ผลการตรวจสอบการดําเนินงานโครงการหนึ่งอําเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการการแสวงหาทุนทรัพย์เพิ่มขึ้นบางโรงเรียนมีการใช้จ่ายเงินสูงกว่ารายรับทําให้เกิดภาระหนี้สิน และบางโรงเรียนต้องนําเงินอุดหนุนรายหัว ซึ่งเป็นเงินที่โรงเรียนใช้จ่ายตามแผนปฏิบัติการประจําปีของโรงเรียนมาใช้ชําระหนี้สินจากการดําเนินงานตามโครงการฯ อาจเป็นผลให้โรงเรียนไม่สามารถดําเนินการจัดการเรียนการสอนตามแผนปกติได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์
สํานักงานตรวจสอบการดําเนินงานที่ 2 สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รายงาน โครงการหนึ่งอําเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน เป็นเจตนารมณ์ที่ต้องการเร่งรัดปฏิรูปการศึกษาในด้านการสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ในชนบทได้รับการศึกษาที่ดีในโรงเรียนที่มีคุณภาพและมาตรฐานในท้องถิ่นใกล้บ้าน โครงการฯ ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรี (ทักษิณ ชินวัตร) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2546 โดยได้จัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จํานวน 2,369.19 ล้านบาท และได้รับเงินสนับสนุนจากผู้อุปถัมภ์และชุมชน จํานวน 1,110.01 ล้านบาท หลักเกณฑ์ของโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการฯ เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่ มีความพร้อมโดยชุมชนพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมที่จะเป็นโรงเรียนในฝัน แล้วส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดให้มีระบบการเรียนการสอนที่ดี อุปกรณ์การเรียนการสอนครบครัน มีห้องสมุด การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมีการปรับวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถคิดวิเคราะห์ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมซึ่งจะทําให้โรงเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพมาตรฐานทั้งด้านผู้เรียน และโรงเรียนได้เป็นโรงเรียนต้นแบบที่สมบูรณ์ให้แก่โรงเรียนของโครงการฯ ในระยะต่อไป
จากการตรวจสอบผลการดําเนินงานของโครงการฯ พบว่า มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จํานวน 921 แห่ง จําแนกเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ จํานวน 208 546 และ 167 แห่ง ตามลําดับ สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้สุ่มตัวอย่างตรวจสอบโรงเรียนในส่วนภูมิภาครวม 9 จังหวัด จํานวน 40 แห่ง ถึงผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ โดยตรวจสอบโรงเรียนขนาดเล็ก 8 แห่ง ขนาดกลาง 27 แห่ง และขนาดใหญ่ 5 แห่ง และได้สัมภาษณ์ผู้บริหารและอาจารย์ของโรงเรียนดังกล่าวถึงผลการเปลี่ยนแปลงจากการเข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ แล้วมีความเห็นว่า โครงการฯ มีประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดีขึ้น การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การนําระบบเทคโนโลยี และสารสนเทศมาใช้ทําให้โรงเรียนมีแหล่งข้อมูลเพื่อศึกษาความรู้ มากขึ้น โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมสะอาด ซึ่งผลการดําเนินงานดังกล่าวข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการปรับปรุงโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาอุปสรรคบางประการที่ควรได้รับการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงการฯ ที่ยั่งยืนต่อไป สรุปข้อตรวจพบได้ดังนี้
1. การคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการฯ บางอําเภอยังไม่เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้โดยคณะกรรมการคัดเลือกโรงเรียนหนึ่งอําเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันในบางอําเภอใช้วิธีออกเสียงและถือมติเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกโรงเรียนโดยไม่ได้พิจารณาถึงความพร้อม และความเหมาะสมของโรงเรียน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญต่อการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการฯ
2. การพัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงเรียนบางแห่งไม่สอดคล้องกับศักยภาพ และความพร้อม
2.1 การศึกษาดูงานจากโรงเรียนต้นแบบที่มีศักยภาพและความพร้อมที่แตกต่างกัน โรงเรียนจึงเกิดความสับสนและดําเนินกิจกรรมตามโรงเรียนต้นแบบทั้งที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพความพร้อม และบริบทของโรงเรียนตนเอง ทําให้สิ่งก่อสร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ในระยะเวลาต่อมา
2.2 การได้รับคําแนะนําในการปรับปรุงโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนบางแห่งก็มีศักยภาพและความพร้อมที่จะดําเนินการได้ แต่โรงเรียนบางแห่งมีศักยภาพและความพร้อมไม่เพียงพอจึงทําให้มีการดําเนินกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพของโรงเรียน
3. ปัญหาอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์ทําความเข้าใจกับโรงเรียนการสื่อสารทําความเข้าใจระหว่างโครงการฯ กับโรงเรียนในระยะแรกยังมีความสับสนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงโดยร้อยละ 40 ของโรงเรียนที่สุ่มตรวจ มีความเข้าใจว่าโครงการฯ จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินกิจกรรมทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงโรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพียงบางส่วน โดยโรงเรียนต้องหาผู้อุปถัมภ์และทรัพยากรมาเพิ่มในการดําเนินโครงการฯ นอกจากนี้ โรงเรียนบางแห่งขาดความเข้าใจในแนวทางการดําเนินงานของโครงการฯ ทําให้ภายหลังผเานการตรวจเยี่ยมรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบในฝันแล้วโรงเรียนไม่ ได้ดําเนินการพัฒนาต่อยอดจากรูปแบบของโครงการฯ
4. ปัญหาอุปสรรคในการระดมทรัพยากรจากท้องถิ่น เนื่องจากผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในด้านต่างๆ แต่ศักยภาพและความพร้อมของโรงเรียนในการระดมทรัพยากรมีความแตกต่างกัน หากเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลและไม่มีผู้อุปถัมภ์ด้านทุนทรัพย์ทําให้โรงเรียนต้องมีภาระในการแสวงหาทุนทรัพย์เพิ่มขึ้น บางโรงเรียนมีการใช้จ่ายเงินสูงกว่ารายรับทําให้เกิดภาระหนี้สิน
5. ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ จากการตรวจสอบโรงเรียนเกี่ยวกับเรื่องระยะเวลาที่ได้รับคอมพิวเตอร์จากการจัดสรรของโครงการฯ จํานวน 40 แห่งเฉพาะที่มีข้อมูลจํานวน 31 แห่ง พบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ได้รับคอมพิวเตอร์ ก่อนการประเมินจํานวน 18 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 58.06 โดยได้รับก่อนการประเมิน 6 เดือนขึ้นไป จํานวน 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 38.71 และได้รับก่อนการประเมิน 1 - 6 เดือน จํานวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 19.35 ส่วนโรงเรียนที่ได้รับคอมพิวเตอร์หลังการประเมิน จํานวน 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 41.94
สาเหตุเนื่องจากการจัดสรรงบประมาณล่าช้าทําให้การจัดสรรคอมพิวเตอร์ ต้องล่าช้าออกไปด้วย อาจส่งผลให้โรงเรียนบางแห่ง ที่เดิมมีคอมพิวเตอร์น้อย มีเวลาไม่เพียงพอที่จะพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีของนักเรียนทั้งหมดได้ทันต่อการประเมินการเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน
นอกจากนี้ยังพบว่าการให้บริการซ่อมบํารุงเครื่องคอมพิวเตอร์ล่าช้ารวมถึงโรงเรียนบางแห่งไม่ได้ใช้สิทธิในการซ่อมแซมฮาร์ดดิสก์ที่ชํารุดเสียหายตามสิทธิที่ควรได้รับเนื่องจากไม่ได้ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรับประกันความเสียหายจากผู้ขาย
ผลกระทบ
1. ผลกระทบต่อการดําเนินงานของโครงการฯ สําหรับโรงเรียนที่มีความพร้อมระดับที่สามารถพัฒนาได้ และเป็นโรงเรียนที่ผู้บริหาร ครู และชุมชน ให้ความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนภายหลังเข้าโครงการฯ แล้วโรงเรียนมีการปรับปรุงทั้งส่วนของคุณภาพโรงเรียนและนักเรียน ส่วนโรงเรียนที่มีความพร้อมไม่เพียงพอ อาทิเช่น ขาดบุคลากรทางการศึกษาและห้องเรียนมีไม่เพียงพอภายหลังการปรับปรุงโรงเรียนจึงเกิดความไม่ยั่งยืนทําให้การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐไม่เกิดประโยชน์ เท่าที่ควร
2. ผลกระทบต่อการบริหารจัดการโรงเรียนภายหลังเข้าโครงการฯ โรงเรียนที่มีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ารายได้ประกอบกับการได้รับเงินสนับสนุนจากชุมชนไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทําให้โรงเรียนต้องก่อหนี้สินและบางโรงเรียนต้องนําเงินอุดหนุนรายหัวซึ่งเป็นเงินที่โรงเรียนใช้จ่ายตามแผนปฏิบัติการประจําปีของโรงเรียนมาใช้ชําระหนี้สินจากการดําเนินงานตามโครงการฯ อาจเป็นผลให้โรงเรียนไม่สามารถดําเนินการจัดการเรียนการสอนตามแผนปกติได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
3. ผลกระทบต่อความยั่งยืนของโครงการฯ ภายหลังการเข้าโครงการฯ โรงเรียนส่วนใหญ่มีภาระค่าใช้จ่ายจากค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งหากไม่มีงบประมาณสนับสนุนอาจเป็นปัญหาต่อความยั่งยืนของโครงการฯ
4. การจัดสรรคอมพิวเตอร์ล่าช้าส่งผลให้ โรงเรียนบางโรงเรียนที่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ ต้องยืมคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนอื่นๆ หรือจัดหาคอมพิวเตอร์เพิ่มส่งผลให้โรงเรียนมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น
5. การซ่อมบํารุงเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทั่วถึง โรงเรียนจึงใช้งบประมาณของโรงเรียนดําเนินการซ่อมทั้งที่อยู่ในระยะเวลารับประกันความเสียหาย นอกจากนี้โรงเรียนที่ตั้งในเขตพื้นที่ที่ไม่มีศูนย์ซ่อมต้องรอซ่อมจากบริษัทใหญ่จนถึงวันที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เข้าตรวจสอบก็ยังไม่ได้รับการซ่อม รวมถึงเมื่อชิ้นส่วนภายในเครื่องคอมพิวเตอร์บางชนิดชํารุด โรงเรียนส่วนใหญ่จะซ่อมเอง โดยไม่ได้ศึกษาว่าบริษัทผู้ผลิตมีการรับประกันความเสียหาย 3 ปี จึงทําให้ทางราชการเสียประโยชน์จากการใช้งบประมาณซ่อมแซมชิ้นส่วนดังกล่าว
วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความ
แสดงความคิดเห็น