วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

“สมชาย”กระหายเลือด


“ผมจะพิจารณาตามความเหมาะสม”
เป็นคำตอบที่ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ตอบข้อถามผู้สื่อข่าวถึงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ “7 ตุลามหาวิปโยค” ซึ่งบัดนี้ตัวเขาไม่ต่างอะไรจาก “อาชญากร” ผู้เข่มฆ่าประชาชน
เลือดไทย ต้องไหลนองแผ่นดิน อีกครั้ง ใครจะเป็นผู้ชดใช้หนี้ชี้วิตนี้ หากไม่ใช่ “สมชาย” และคณะรัฐมนตรีของเขา รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ก่อเหตุ
ทั้งนี้ ศูนย์เอราวัณ สรุปยอดผู้บาดเจ็บตลอดทั้งวันที่ 7 ตุลาคม 2551 มีทั้งสิ้น 381 คน นอนโรงพยาบาล 48 ราย ขาขาด 4 ราย นิ้วขาด 2 ราย กำลังผ่าตัด 10 ราย
ด้านกระทรวงสาธารณสุข ปิดเผยยอดผู้บาดเจ็บจากเหตุชุมนุม ณ เวลา 18.00 น. มี 208 ราย นอนรักษาตัว 26 รายในโรงพยาบาล 6 แห่ง เสียชีวิต 1 ราย
ปฏิบัติการสุดเหี้ยมโหดนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ระดมยิงแก๊สน้ำตา เพื่อสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตร หลายจุดไม่ว่าจะเป็นที่ด้านหน้า และด้านข้างอาคารรัฐสภา เพื่อเปิดทางให้คณะรัฐมนตรี และส.ส. - ส.ว.เข้าไปร่วมฟังการแถลงนโยบาย อีกหลายจุดทั้งแยกการเรือน หน้าบช.น. ลานพระบรมรูปทรงม้า จนในมาสู่การบาดเจ็บ และเสียชีวิต
นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความพันธมิตร ได้รวบรวมสถิติผู้บาดเจ็บจากการยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมหน้ารัฐสภาทั้งหมด เพื่อฟ้องต่อสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
แหล่งข่าวจากนักกฎหมายระหว่างประเทศชี้ว่า เหตุการณ์นี้ สมชาย และคณะรัฐมนตรี มีความผิดฐานละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง อาจถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะมีกระบวนการสั่งการอย่างเป็นระบบ อันเป็นความผิดสนธิสัญญากรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ มาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 7
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่มีการกระทำเป็นประการ เริ่มจาก บิ๊กจิ๋ว พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับฉันทานุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งประชุมกันช่วงดึกของวันที่ 6 ตุลาคม 2551 และต่อมาในคืนเดียวกัน พล.อ.ชวลิต ได้มาประชุมร่วมกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.
นี่คือกระบวนการที่เริ่มต้นของการสั่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ทั้งนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้
i. เป็นเวทีให้เหยื่อที่ถูกละเมิดสามารถแสวงหาความยุติธรรม โดยร้องขอให้ศาลสถิตยุติธรรมพิจารณาความผิดของผู้ที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
ii. ช่วยระงับยับยั้งมิยอมให้คนผิดลอยนวล
iii. ช่วยหยุดยั้งความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน หรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถทำให้ทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันใช้วิธีการที่ “เป็นมนุษย์มากขึ้น” หรือไม่โหดเหี้ยมทารุณ “ผิดมนุษย์”
iv. ใช้อำนาจศาลกับกรณีหรือคดีต่างๆ ที่ศาลปกติไม่เต็มใจหรือไม่อาจพิจารณาความผิดได้
v. เป็นกลไก “ป้องปราม” บรรดาผู้ละเมิด
กระบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่ฝ่ายสนับสนุนและผู้ลงมือกระทำการตามคำสั่งของรัฐบาล ย่อมหลีกหนีความผิดไม่พ้น
ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นปราการด่านสุดท้ายและเป็นจุดจบของผู้สั่งประหัตประหารประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น: