการโดนฟ้อง
แต่ในที่สุดมีทหารอเมริกัน โดนฟ้องร้อง 26 คน และมีเพียง ร.ท.วิลเลียม แอล คอลลี่ เท่านั้นที่โดนลงโทษจำคุก 4 ปีกับเดือนครึ่ง
บรรดานักกฎหมายสหรัฐฯ ออกมาโต้แย้งหลังจากศาลทหารสหรัฐฯ ตัดสินออกมาอย่างนี้ ซึ่งเป็นการกลับหลักกฎหมายทำสงครามที่วางบรรทัดฐาน ที่ศาลนูแรมเบิร์ก และศาลอาชญากรสงครามกรุงโตเกียว
ในคดีที่ฟ้องทั้ง 2 ศาล ได้วางบรรทัดฐานทางประวัติศาสตร์โดยวางหลักเกณฑ์ว่า "ไม่มีใครที่จะโดนละเว้นโทษอันมาจากการที่ต้องรับผิดชอบในข้อหาอาชญากรสงครามเพราะเหตุว่าทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา"
ต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โฮเวิร์ด คาราเวย์ HOWORD CALLAWAY ในรัฐบาลประธานาธิบดีนิกสัน ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือพิมพ์ NEWYORK TIME ว่า ที่ลดโทษให้ให้ ร.ท. คอลลี่ เพราะเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าที่ปฏิบัติการสังหารประชาชนชาวเวียตนาม เพราะนายสั่งมา เป็นการขัดแย้งโดยตรงกับหลักกฎหมายที่ได้วางบรรทัดฐานไว้ที่ ศาลนูแรมเบิร์ก และศาลอาชญากรสงครามกรุงโตเกียว ที่ซึ่งทหารเยอรมัน และญี่ปุ่น ต้องถูกประการชีวิต แม้จะอ้างว่าเป็นการทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ก็ตาม
คดี Medina Standard มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า ศาลอเมริกัน มักจะตัดสินช่วยพวกตัวเอง ก็คงเหมือนคดีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชราวาท วงศ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ว่ามีความผิดวินัย จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
"คดีไมไล" หรือ คดี Medina Standard ตัดสินอย่างนี้ เพราะการเมืองเข้าไปแทรกแซง จึงกลายเป็นรอยแผลดำของอเมิรกา แล้วประเทศไทย จะให้ปรากฎรอยแผลนั้นซ้ำอีกหรือ

ไม่มีความคิดเห็น: